ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ศาลโลกตัดสิน “เปรู” ชนะข้อพิพาทอาณาเขตทางทะเลกับ “ชิลี”

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 29, 14, 19:39:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี - ศาลโลกมีคำพิพากษาให้เปรูเป็นฝ่ายชนะข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตทางทะเลกับชิลี เมื่อวานนี้ (27 ม.ค. 57) ขณะที่ชาวประมงเปรูชี้ว่าคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์นี้ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรแก่พวกเขา


รัฐบาลเปรูออกมาแสดงความชื่นชมต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ซึ่งประกาศให้น่านน้ำพิพาทในมหาสมุทรแปซิฟิกตกเป็นของเปรู ในขณะที่ชิลีซึ่งอ้างอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 แสดงความผิดหวัง

ไอซีเจยืนยันว่า ชิลีมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่ห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 80 ไมล์ทะเล แต่ยกผืนน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างออกไปในมหาสมุทรให้แก่เปรู

ประธานาธิบดีออลลันตา ฮูมาลา แห่งเปรู แถลงต่อประชาชนหลังทราบคำตัดสินของศาลโลกว่า "เราได้รับอาณาเขตทางทะเลกว่าร้อยละ 70 ของที่เรียกร้องไป... เราชาวเปรูจะยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก และเชื่อว่าชิลีก็คงจะยอมรับเช่นกัน"

อย่างไรก็ตาม ชาวประมงในเปรูกลับไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไรนัก และมองว่าอาณาเขตทางทะเลที่ได้มาใหม่ "ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ" แก่ชาวบ้าน

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเปรูและชิลีต่างยืนยันว่าจะเคารพคำพิพากษาของไอซีเจ ซึ่งทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ประธานาธิบดีเซบาสเตียน พิเนรา แห่งชิลี ออกมาแสดงความเสียใจและชี้ว่าคำตัดสินของไอซีเจเป็น "ความสูญเสียที่น่าเศร้า"

"แม้ชิลีจะยังคงมีเสรีภาพในการเดินเรือและใช้น่านฟ้าในแถบนี้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การยกน่านน้ำดังกล่าวให้แก่เปรูถือเป็นความสูญเสียที่น่าเศร้าสำหรับเรา"

ชาวประมงชิลีต่างก็รู้สึกผิดหวังเช่นกัน แต่ก็ยอมรับว่าคำตัดสินของศาลโลกไม่มีผลกระทบมากมายนัก

นักวิเคราะห์บางคนมองว่า ชิลีแทบไม่สูญเสียผลประโยชน์อะไร เนื่องจากชาวประมงมักจะออกหาปลาในรัศมีไม่เกิน 40 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง

"หลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างเปรูกับชิลีน่าจะเป็นไปในทางสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น" ลูอิส เบนาเวนเต นักรัฐศาสตร์ชาวเปรูให้ความเห็น พร้อมชี้ว่าคำตัดสินของศาลโลกถือเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่สำคัญ

เปรูยื่นฟ้องต่อศาลโลกในปี 2008 โดยระบุว่าอาณาเขตทางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเปรูกับชิลีนั้นไม่ชัดเจน และกล่าวหาว่าชิลีรุกล้ำน่านน้ำของตน

รัฐบาลเปรูอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำซึ่งเป็นแหล่งปลาชุม 38,000 ตารางกิโลเมตรที่ชิลีควบคุมอยู่ รวมไปถึงน่านน้ำ 27,000 ตารางกิโลเมตรที่ชิลีถือว่าเป็น "ทะเลหลวง" (high seas)

ผู้พิพากษาศาลโลกได้ลากเส้นจากจุด 80 ไมล์ทะเลนอกชายฝั่งตอนเหนือของชิลีออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้จนกระทั่งเกือบถึง 200 ไมล์ทะเลห่างจากชายฝั่งชิลี และยกอาณาเขตทะเลเหนือเส้นดังกล่าวให้แก่เปรู

ที่มา -




เปรูชนะศาลโลกชิงแดนชิลี

รัฐบาลเปรูประกาศชัยชนะภายหลังศาลโลกตัดสินกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างเปรูกับชิลี ยกพื้นที่ในทะเล 2 หมื่น ตร.กม.ให้ สองฝ่ายยอมรับคำตัดสิน


รัฐบาลเปรูได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อขอให้ศาลชี้ขาดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลอย่างชัดเจน โดยอ้างว่าเส้นเขตแดนอธิปไตยทางทะเลครอบคลุมพื้นที่ 38,000 ตารางกิโลเมตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ชิลีอ้างมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เปรูเรียกร้องให้เส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของตนลากตั้งฉากมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ลงมหาสมุทรแปซิฟิก จากจุดที่ดินแดนทางบกของสองประเทศบรรจบกัน แต่ชิลียืนกรานว่า เส้นดังกล่าวควรขยายจากชายฝั่งคู่ขนานกับเส้นศูนย์สูตร พร้อมกับยกสนธิสัญญากำหนดพรมแดนฉบับปี 2495 และปี 2497 เป็นฐาน

เมื่อวันจันทร์ ศาลได้มีคำตัดสินซึ่งไม่มีผลผูกพัน ระบุว่าพรมแดนทางทะเลควรเริ่มจากจุดกำหนดบนชายฝั่งที่ใช้อยู่เดิม คือจาก 80 ไมล์ทะเลนอกพรมแดนทางเหนือของชิลี ลากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้เปรูได้พื้นที่ราว 20,000 ตร.กม.จากพื้นที่ข้างต้น บวกกับอีก 28,000 ตร.กม.ในมหาสมุทรที่เคยถูกจำแนกเป็น "น่านน้ำสากล"

รัฐบาลทั้งสองต่างประกาศยอมรับคำพิพากษานี้ นางมิเชล บาเชเลต์ ว่าที่ประธานาธิบดีชิลีที่ชนะเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว กล่าวว่าเธอเสียใจกับ "ความสูญเสียอันน่าเจ็บปวด" แต่ยืนยันว่านางจะปฏิบัติตามคำตัดสิน ขณะที่ประธานาธิบดีโอยันตา อูมาลา ของเปรู ประกาศชัยชนะ บอกว่าเปรูได้ตามที่ต้องการเกินกว่า 70%

อย่างไรก็ดี ชาวประมงจากเมืองตักนา เมืองประมงชายฝั่งตอนใต้ของเปรูโอดครวญว่า พวกตนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จากคำตัดสินนี้ เนื่องจากดินแดนที่ชนะมาไม่เป็นประโยชน์ต่อคนในภูมิภาค ส่วนประมงชิลีแสดงความผิดหวังเช่นกัน แต่ไม่มากเท่า นักวิเคราะห์บางรายชี้ว่าชิลีสูญเสียไม่มากเพราะประมงชิลีไม่ค่อยทำประมงเกิน 40 ไมล์ทะเล

ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านอเมริกาใต้สองชาตินี้นับย้อนไปตั้งแต่สงครามแปซิฟิก ที่ชิลีเป็นฝ่ายชนะและยึดดินแดนอุดมสินแร่ได้จากเปรูและโบลิเวีย และทำให้โบลิเวียถูกตัดทางออกสู่ทะเลด้วย.

ที่มา -