ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

'รัสเซีย' ส่งเรือสอดแนมเทียบท่าคิวบา

เริ่มโดย mrtnews, ก.พ 28, 14, 22:27:37 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

'รัสเซีย' ส่งเรือสอดแนมไปเทียบท่าที่ 'คิวบา' สั่งทหาร 150,000 นาย เตรียมซ้อมรบครั้งใหญ่ ขณะที่เพื่อนบ้านอย่าง 'เวเนซุเอลา' กำลังเผชิญความผันผวนทางการเมือง


27 ก.พ. 57  เรือรบ วิคเตอร์ เลโอนอฟ ซีซีบี-175 ของรัสเซีย ได้ไปจอดเทียบท่าที่กรุงฮาวาน่า ของคิวบา เมื่อวันพุธ โดยปราศจากคำอธิบายจากรัฐบาลและสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลคิวบา

เรือวิคเตอร์ เลโอนอฟ ความยาว 91.5 และกว้าง 14.5 เมตร ได้เข้าจอดเทียบท่าที่กรุงฮาวาน่า ใกล้กับโบสถ์คริสต์นิกายอโธด็อกซ์ ของรัสเซีย // แหล่งข่าวในวงการสื่อมวลชนของรัสเซีย
เปิดเผยว่า เรือลำนี้เป็นเรือสอดแนม ชั้น วิชเนีย หรือ เมอริเดียน ที่มีลูกเรือประมาณ 200 นาย ได้เข้าปฏิบัติภารกิจในทะเลดำ เมื่อปี 2531 ก่อนจะถูกส่งไปประจำการในกองเรือทางเหนือในอีก 7 ปีต่อมา

ทั้งคิวบาและสื่อมวลชนของทางการ ไม่ได้รายงานข่าวเรื่องนี้ ซึ่งต่างจากการไปเทียบท่าหลายครั้งที่ผ่านมาของเรือรบรัสเซีย // อดีตสหภาพโซเวียต ได้ชื่อว่า เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของคิวบามาโดยตลอดช่วงสงครามเย็นที่ยาวนานถึง 3 ทศวรรษ แต่หลังจากนั้น ก็มีระยะห่างกันบ้างในช่วงที่รัสเซียปกครองโดยอดีตประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน แต่หลังจากนั้น สองประเทศก็หันมากระชับความสัมพันธ์กันใหม่ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร

เรือลำนี้ ถูกระบุด้วยว่า ติดปืนขนาดลำกล้อง 30 ม.ม. และขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน // การเข้าจอดเทียบท่าในครั้งนี้ มีขึ้นในช่วงที่มิตรประเทศใกล้ชิดของคิวบาอย่างเวเนซุเอลา กำลังเผชิญมรสุมทางการเมืองและเศรษฐกิจ จากการที่ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร่ เผชิญการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างไม่คาดฝัน

สั่งทหาร 150,000 นาย เตรียมซ้อมรบครั้งใหญ่

รัสเซียสั่งทหาร 150,000 นาย ให้ทดสอบความพร้อมในการสู้รบ เพื่อแสดงแสนยานุภาพของกองทัพ ส่งผลให้สหรัฐ รีบออกมาเตือนว่า การเข้าแทรกแซงทางทหารใดๆ ต่อยูเครน จะเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์

การประกาศความพร้อมสู้ศึกครั้งใหญ่ล่าสุดของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ซึ่งได้รับคะแนนนิยมสูงสุดถึง 67.7 เปอร์เซ็นต์ หลังจากกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้มีขึ้นในขณะที่บรรดาแกนนำการประท้วงของยูเครน ตั้งแต่มหาเศรษฐีอดีตนายแบงก์ ขึ้นเป็นหัวหน้ารัฐบาลคนใหม่ หลังจากประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่สนับสนุนรัสเซีย ถูกโค่นอำนาจ และยังคงล่องหนอยู่ในปัจจุบัน หลังจากหนีออกจากกรุงเคียฟเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

รัฐบาลใหม่ของยูเครน ได้รับการคาดหมายว่า จะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐสภาในวันนี้ จะต้องเผชิญกับภารกิจอันซับซ้อนอย่างใหญ่หลวง ในการฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศ ที่ไม่เพียงร้าวลึกแค่การแตกแยกทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังจวนเจียนจะล่มสลายทางการเงินด้วย

ที่จตุรัสเอกราชในกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประท้วงต่อต้านนายยานูโควิช บรรดาผู้นำรักษาการ ที่ยึดอำนาจหลังจากนายยานูโควิชหลบหนีไป ได้เสนอชื่อายอาร์เซนี ยัตเซนยุค วัย 39 ปี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเคยมีประสบการณ์เป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ รัฐมนตรีต่างประเทศ และประธานสภาผู้แทนราษฎร มาก่อนที่นายยานูโควิช จะก้าวขึ้นสู่อำนาจเมื่อปี 2553 และยังถูกมองว่าเป็นนักปฏิรูปสายวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ

ปัจจุบัน ยูเครน ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่สนับสนุนรัสเซียกับฝ่ายสนับสนุนตะวันตก และมีการต่อสู้กันระหว่างสองกลุ่มนี้ที่สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย // และในขณะที่ยูเครนยังตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด ประธานาธิบดีปูติน ได้สั่งให้ทหารเตรียมพร้อมรับการซ้อมรบครั้งใหญ่ ที่รวมถึงหน่วยทหารหลายหน่วยในพื้นที่ทางตะวันตก และยังประกาศเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุมตามศูนย์บัญชาการของกองเรือรัสเซียในทะเลดำ ในบริเวณคาบสมุทรไครเมียของยูเครนด้วย

นายเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซีย ระบุว่า การเตรียมพร้อมซ้อมรบของรัสเซีย จะมีทหารเข้าร่วม 150,000 นาย , รถถัง 880 คัน , เครื่องบิน 90 ลำ และเรือรบ 80 ลำ โดยมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความพร้อมของกำลังพล ในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติที่คุกคามความมั่นคงทางทหารของประเทศ


นายจอห์น แคร์รีย์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้รีบเตือนรัสเซียไม่ให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้าแทรกแซงยูเครนทันที โดยบอกว่า จะเป็นการละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน ที่จำเป็นต้องได้รับความเคารพ // นายแคร์รีย์ ยังประกาศด้วยว่า ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีบารัก โอบามา มีแผนจะรับประกันเงินกู้ 1 พันล้านดอลลาร์แก่ยูเครน ที่และพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยตรงเพิ่มเติมด้วย

นายแคร์รีย์ ยืนยันว่า นโยบายของสหรัฐ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะลดอิทธิพลของรัสเซียในยูเครน หรือในสาธารณรัฐอดีตสหภาพโซเวียตอื่นๆ แต่อยากเห็นคนในประเทศเหล่านี้ ได้ตระหนักถึงแรงบันดาลใจไปสู่เสรีภาพด้วยระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

แม้รัสเซีย จะปฏิเสธเช่นกันว่า การซ้อมรบครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับสถานการณ์ในยูเครน แต่ดูเหมือนว่า จะเป็นการจงใจแสดงแสนยานุภาพให้ทั้งฝ่ายบริหารชุดใหม่ของยูเครน และตะวันตกได้เห็นว่า รัสเซียพร้อมจะใช้ทุกแนวทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน // และแม้รัสเซียจะรับปากว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของยูเครน แต่ก็ยังแสดงความวิตกต่อสถานการณ์ในดินแดนที่มีคนพูดภาษารัสเซียในยูเครน รวมทั้งที่ไครเมียด้วย

ไครเมีย เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือของรัสเซียและมีประชาชนพูดภาษารัสเซียอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรัสเซีย // ไครเมียกลายเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน เมื่อปี 2497 ตอนที่นิกิต้า ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ยกไครเมียให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน จนกระทั้งโซเวียตล่มสลายเมื่อปี 2534 และไครเมียได้กลายเป็นสาธารณรัฐที่ปกครองตนเองในยูเครน

หวั่น 'ไครเมีย' จะเป็นสมรภูมิจุดใหม่ของวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มมุสลิม ทาทาร์ส ที่สนับสนุนรัฐบาลรักษาการของยูเครน ราว 20,000 คน ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมฝักใฝ่รัสเซียจำนวนน้อยกว่า ที่ด้านนอกอาคารสภาท้องถิ่นในเมืองซิมเฟอโรโพล เมืองเอกของคาบสมุทรไครเมีย ที่เป็นเขตปกครองตนเองทางภาคตะวันออกและประชากรส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย โดยมีตำรวจคล้องแขนเรียงเป็นแถวยาวเพื่อแยกทั้งสองกลุ่มออกจากกัน ขณะที่ผู้ชุมนุมกลุ่มมุสลิม ทาทาร์ส ซึ่งเป็นชนชาติเติร์ก สามารถบุกเข้าไปในอาคารได้ แต่ก็ยอมสลายไปหลังประธานสภาประกาศเลื่อนจัดประชุมฉุกเฉิน ที่พวกเขาวิตกว่าจะเป็นการพิจารณาแยกตัวออกจากยูเครน ส่วนผลของการปะทะกันส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 20 คนและผู้เสียชีวิต 1 คนจากอาการหัวใจวาย

ไครเมีย ถูกยกให้เป็นส่วนหนึ่งของยูเครนเมื่อปี 2497 ในสมัยของนิกิต้า ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต จนกระทั่งโซเวียตล่มสลายในปี 2534 ไครเมียได้กลายเป็นสาธารณรัฐที่ปกครองตนเองในยูเครน

ความตึงเครียดในไครเมียตอกย้ำถึงความแตกแยกในยูเครน ทำให้วิตกว่าประชาชนในภาคตะวันออกจะไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลชุดรักษาการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่เมื่อวาน และอาจเกิดการแย่งแยกดินแดน หลังรัฐสภาปลดประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่มีฐานอำนาจในภาคตะวันออกพ้นตำแหน่งเมื่อสุดสัปดาห์

ส่วนนายยานูโควิช ที่ยังไม่รู้ว่าหลบซ่อนตัวที่ไหนท่ามกลางกระแสข่าวว่ากบดานอยู่ในไครเมียพร้อมกับลูกชาย 2 คนและองครักษ์ กำลังถูกทางการตามล่าตัวในคดีสังหารหมู่พลเรือน และล่าสุดอัยการเผยได้ร้องขอให้ออกหมายจับระหว่างประเทศต่อนายยานูโควิชแล้ว แต่ข่าวไม่ระบุชัดว่ายื่นเรื่องอย่างเป็นทางการถึงตำรวจสากลแล้วหรือไม่

ที่มา -