ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ผู้เชี่ยวชาญแนะไทยเร่งแก้กฎหมายปิโตรเลียมก่อนวิกฤติพลังงาน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 07, 14, 20:16:09 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรุงเทพฯ 6 พ.ค. 57 - ผู้เชี่ยวชาญแนะไทยเร่งแก้กฎหมายปิโตรเลียมก่อนวิกฤติพลังงาน รวมทั้งการตัดสินใจเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียม


นายสตีเฟน เยพ หุ้นส่วนบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยควรเร่งตัดสินใจก่อนที่สัมปทานปิโตรเลียม 2 รายใหญ่ที่สุด ทั้งเชฟรอน และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จะหมดลงในปี 2565 เพราะการลงทุนจะต้องใช้เวลาและใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงพลังงานไทย

ทั้งนี้ รูปแบบประเทศไทยควรเร่งตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนมาใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมแบบแบ่งปันผลผลิตระหว่างภาครัฐและผู้รับสัมปทาน (Production Sharing Contract : PSC) แทนระบบสัมปทานแบบ Concession ที่ประเทศไทยใช้ในปัจจุบัน เพราะหลายประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน เมียนมาร์ และบรูไน เปลี่ยนมาใช้ระบบนี้กันหมด เพราะประเทศเหล่านั้นมองว่าปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินควรเป็นสมบัติของภาครัฐ

"ระบบ PSC เป็นระบบที่กำหนดให้กรรมสิทธิ์ทุกอย่างในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมเป็นของภาครัฐ แต่ให้เอกชนผู้รับสัมปทานเป็นผู้ลงทุนขุดเจาะ เมื่อขุดเจาะปิโตรเลียมออกมาได้ก็นำผลผลิตมาแบ่งกับภาครัฐตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ อาจจะเป็น 50 ต่อ 50 หรือ 40 ต่อ 60 แล้วแต่สัญญา ซึ่งจะทำให้เอกชนเร่งลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนด้วย"  นายสตีเฟน กล่าว

ทั้งนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างเร่งพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีของการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยที่จะหมดอายุลงในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือช่วงปี 2565  ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะไม่สามารถต่ออายุสัมปทานได้อีก

ดีลอยท์ ทู้ช ยังระบุด้วยว่าทิศทางกิจการควบรวมกิจการปิโตรเลียมในอาเซียนมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง โดยปี 2556 มีมูลค่า 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่มีกิจกรรมนี้เป็นอันดับต้นๆ คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีการเปิดกว้างด้านการประมูลและตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ.

ที่มา -