ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กรมเจ้าท่าไล่บี้ท้องถิ่นทั่วปท. เร่งยกเครื่อง 44 ท่าเรือมาตรฐาน-ฝ่าฝืนปิดใช้งาน

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 11, 14, 19:49:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่าจัดระเบียบ 44 ท่าเรือทั่วประเทศ ไล่บี้ท้องถิ่นปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยทั้ง "ท่าเรือเชิงพาณิชย์-ท่าเรือสาธารณะ" พร้อมคาดโทษหากไม่แก้ไขสั่งปิดใช้งานท่าเรือ ด้าน อบจ.-อบต.-เทศบาล ประสานเสียงโวยเงื่อนไขจ่ายค่าเช่า 50% ให้กรมธนารักษ์ไม่เป็นธรรม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่าได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการท่าเทียบเรือที่กรมเจ้าท่าก่อสร้าง โดยระบุว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานพบว่ามีท้องถิ่นหลายแห่งที่ไม่ประสงค์จะเข้ารับบริหารและดูแลท่าเรือ เนื่องจากต้องรับภาระหากมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นในการเข้าดูแลท่าเรือ หรือเมื่อส่งมอบให้แล้ว ท้องถิ่นไม่มีผู้มีความชำนาญประสบการณ์ในการบริหารท่าเรือ หรือนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้มีการใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ท่าเรือมีสภาพทรุดโทรม ไม่มีความปลอดภัย

เจ้าท่าเล็งปิดท่าเรือไม่ปลอดภัย

กรมเจ้าท่าจึงขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอนท่าเรือและท่าเทียบเรือ ให้รักษาความปลอดภัยทั้งในส่วนของโครงสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์เช่นเดียวกับสภาพเมื่อรับมอบ หากมิได้ดำเนินการแก้ไข กรมเจ้าท่าอาจพิจารณาปิดการใช้งานท่าเรือ เพื่อความปลอดภัย

สำหรับกรมเจ้าท่า มีอำนาจตรวจตราความปลอดภัยของท่าเรือ และมีอำนาจสั่งห้ามใช้ท่าเทียบเรือจนกว่าผู้บริหารท่าเรือจะซ่อมแซมหรือปรับปรุงท่าเรือให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2557 นายชาญนะ เอี่ยมแสง รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แจ้งเรื่องถึงผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

44 ท่าเรือทั่วประเทศระทึก

ปัจจุบันท่าเรือที่กรมเจ้าท่าออกแบบและก่อสร้าง และส่งมอบให้ท้องถิ่นดูแล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ จำนวน 19 ท่า ซึ่งผู้ที่เข้าบริหารท่าเรือจะต้องเสียค่าเช่าให้กรมธนารักษ์ ร้อยละ 50 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารท่าเรือส่วนหนึ่งอ้างว่าไม่มีรายได้เหลือเพียงพอที่จะดำเนินการปรับปรุงและดูแลท่าเรือให้อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการประชาชนได้ ทำให้ท่าเรือเกือบทั้งหมดมีสภาพไม่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย

2. ท่าเทียบเรือสาธารณะที่มีผู้เข้าบริหารแล้ว จำนวน 20 ท่า เมื่อกรมเจ้าท่าก่อสร้างแล้วเสร็จจะส่งมอบให้กรมธนารักษ์ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ก่อนส่งมอบให้ท้องถิ่น

ดูแล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 เพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะต่อไป โดยไม่ให้เรียกเก็บค่าใช้ท่าเทียบเรือ แต่ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ารักษาความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัยได้

นอกจากนั้นยังมีท่าเรือระหว่างประเทศอีก 1 ท่า คือ ท่าเทียบเรือกันตัง จ.ตรัง บริหารโดยเทศบาลเมืองกันตัง และท่าเทียบเรือชายฝั่งสาธารณะที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้บริหารอีก 4 ท่า คือ ท่าเทียบเรือบ้านคลองดินเหนียว, ท่าเรือบ้านอันเป้า, ท่าเรือบ้านหินกอง จ.พังงา ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2550 และท่าเรือคลองสามเสียมจ.ชุมพร สร้างเสร็จปี 2553


ท้องถิ่นโวยจ่ายค่าเช่าไม่เป็นธรรม

นายสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าอบจ.กระบี่ได้รับท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวมาบริหาร 2 แห่ง คือ ท่าเทียบเรือโดยสารท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด และท่าเทียบเรือประมงน้ำลึก แม้ว่าการบริหารจัดการท่าเทียบเรือโดยสารท่องเที่ยวปากคลองจิหลาดจะประสบภาวะขาดทุน แต่ อบจ.กระบี่ก็ต้องรับมาบริหาร เนื่องจากต้องบริการสาธารณะและต้องตั้งงบประมาณในการซ่อมแซม ดูแลรักษา

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการวันละ 500-600 คน แต่ อบจ.กระบี่ไม่ได้เก็บค่าหัวจากนักท่องเที่ยว แต่รายได้มาจากการเข้าเทียบท่าของเรือเอกชนเท่านั้น แต่ต้องมาแบ่งรายได้ให้กรมธนารักษ์ ร้อยละ 50 โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมกับท้องถิ่น

นายพันคำ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง กล่าวว่า กรมเจ้าท่ามีการหมกเม็ดในการสร้างท่าเทียบเรือที่เกาะพีพี เพราะไปสร้างทับที่ท่าเรือสาธารณะที่มีอยู่ก่อน จากงบประมาณเต็มเกือบ 200 ล้านบาท แต่มาสร้างเพียงไม่ถึง100 ล้านบาท จากท่าเรือที่มี 6 ขา แต่มาสร้างเพียง 2 ขา ไม่มีห้องสุขาซึ่งมีปัญหาที่ระบบราชการของกรมเจ้าท่าและกรมเจ้าท่าก็กั๊กเรื่องเอาไว้ โดยไม่ยอมโอนให้ท้องถิ่น

หากโอนให้ อบต.อ่าวนางก็จะดำเนินการดูแลรักษาและปรับปรุงซ่อมแซมเองทั้งหมด นี่คือเหตุผลที่ต้องปรับเปลี่ยนเป็นท่าเทียบเรือสาธารณะ ส่วนรายได้ที่ อบต.อ่าวนางจัดเก็บจากค่าหัวนักท่องเที่ยวนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ที่ท้องถิ่นต้องจัดเก็บอยู่แล้ว จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายได้ท่าเทียบเรือของกรมเจ้าท่า

ด้านนายสุริยะ บุษบงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะศรีบอยา กล่าวว่า ในตำบลเกาะศรีบอยา มีท่าเทียบเรือของกรมเจ้าท่า 3 แห่ง ใช้ประโยชน์ในชุมชนและเพื่อการขนถ่ายสินค้าทางการเกษตร ไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ ซึ่ง อบต.เกาะศรีบอยาเป็นท้องถิ่นขนาดเล็ก มีรายได้น้อยจึงไม่มีศักยภาพในการเข้าไปดูแลและซ่อมแซมบำรุงรักษาท่าเทียบเรือเหล่านี้ได้

ที่มา -