ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ปัญหาใหม่ส่งออกข้าว ตู้คอนเทนเนอร์ - เรือ ไม่พอขน

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 31, 14, 16:34:08 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ผล พวง คสช.เร่งขายข้าว ดันยอดส่งออก 6 เดือนแรกเพิ่มเท่าตัว ตัวเลขทะลุ 4.67 ล้านตัน เจอปัญหาใหม่ส่งมอบไม่ได้ ขาดแคลนทั้งเรือบัลก์-ตู้คอนเทนเนอร์ ดันต้นทุนขนส่งเพิ่มตันละ 30-35 เหรียญ "ข้าวไชยพร"ยกเลิกออร์เดอร์ส่งออก ทำไปก็ไม่คุ้ม


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า จากการส่งออกข้าวในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน 2557) มีปริมาณ 4.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 59.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการส่งออกเพียง 2.93 ล้านตัน หรือยอดส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนตันเป็น 7 แสนตัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการขนส่งทางเรือ ทั้งแบบตู้คอนเทนเนอร์ และแบบเทกอง (Break-Bulk) โดยเฉพาะการส่งไปยังตลาดส่งออกสำคัญ ซึ่งปัญหาเริ่มพบในตลาดจีน หลังจากที่มีการส่งมอบข้าวให้กับคอฟโก้ 1 แสนตัน

ตลาดแอฟริกาซ้ำรอยจน

ล่า สุด ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือบัลก์มีแนวโน้มบานปลายไปยังตลาดแอฟริกา ตะวันตก 2 ตลาดสำคัญคือ ไนจีเรียและเบนิน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผู้ซื้อข้าวท็อป 5 ของไทยเริ่มมีปัญหาแบบเดียวกัน ทำให้ต้องรอส่งมอบนานและมีต้นทุนสูงขึ้น 30-35 เหรียญสหรัฐต่อตัน

สำหรับ ผู้ซื้อข้าวไทยท็อป 5 แบ่งเป็นประเทศเบนินมีปริมาณ 510,016 ตัน, จีน 328,894 ตัน, ไอวอรีโคสต์ 257,581 ตัน, แคเมอรูน 257,390 ตัน และไนจีเรีย 231,278 ตัน รวม 5 ตลาดคิดเป็นปริมาณ 1.58 ล้านตัน หรือสัดส่วน 33% ของตลาดส่งออกข้าวทั้งหมด

นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และประธานกรรมการบริหาร กมลกิจกรุ๊ป กล่าวว่า ยอดส่งออกของบริษัทปรับสูงขึ้น 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ประสบปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ ทั้งในการขนส่งแบบเทกองและแบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยเรือ 1 ลำใช้เวลาส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 15 วันเป็น 2 เดือน ทำให้ผู้ส่งออกจะต้องเสียค่าเสียเวลาเรือ (Demurrage) ในกรณีที่ส่งออกโดยกำหนดราคาแบบ FOB (Free on Broad) หรือค่าสินค้าไม่รวมค่าระวางเรือ แม้ว่าไม่ต้องจ่ายค่าเรือใหญ่แต่ต้องจ่ายค่าเรือโป๊ะ เพราะไปถึงท่าแล้วไม่มีเรือโป๊ะสำหรับขนสินค้าถ่ายลำก็จำเป็นต้องรอ

ต้นทุนขยับ 90-100 เหรียญ

นาย เสริมศักดิ์ ควรทรงธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไชยพร ไรซ์ แอนด์ ฟู้ด จำกัด ยอมรับว่า ปัญหาการขนข้าวส่งออกไปตลาดแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะเบนินและไนจีเรียรุนแรงมากขึ้น จากปกติจะใช้เรือแบบบัลก์ เพราะท่าเรือบางแห่งต้องรอการส่งมอบ 3-4 เดือนก็ยังส่งมอบไม่ได้ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายปกติหากใช้เรือเทกองอยู่ที่ตันละ 65-70 เหรียญสหรัฐ เมื่อจอดรอหลายเดือนทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเช่าเรือ ซึ่งกลายเป็นค่าใช้จ่ายสูงพอ ๆ กับขนส่งแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่มีค่าใช้จ่ายตันละ 90-100 เหรียญสหรัฐ ทำให้มีบางรายเริ่มเปลี่ยนมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ก็มาเจอปัญหาใหม่เรื่องขาดแคลนตู้อีก

"ไชยพรฯแก้ปัญหาจากเดิม ที่ขายแบบ CNF (ราคาสินค้าบวกค่าขนส่ง แต่ไม่รวมค่าประกัน) เปลี่ยนมาเป็น FOB คือขายสินค้าข้างลำเรือ ผู้นำเข้าจะรับผิดชอบในการหาเรือเอง แต่สุดท้ายเมื่อหาไม่ได้ก็ย้อนกลับมาเป็นปัญหาของเรา แม้จะยอมจ่ายราคาสูงขึ้นแต่ก็ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์อีก ไม่มีบริษัทเรือไหนเขารับ หรือถ้าหากรับก็ปรับราคาขึ้น 300-400 เหรียญสหรัฐต่อเที่ยว อย่างล่าสุดมี 2-3 ลอตที่ขายและเปิดแอล/ซีไปแล้ว แต่ต้องยกเลิกคำสั่งซื้อไปเพราะหาเรือไม่ได้ รอมา 3 สัปดาห์ก็ยังหาเรือไม่ได้ เรื่องนี้ต้องหารือกับสายการเดินเรืออีกครั้ง"

ร้อง สธ.ตรวจอีโบล่าที่ท่าเรือ

แหล่ง ข่าวจากวงการสายการเดินเรือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เจ้าของเรือไทยและเรือเดินทะเลต่างชาติยังไม่มีการประกาศมาตรการเฝ้าระวังใน เรื่องของอีโบลา มีเพียงพนักงานที่เดินทางไปเส้นทางแอฟริกาต้อง ระมัดระวังตัวกันเอง รวมถึงที่ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพปกติเวลาเรือมาจอดเทียบท่าจะมี เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงไปตรวจสอบอยู่แล้ว เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมือง แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขเองยังไม่มีการออกหนังสือแจ้งให้ระมัดระวังหรือมี มาตรการเข้มงวดขึ้นแต่อย่างใด


"มีสิ่งที่น่ากังวลกรณีมีเรือที่มา จอดเทียบท่า บางครั้งมีการเปลี่ยนตัวลูกเรือ จึงอยากให้ทางกระทรวงสาธารณสุขมีระบบการเฝ้าระวังที่หน้าท่าเทียบเรือด้วย เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นเป็นเรื่องที่ป้องกันยาก เพราะคนงานเองเป็นคนที่มีความรู้น้อย อาจจะไม่ค่อยได้ระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยของตัวเอง" แหล่งข่าวกล่าว

ศาสตราจารย์ น.พ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขเข้มงวดในการตรวจผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบินจาก แอฟริกามาไทย มากกว่าการเดินทางโดยเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบังและท่า เรือกรุงเทพ เพราะโอกาสเสี่ยงทางเรือมีน้อยกว่า เนื่องจากเรือจากแอฟริกาเดินทางมาถึงประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 20 วัน หากมีคนงานในเรือติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะเกิดการแพร่เชื้อและตายกันในเรือกว่า จะมาถึงไทย

ที่มา -