ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้ของจีนสร้างความตระหนกให้ประเทศเพื่อนบ้าน

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 18, 14, 21:49:22 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

วิเคราะห์โดย มาร์ติน ซีฟฟ์

โครงการงานพิธีขนาดใหญ่ของจีนบนหมู่เกาะขนาดย่อมที่มีชื่อว่าพาราเซลและสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ถูกจับตามองว่าเป็นความพยายามในการเน้นย้ำการถือสิทธิ์ครอบครองพื้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของน่านน้ำสากลที่มีความสำคัญมากและกลายเป็นประเด็นพิพาทรุนแรงขณะนี้


สื่อรายงานเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนได้จัดพิธียกธงขึ้นบนเกาะและแนวปะการังทั้งเก้าแห่งในหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เหตุการณ์นี้มีแนวโน้มว่าจะทำให้ความตึงเครียดระหว่างจีนและประเทศเพื่อนบ้านทวีขึ้น

จีนเข้ายึดครองหมู่เกาะพาราเซลของเวียดนามใต้เมื่อปี 2517 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของฮานอยได้ทวงกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะคืนจากจีนในปีถัดจากการรวมประเทศ

"จีนส่งแท่นขุดเจาะน้ำมัน [HYSY 981] ไปยังน่านน้ำของหมู่เกาะพาราเซลในเดือนพฤษภาคม ซึ่งนำไปสู่การเผชิญหน้ากันระหว่างทั้งสองประเทศในภูมิภาค รวมไปถึงการเดินขบวนและการประท้วงในเวียดนาม โดยธุรกิจหลายแห่งที่เข้าใจกันว่าเป็นของจีนถูกโจมตีในระยะเวลาดังกล่าว" วอนต์ ไชน่า ไทมส์ [WCT] ในไต้หวันรายงาน

WTC รายงานว่าพิธีการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อย้ำกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีนถูกจัดขึ้นบน เกาะวูดดี้เกาะทรี นอร์ธรีฟ เกาะดรัมมอนด์ เกาะเหอดัค เกาะโรเบิร์ต ออบเซอร์เวชันแบงค์และแอนติโลปรีฟ ในหมู่เกาะพาราเซล และบนมิสชีฟรีฟในหมู่เกาะสแปรตลีย์ อีกทั้งยังมีการรายงานโดยเว็บไซต์ข่าวของจีนถึง 40 แห่ง

"ในปัจจุบันนี้ เกาะวูดดี้เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะพาราเซลและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดซานซาที่จีนจัดตั้งขึ้นในปี 2555 ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะสแปรตลีย์ หมู่เกาะพาราเซลและแมคเคลสฟีลด์แบงค์ โดยทั้งหมดนี้เป็นอาณาเขตที่โต้แย้งกันอยู่" WCT ระบุ

หมู่เกาะสแปรตลีย์ถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยจีน บรูไน ไต้หวัน มาเลเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ ในขณะที่อธิปไตยเหนือหมู่เกาะพาราเซลนั้นเป็นที่โต้แย้งกันระหว่างไต้หวัน จีนและเวียดนาม

จีนส่งเรือพิฆาตลำใหม่ไปประจำการในภูมิภาค

ปักกิ่งสนับสนุนพิธีการอันเป็นสัญลักษณ์และดูเหมือนจะถูกกฎหมายเหล่านี้โดยการแสดงแสนยานุภาพทางทะเลของตนในภูมิภาค

"จีนได้ส่งเรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสุดของตนไปประจำการในพื้นที่พิพาทของทะเลจีนใต้เพื่อเข้าร่วมในการซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่" เดอะ ดิโพลแมทรายงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม โดยกล่าวถึงเรือคุนหมิงที่เข้าประจำการในเดือนมีนาคม

"จีนได้นำเรือคุนหมิงเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมท่ามกลางการประโคมข่าวอย่างเอิกเกริกของสื่อจีน เรือชั้นไทป์ 052D เป็นเรือพิฆาตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสุดของจีนในเวลานี้ และมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเรือ DDG ชั้นอีจิส อาร์ลีห์ เบิร์กของสหรัฐอเมริกาอยู่เสมอ เพราะเหตุนี้จึงมีผู้เรียกไทป์ 052D ว่าเรืออีจิสของจีนอยู่บ่อยครั้ง มีการคาดคะเนว่าจีนจะปล่อยเรือในชั้นนี้หกลำออกมาในที่สุด" เดอะ ดิโพลแมทรายงาน "เรือ DDG ชั้นไทป์ 052D จะเป็นเครื่องมือสำคัญของจีนในการเผชิญหน้าทางทะเลซึ่งอาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ทะเลจีนตะวันออกหรือไต้หวัน"

การประจำการของเรือคุนหมิงถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการเน้นย้ำกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ในทะเลจีนใต้ของจีน

"จีนกำลังเดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพในการตรวจตราพื้นที่ห่างไกลในเขตอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่ที่จีนอ้างสิทธิ์ ... นี่หมายถึงโอกาสในการลาดตระเวนระยะทางไกลและปกป้องทรัพย์สินเหล่านี้จากศัตรูของจีนในคราวเดียวกัน" เดอะ ดิโพลแมทรายงาน "จีนพยายามบรรลุวัตถุประสงค์ข้อแรกอย่างแข็งขันโดยการสร้างฐานส่งกำลังบำรุงเพิ่มบนเกาะปะการังต่างๆ ใกล้ฟิลิปปินส์ ส่วนเรือ DDG ชั้นไทป์ 052D จะช่วยให้จีนบรรลุวัตถุประสงค์ข้อหลัง"

นายกอร์ดอน ซี ชาง นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงในความสัมพันธ์ของเอเชียตะวันออกและนักเขียน เห็นด้วยกับการประเมินนี้

""ความทะเยอทะยานของจีนสูงขึ้นพร้อมๆ กับแสนยานุภาพทางทะเลที่เติบโตขึ้น จีนจะไม่หยุดจนกว่าจะถูกทำให้หยุด" เขาบอกกับเอเชีย แปซิฟิก ดีเฟนส์ ฟอรัม [APDF]

ยุทธศาสตร์ของจีนไม่เพียงทำให้ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันตื่นตระหนกเท่านั้น แต่ยังสร้างความหวาดกลัวให้อินเดียด้วย

ผู้นำอินเดียและสหรัฐอเมริกาแสดงความกังวล

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดียที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อเร็วๆ นี้เดินทางเยือนประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐอเมริกา และเจรจาเป็นผลสำเร็จเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายโมดีได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายทะเลจีนใต้ของปักกิ่ง โดยเอาความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนขึ้นของทั้งสองประเทศเป็นเดิมพัน

"เป็นครั้งแรกที่แถลงการณ์ร่วมระหว่างอินเดียและสหรัฐอเมริกาได้กล่าวถึงสถานการณ์ในทะเลจีนใต้เป็นกรณีพิเศษ ทั้งประธานาธิบดีบารัค โอบามาและนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีแสดงความกังวลเกี่ยวกับ 'ความตึงเครียดที่ทวีขึ้นเหนือข้อพิพาทอาณาเขตทางทะเล' ในภูมิภาคนั้น" ไทมส์ ออฟ อินเดีย รายงานเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม


หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์ครั้งล่าสุดระหว่างกองกำลังภาคพื้นดินของจีนและอินเดียในเทือกเขาหิมาลัยอาจมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาของนายโมดี

"แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีขึ้นหลังการประชุมทวิภาคีระหว่างผู้นำทั้งสอง ซึ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังการเผชิญหน้ากับจีนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของลาดักห์จบลงด้วยการถอนกำลังทหารของทั้งกองทัพจีนและอินเดียออกจากพื้นที่ การปะทะกันที่ LAC [เส้นควบคุมแท้จริง] ยังคงดำเนินต่อไปหลายวันถึงแม้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจะรับรองกับนายโมดีในระหว่างการเยือนอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ว่ากองทัพจีนได้รับคำสั่งให้ถอนทัพแล้วก็ตาม" หนังสือพิมพ์ดังกล่าวระบุ

เวียดนามมีปฏิกิริยาต่อจีน

เวียดนามตอบโต้รูปแบบการอ้างอำนาจอธิปไตยทั่วทะเลจีนใต้ของจีนซึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็วด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับอินเดียให้มากขึ้นกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน อินเดียและเวียดนามได้เรียกร้องให้คืนความสงบสุขในทะเลจีนใต้ และลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงที่เสนอแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซเจ็ดแห่งเพื่อให้อินเดียใช้ทำการสำรวจและผลิต

หลังการเยือนเป็นเวลาสี่วันของประธานาธิบดีประนาบ กุมาร มุกเคอร์จีของอินเดีย รัฐบาลของทั้งสองประเทศก็ได้ออกหนังสือแถลงการณ์ร่วมซึ่งระบุว่าทั้งสองฝ่ายต่างตกลงที่จะยกระดับและกระชับความร่วมมือทวิภาคีให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

ที่มา -