ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

จากนักรบสายรุ้ง Rainbow Warrior..สู่เอสเพอรันซา Esperanza เรือแห่งความหวัง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 21, 13, 15:28:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ : ฝ่าเกลียวคลื่น โดย...บรรจง  นะแส

เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior) ซึ่งได้รับฉายาว่านักรบสายรุ้ง เป็นชื่อของเรือธงที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มกรีนพีซ ใช้เดินทางไปทั่วโลก เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการล่าปลาวาฬ โลมา แมวน้ำ การทิ้งกากนิวเคลียร์ ฯลฯ เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ผ่านประสบการณ์การถูกลอบวางระเบิด ถูกจับกุมตรวจยึด กระแทกด้วยเรือรัฐบาล หรือจู่โจมโดยตำรวจของหลายรัฐบาลในยุโรป แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นที่รักครองใจผู้คนนับล้านมามากกว่า 52 ปีกับภารกิจทางทะเล ตอนนี้ เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ได้รับการปลดระวางและกลายเป็นตำนานนักสู้ทางทะเล กลุ่มกรีนพีซได้ส่งมอบ "เรนโบว์ วอร์ริเออร์ 2" เรือรบเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่องค์กรพัฒนาเอกชนในบังกลาเทศ เปลี่ยนบทบาทเป็นโรงพยาบาลเดินทะเลอีกลำก็บริจาคให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนใน ศรีลังกาเพื่อทำพิพิธภัณฑ์ กรีนพีซได้เรือลำใหม่ที่ชื่อว่า เรือ Esperanza ซึ่งมาจากภาษาสเปนแปลว่า "ความหวัง" จะเดินทางมายังประเทศไทยในเดือนมิถุนายนนี้


กว่าสองทศวรรษที่กลุ่มกรีนพีซใช้เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ปฏิบัติการรณรงค์ท้าทายปัญหา เผชิญหน้ากับอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม หยุดการขนส่งไม้ซุงผิดกฎหมายที่ตัดจากป่าโบราณของโลก ขัดขวางการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ และรณรงค์ยุติการจับปลาเกินขนาด การล่าวาฬ สงคราม ภาวะโลกร้อน และอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทรทุกแห่งของโลก เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายครั้งด้วยกัน

การมาเยือนประเทศไทยครั้งแรกในปี 2543 เป็นการรณรงค์ "เอเชียปลอดมลพิษ(Toxic Fee Asia Tour) เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ยังสนับสนุนปฏิบัติการรณรงค์กับชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ต่างๆ ในการยุติถ่านหิน นิวเคลียร์ และผลักดันให้เกิดการปฏิวัติพลังงาน (Energy Revolution Tour ในปี 2548 และ Quit Coal Tour ในปี 2551) รวมถึงการเปิดโปงการทำลายป่าเขตร้อนและร่วมรณรงค์ในการเจรจาโลกร้อนที่บาหลี อินโดนีเซียในปี 2551 เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เมื่อ 3 ปีที่แล้วคือในปี 2553 กลุ่มกรีนพีซได้จัดการรณรงค์ภายใต้ชื่อ "ปกป้องสิ่งแวดล้อมกับเรนโบว์ วอร์ริเออร์" ซึ่งได้ส่งผลทำให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในระดับ ที่น่าพอใจ บทบาทของกลุ่มกรีนพีซต่อการรณรงค์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศเราและของ โลกจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคม เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นภัยคุกคามที่สำคัญของมนุษยชาติ

ในระหว่างวันที่ 15-30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 นี้กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปกป้องทะเลไทยจากภัยคุกคามต่างๆ และความเร่งด่วนในการผลักดันให้ร่วมกันหาทางออกเพื่อก้าวข้ามพ้นวิกฤตที่ กำลังเกิดขึ้นกับทะเลอันเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของสังคมไทย โดยจะจัดกิจกรรมผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในโอกาสการมาเยือนของเรือธงกรีนพีซที่ชื่อ เอสเพอรันซา (Esperanza) เพื่อร่วมรณรงค์ปกป้องทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย โดยร่วมมือกับภาคีด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สมาคมรักษ์ทะเลไทย สงขลาฟอรั่ม เทศบาลนครสงขลา วิทยาลัยวันศุกร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ ชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครือข่าย "พลังพลเมืองเยาวชนสงขลา" (The Young Citizen Network) โดยจัดเป็นโครงการณรงค์ภายใต้ชื่อ "ฟื้นชีวิตทะเลไทย กับเรือเอสเพอรันซา"


ก่อนที่เรือเอสเพอรันซาจะเข้ามาทำกิจกรรมดังกล่าวในเมืองไทย อยากให้สังคมไทยได้รับรู้เรื่องราวของเรือเอสเพอรันซาเป็นเบื้องต้น เรือเอสเพอรันซาเริ่มแล่นใน พ.ศ. 2545 เป็นเรือลำล่าสุดและใหญ่ที่สุดในกองเรือของกรีนพีซ โดยเข้ามาแทนเรือกรีนพีซที่เลิกใช้ไปแล้ว เอสเพอรันซาเป็นเรือที่ผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของกรีนพีซเป็นผู้ตั้งชื่อให้ เรือลำนี้ เป็นเรือลำที่ 4 ซึ่งเดิมทีอยู่ในกองเรือดับเพลิงที่รัฐบาลรัสเซียสั่งซื้อในระหว่าง พ.ศ. 2526 ถึง 2530 จากพื้นที่ก่อสร้างในเมือง Gdansk ประเทศโปแลนด์ มีความสามารถในการแล่นผ่านทะเลน้ำแข็งที่หนาและความเร็วสูง เอสเพอรันซาเป็นเรือ 1 ใน 14 ลำที่ได้รับใบอนุญาตเดินเรือจากรัฐบาลรัฐเซียและใช้งานโดยกองทัพเรือรัสเซีย เป็นเรือดับเพลิงในเมือง Murmansk เรือลำนี้จอดอยู่เป็นเวลาหลายปี เนื่องจากขาดเงินทุน จากนั้นจึงถูกขาย 2-3 ครั้ง และในที่สุดก็ทำหน้าที่เป็นเรือขนส่งสินค้าในนอร์เวย์

กรีนพีซได้ใช้เวลาหลายเดือนในการแปลงเรือลำนี้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยได้รับการกำจัดเยื่อหินทนไฟออกทั้งหมด เปลี่ยนระบบน้ำมันพิเศษให้ เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของน้ำมัน ปรับปรุงแรงขับเคลื่อนไฟฟ้าดีเซลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างระบบทำความร้อนจากของเสีย ทำน้ำสกปรกใต้ท้องเรือให้บริสุทธิ์ ทำให้เรือลำนี้มีประสิทธิภาพกว่าที่กฎหมายในปัจจุบันกำหนด สีทาตัวเรือปราศจากสารไตรบิวทิลทิน ใช้สารทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศที่ทำจากแอมโมเนีย แทนการใช้สารฟรีออน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เป็นเรือสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่มีระบบขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงอุปกรณ์ดำเนินการของกรีนพีซ โดยเพิ่มลานจอดเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงเครนพิเศษสำหรับยกเรือเพื่อใช้ปล่อยเรือสูบลมลงน้ำมีห้องนอน : 33 ห้อง เรือเล็ก : เรือท้องแข็งใหญ่ 2 ลำ เรือสูบลม 4 ลำที่จอดเฮลิคอปเตอร์

การเดินทางมาประเทศไทยของเรือเอสเพอรันซาในครั้งนี้ เราตั้งความหวังเอาไว้ว่า จะสร้างความตื่นตัวให้สังคมไทย โดยการสื่อสารและรณรงค์สาธารณะ ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของทะเล ประเด็นปัญหาคุกคาม แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องผ่านการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วน และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปกป้องอนุรักษ์และกู้วิกฤตทะเลไทย จะทำงานร่วมกับชุมชนริมชายฝั่งทะเลและชุมชนประมงพื้นบ้านในการบอกเล่าถึง ปัญหาภัยคุกคามต่อทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อวิถีชีวิต และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อภาครัฐและสังคม จะเปิดโปงวิธีทำประมงแบบทำลายล้างที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล วิถีชีวิตของชุมชนริมชายฝั่งทะเล และประชาชนคนไทย จะผลักดันเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปรับปรุง "กฎหมายเกี่ยวกับการประมง และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤตทะเลไทยอย่างยั่งยืน รอพบกับนักรบแห่งความหวัง Esperanza ได้กลางเดือนหน้านี้ครับ.

ที่มา -