ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ไปดูเรือรบเขมร เคียงคู่เรือพิฆาตสหรัฐฝึกซ้อม CARAT 2014 ในอ่าวไทย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 05, 14, 19:31:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพเรือที่ 7 ประจำภาคพื้นอินโด-เชียแปซิฟิกของสหรัฐ กับกองทัพเรือกัมพูชาได้ร่วมฝึกซ้อม ความพร้อมทางทะเลที่เรียกว่า "กะรัต" (CARAT) มาตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. 57 และปิดฉากลงในสัปดาห์เดียวกัน สำหรับกัมพูชาปีนี้เป็นปีที่ห้าติดต่อกัน ที่ได้เข้าร่วมการฝึกทวิภาคี ที่ฝ่ายสหรัฐจัดให้มีขึ้นติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นประจำทุกปี ร่วมกับชาติพันธมิตรอื่นๆ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

       
การฝึกกะรัตกับกัมพูชาประจำปี 2557 ฝ่ายสหรัฐจัดทหารเรือและเจ้าหน้าที่สนับสนุน เข้าร่วมราว 400 คน ส่วนเจ้าภาพมีจำนวน 600 คน ทั้งทหารเรือและทหารอากาศ แต่ปีนี้เป็นพิเศษอย่างยิ่ง เพราะเป็นปีแรกที่กัมพูชานำเรือชั้นสเตนกา (Stenka-Class) จำนวน 2 ลำ จากทั้งหมด 5 ลำ เข้าร่วมการฝึกซ้อมคู่กับเรือมัสติน (USS Mustin, DDG-89) ซึ่งเป็นเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ค (Arleigh Burke-Class) ของสหรัฐ โอกาสเช่นนี้คงมีไม่บ่อยครั้ง
       
อาจจะมีผู้คนอีกมากมาย ที่ไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ้ำว่า กองทัพเรือกัมพูชามีเรือชั้นนี้ใช้งานมา 20 ปีแล้ว อันเป็นความร่วมมือช่วยเหลือที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ให้แก่พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชาในอดีต และเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลคอมมิวนิสต์กัมพูชา กลุ่มเจียซิม-เฮงสัมริน-ฮุนเซน ที่กองทัพเวียดนามจัดตั้งขึ้นในกรุงพนมเปญในเดือน ม.ค.2522

แท้จริงแล้วเรือชั้นนี้เป็นแค่เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ยาวเพียง 37.5 เมตร กว้าง 7.64 เมตร มีระวางขับน้ำเพียง 172 ตัน และ อัตราฟูลโหลด หรือการบรรทุกหนักได้สูงสุดก็เพียง 245 ตัน ขนาดเล็กเกินไปที่จะเป็นเรือรบได้ แต่ที่ต้องเรียกว่า "เรือรบ" ก็เนื่องจากภารกิจที่ถูกใช้เป็นเสมือนเรือรบ และยังเป็นเรือติดอาวุธใหญ่ที่สุดในกองทัพเรือเล็กๆ ของกัมพูชา นอกจากนั้นก็ยังติดเรดาร์และโซนาร์ทันสมัย แม้กระทั้งปืนใหญ่ทั้งสองกระบอกก็ควบคุมการยิงด้วยเรดาร์ ซึ่งหาได้ยากในบรรดาเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กทั่วไป

       
นอกจากนั้นเรือชั้นสเตนกา ก็ยังมีเขี้ยวเล็บที่ไม่อาจจะดูเบาได้
       
สเตนกาติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลจำนวน 3 เครื่อง กำลัง 12,500 แรงม้า ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 38 น็อต หรือกว่า 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเป็นนักกีฬาก็เรียกได้ว่า ฝีเท้าจัดจ้าน มีอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่เรือ AK-230 ขนาด 30 มม.จำนวน 2 กระบอก ติดตั้งที่ส่วนหัวเรือกับส่วนท้ายเรือ ยังมีปืนกลขนาด 12.7 มม. อีก 1 กระบอก และ ที่น่ายำเกรงพอๆ กันก็คือ ตอร์ปิโดขนาด 406 มม. สำหรับภารกิจสงครามใต้น้ำ โดยติดตั้งท่อยิงจำนวน 4 ท่อ
       
"สเตนกา" เป็นชื่อเรียกโดยกลุ่มนาโต้ ขณะที่โซเวียตเรียกเรือของตนว่า โปรเจ็กท์ 205P "ตารันตุล" (Tarantul) ชื่อนี้ไปพ้องกับเรือชั้นตารันตุล (Tarantul-Class) ซึ่งเป็นเรือคอร์แว็ต เป็นคนละชั้นคนละชนิดกัน โดยสเตนกาต่อขึ้นมาตามแบบของเรือชั้นโอซา (Osa-Class) ซึ่งเป็นเรือคอร์แว็ตติดจรวดนำวิถี (โปรเจ็กท์ 205) ย่อส่วนลงเกือบครึ่ง จนบางคนเรียกว่าเป็น "เรือโอซาเวอร์ชั่นตรวจการณ์"

เมื่อสืบประวัติย้อนหลัง ก็จะพบว่าเรือชั้นสเตนกามีการพัฒนาต่อเนื่องมายาวนาน และ มีใช้กองทัพเรือของชาติหลังม่านเล็กในอดีตหลายประเทศ ในหน่วยตรวจการณ์ชายฝั่ง ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของกองทัพเรือรัสเซียก็ยังมีใช้ตกทอดมาจนถึงวันนี้

       
กองทัพเรือสหภาพโซเวียตนำเรือชั้นสเตนกาเข้าประจำการระหว่างปี 2510--2533 โดยต่อออกมาราว 114 ลำ ในนั้นหลายสิบลำตกทอดไปยังกองทัพเรือรัฐบริวาร ซึ่งรวมทั้งคิวบาที่อยู่ไกลออกไปอีกด้วย ส่วนของกัมพูชาทั้ง 5 ลำ ขึ้นระวางประจำการระหว่างปี 2528-2530 ได้ชื่อเป็นประเทศนอกค่ายม่านเหล็กเพียงชาติเดียวที่มีเรือเร็วติดปืน-ตอร์ปิโดรุ่นนี้ใช้งาน.

ที่มา -



..-