ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

มาตามนัด สหรัฐส่ง LCS 3 เข้าสิงคโปร์-ทะเลจีนใต้ เรือลำใหม่มี "ลูกเสือไฟ" มาด้วย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 17, 14, 22:27:43 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- วันที่ 17 พ.ย. 57 นี้จะเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในแง่ยุทธศาสตร์การทหารระดับภูมิภาค เป็นวันที่เรือโจมตีชายฝั่งลำใหม่ ซึ่งเป็นเรือรบรุ่นใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐ เริ่มออกเดินทางจากฐานทัพซานดิโอเโก รัฐแคลิฟอร์เนีย มุ่งหน้าสู่แปซิฟิกตะวันตก เริ่มต้นการประจำการระยะยาวในย่านนี้ ตามที่สหรัฐประกาศไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว นอกจากนั้นยังเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เรือรบลำหนึ่งของสหรัฐ เข้าสู่ย่านนี้พร้อมกับ "ลูกเสือไฟ" (Fire Scout) อากาศยานปีกหมุนไร้การบังคับ


ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ก็ตาม เรือฟอร์ตเวิร์ธ (USS Fort Worth, LCS 3) ซึ่งเป็นเรือลำที่สองของเรือโจมตีชายฝั่งชั้นฟรีดอม (Freedom-class) กำลังจะเข้าปฏิบัติภารกิจสืบต่อจากเรือ LCS 1 "ฟรีดอม" เรือต้นของชั้นนี้ซึ่งถอนกลับไปในปลายปี 2556 หลังประจำการในสิงคโปร์เป็นเวลา 10 เดือน (มี.ค.-ธ.ค.) แต่เรือฟอร์ตเวิร์ธ จะปฏิบัติการในย่านนี้เป็นเวลา 16 เดือน "เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือในการสร้างดุลยภาพใหม่ในย่านอินโด-เอเชียแปซิฟิก" มีรายงานในเรื่องนี้ในเฟซบุ๊กของกองทัพเรือที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดของเรือ LCS 3

เรือฟอร์ตเวิร์ธได้รับมอบหมายให้ออกตระเวณเยี่ยมเยือน ประเทศพันธมิตรในย่านนี้หลายประเทศ รวมทั้งร่วมการฝึกกับประเทศเหล่านี้ เช่นการฝึกซ้อมความพร้อมทางทะเล หรือ CARAT และ จะเป็นเรือโจมตีชายฝั่งลำแรกที่บรรทุกยาน MQ-8B ไฟร์สเก๊าต์ หรือ VTUAV (Vertical Takeoff and Landing Unmanned Aerial Vehicle) ซึ่งเป็นอากาศยานไร้การบังคับ ปฏิบัติการด้วยตัวเอง และ ขึ้นลงในแนวดิ่ง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการของเรือ เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าวถึงเรื่องนี้ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างทางมุ่งสู่อินโด-เอเชียแปซิฟิก เรือฟอร์ตเวิร์ธพร้อมลูกเรือ 104 คน จะแวะเยือนฮาวาย เกาะกวม ก่อนจะแล่นเข้าสู่สิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นบ้านแห่งใหม่ และเป็นอู่ซ่อมบำรุงในขณะเดียวกัน ถึงแม้จะยังสังกัดฐานทัพเรือซานดิเอโกอยู่เช่นเดิมก็ตาม นอกจากนั้นฟอร์ตเวิร์ธ กำลังจะเป็นเรือรบลำแรกที่ออกปฏิบัติภารกิจ ภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการที่เรียกว่า "3-2-1" คือ จะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนลูกเรือที่ผ่านการฝึกทำหน้าที่ต่างๆ เป็นอย่างดี จำนวน 2 ผลัดๆ ละ 4 เดือน โดยจะมี 1 ผลัด ได้อยู่ปฏิบัติงานประจำ

นอกจากยานไฟร์สเก๊าต์ บนเรือยังมีเฮลิคอปเตอร์แบบซีฮอว์ค (MH-60R) อีก 1 ลำ และ ตลอดระยะเวลาที่ประจำการในย่านนี้ เรือ LCS 3 ยังคงปฏิบัติภารกิจแบบเดียวกันกับเรือ LCS 1 เมื่อปีที่แล้ว คือ สงครามบนผิวน้ำ อาวุธที่ใช้ยังรวมทั้งปืนใหญ่เรือขนาด 30 มม. จำนวน 2 กระบอก ระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน RAM (Rolling Air Frame Missile) เรือยางท้องแข็งขนาดความยาว 11 เมตร 2 ลำ กับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางทะเลจำนวน 2 ทีมๆ ละ 8 คน

เว็บไซต์กองทัพเรือที่ 3 กล่าวอีกว่า เรือ LCS 3 กับ ยานไฟร์สเก๊าต์ กำลังจะเข้าไปอยู่ใต้การการอำนวยการของกองทัพเรือที่ 7 ที่รับผิดชอบน่านน้ำในย่านอินโด-เอเชียแปซิฟิก รวมทั้งให้ความร่วมมือช่วยเหลือกับชาติพันธมิตรทั้งหมดในย่านนี้ และ เรือฟอร์ตเวิร์ธกำลังจะเป็นเรือโจมตีชายฝั่งลำที่ 2 ที่ได้รับมอบภารกิจให้ออกปฏิบัติการในโพ้นทะเล

LCS ไม่ใช่เรือลำใหญ่ที่สุด หรืออันตรายที่สุดของกองทัพเรือ แต่เป็นเรือที่มีความเร็วสูง คล่องตัว สนองภารกิจเฉพาะด้านอย่างลงตัว ออกปฏิบัติการใกล้ฝั่งได้ ในขณะที่เรือรบแบบอื่นไม่สามารถทำได้ นอกจากนั้่นยังดัดแปลงให้ทำภารกิจได้หลากหลาย รวมทั้งทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ เก็บกู้และสงครามทุ่นระเบิด กับสงครามบนผิวน้ำ

เรือโจมตีชายฝั่ง (Littoral Combat Ship) เป็นเรือรบแบบใหม่ สร้างขึ้นมาภายใต้ความคิดใหม่ มีภารกิจคล้ายเรือคอร์แว็ต แต่มีความเร็วสูง ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับยานขนาดเล็กกว่า มากกว่าจะสู้กับเรือหรือยานขนาดใหญ่เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถติดจรวดนำวิถี ทั้งจรวดยิงทำลายเรือผิวน้ำ และ จรวดต่อสู้อากาศยาน ทำให้สามารถปฏิบัติการได้ทัดเทียมกับเรือฟริเกตลำหนึ่ง

ตามข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐ เรือโจมตีชายฝั่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แทนเรือฟริเกต กองทัพเรือมีแผนจะปลดระวางประจำการเรือฟริเกตชั้นโอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี (Oliver Hazard Perry-class) หมดทุกลำในปี พ.ศ.2562 แต่แผนการนี้ได้หดสั้นเข้ามาเป็นภายในเดือน ต.ค.2558 ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือตั้งแต่่ปี พ.ศ.2486 เป็นต้นมา ที่กองทัพเรือสหรัฐจะไม่มีเรือฟริเกตประจำการอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม การปลดระวางเรือฟริเกตทั้งหมด มีขึ้นในขณะที่สหรัฐจะเริ่มนำเข้าประจำการเรือพิฆาต DDG 1000 หรือ เรือชั้นซูมวอลซ์ (Zumwalt-Class Destroyer) ซึ่งเป็นเรือยุคใหม่ รูปทรงสเตลธ์ 100% ติดระบบอาวุธล้ำยุค รวมทั้งปืนใหญ่แบบ "เรลกัน" (Rail Gun) ยิงด้วยกระสุนจรวด เป็นระยะไกลถึง 1,000 กิโลเมตร และ จะทำให้กองทัพเรือ มีเรือพิฆาตประจำการพร้อมกันถึง 2 รุ่น คือ เรือ DDG 1000 กับเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ค (Arleigh-Burke-class) ที่ยังจะต่อออกมาอีกหลายลำ ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปี พ.ศ.2570


เรือ LCS มีระวางขับน้ำ 3,300 ตัน เท่าๆ กับเรือคอร์แว็ตลำใหญ่ เล็กกว่าเรือฟริเกต แต่ทำความเร็วสูงถึง 40 นอต ( 74 กม./ชม.) ซึ่งเรือรุ่นพี่ไม่สามารถทำได้ นอกจากนั้นยังปฏิบัติการด้วยอาวุธชนิดเดียวกัน หรือ ทัดเทียมกับเรือฟริเกต แต่ใช้ลูกเรือน้อยกว่าเรือรบรุ่นพี่เกือบเท่าตัว และกำลังจะมีการสับเปลี่ยนลูกเรือถี่ขึ้น เท่ากับเพิ่มเวลาฝึกภาคพื้นดินให้แก่ลูกเรืออย่างสม่ำเสมอ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคล

ยาน MQ-8B ผลิตออกมาสำหรับกองทัพเรือโดยเฉพาะ หลังจากพัฒนามายาวนานกว่า 20 ปีโดยบริษัทนอร์ธร็อปกรัมแมน (Northrop Grumman) เพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้โดยอิสระ บอนได้เป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร ซึ่งหมายความว่าจะช่วยให้เรือรบ สามารถมองเห็นเส้นทางล่วงหน้าได้ถึงหลังเส้นขอบฟ้า นอกจากนั้นยาน MQ-8B ก็ยังสามารถใช้ให้ชี้เป้าหมาย รายงานผลการยิงจรวดนำวิถีและอาวุธอื่นๆ ได้อีกด้วย นอร์ธร็อปกรัมแมนเริ่มส่งยาน MQ-8 ให้กองทัพสหรัฐในปี 2555 รวมทั้งเวอร์ชั่นสำหรับกองทัพบกด้วย

MQ-8B ยังพัฒนาให้ติดอาวุธเป็นจรวด 70 มม.นำวิถีด้วยเลเซอร์ มีความแม่นยำสูง เจาะเป้าหมายที่มีความแข็งแกร่งและความหนาได้ ติดหัวระเบิดที่มีอำนาจการทำลายสูง โดยเรียกว่าระบบอาวุุธสังหารด้วยความแม่นยำที่ก้าวหน้า หรือ Advanced Precision Kill Weapon System ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของเรือรบ

กองทัพเรือสหรัฐมีโครงการจะนำ MQ-8B เข้าประจำการบนเรือโจมตีชายฝั่งทุกลำ ในบรรดาเรือ LCS ทั้ง 2 ชั้น คือ ชั้นฟรีดอม กับชั้นอินดีเพนเด้นซ์ (Independence-Class) ที่จะผลิตออกมา รวมจำนวนทั้งหมด 55 ลำในอนาคต.

ที่มา -