ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

สื่อจีนเผย! เขื่อนยักษ์ในทิเบตเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 25, 14, 22:24:58 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี - จีนเริ่มเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากโครงการพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดของทิเบต ในการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำหิมาลัยที่สร้างความกังวลให้กับชาติเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย สื่อทางการจีนรายงาน


สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนรายงานว่า เครื่องกำเนิดตัวแรกของสถานีพลังงานน้ำ จางมู่ (Zangmu Hydropower Station) มูลค่า 9.6 พันล้านหยวน (ราว 5.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งตั้งอยู่ 3,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้เริ่มต้นปฏิบัติการแล้ววานนี้ (23 พ.ย. 57)

เขื่อนบนแม่น้ำหย่าหลุงซังโป (Yarlung Zangbo River) หรือที่อินเดียเรียกว่าแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำสายหลัก จะมีความสูงถึง 116 เมตรเมื่อเสร็จสมบูรณ์ในปีหน้า รายงานระบุ

ซินหวารายงานว่า เมื่อเสร็จสมบูรณ์ เขื่อนแห่งนี้จะมีกำลังผลิตรวม 510,000 กิโลวัตต์ และจะทำให้มันกลายเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างบนที่ราบสูงทิเบต

"สถานีพลังงานน้ำจะแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของทิเบต โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว" ซินหวารายงานโดนอ้างจากเจ้าหน้าที่ของบริษัท ทิเบต อิเล็กทริก

ก่อนหน้านี้อินเดียได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำหิมาลัยที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเส้นทางหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับบางรัฐอันห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งอาศัยการทำเกษตรกรรม


เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียเรียกร้องให้จีน "รับรองว่ากิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสายนี้จะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผลประโยชน์ที่ปลายน้ำ" หลังจากสื่อของทางการจีนรายงานว่า จีนมีแผนจะสร้างเขื่อนอีกหลายแห่งบริเวณนั้น

อย่างไรก็ตาม เอส.เอ็ม. กฤษณะ รัฐมนตรีต่างประเทศคนก่อน ระบุว่า นิวเดลีได้ "สืบเสาะจากแหล่งข้อมูลของเราเองแล้วว่ามันเป็นการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำสายนี้จริง ซึ่งจะไม่กักเก็บน้ำและจะไม่ส่งผลกระทบด้านลบกับพื้นที่ปลายน้ำของอินเดีย"

สื่อจีนได้แสดงภาพถ่ายเขื่อนแห่งนี้ เป็นโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ได้ทำให้น้ำเอ่อล้นเกินไปกว่าความกว้างเดิมของแม่น้ำสายนี้

ที่มา -