ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ส่อง 'โตเกียว ก๊าซ' ผู้นำเข้ารายใหญ่ญี่ปุ่น ต้นแบบด้านพลังงานแอลเอ็นจี

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 27, 14, 06:33:52 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานได้ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดไปในอีก 7-8 ปีข้างหน้า ด้วยปริมาณการผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปัจจุบันประเทศสามารถผลิตก๊าซได้ประมาณ 3.650 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน


แต่ ความต้องการใช้อยู่ในระดับ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต้องนำก๊าซจากเมียนมาร์เข้ามาวันละ 1.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งยังไม่เพียงพอ จะต้องนำเข้าก๊าซในรูปแอลเอ็นจีที่มีราคาแพงมาเสริมอีกวันละประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือปีละ 2 ล้านตัน และมีแนวโน้มการนำเข้าจะสูงขึ้นทุกปีจนอยู่ในระดับ 5 ล้านตันต่อปีในช่วงปี 2560 และหลังจากนี้ไม่เกินอีก 5 ปีจะทยอยเพิ่มเป็น 10 ล้านตัน

นั่น หมายความว่าหากไม่มีก๊าซจากการจัดหาภายในประเทศแล้ว รวมถึงไม่มีการกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าไปชนิดอื่น จากปัจจุบันต้องพึ่งก๊าซสูงกว่า 67 % การนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีในปริมาณที่มากขึ้นจึงหลีกหนีไม่พ้น แม้จะส่งผลต่อค่าไฟฟ้า.ของประเทศในระยะยาวก็ตาม แต่เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานแล้วก็ต้องเลือกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

-เยือนญี่ปุ่นดูต้นแบบแอลเอ็นจี

โดยเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางคณะสื่อมวลชนได้มีโอกาสไปเยื่อนประเทศญี่ปุ่น กับทางบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้พลังงานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องนำเข้ามาทางเรือในรูปก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีทางเรือถึงปีละ ประมาณ 87.9 ล้านตัน หรือคิดเป็น 37.9 % สำหรับการใช้แอลเอ็นจีของโลก รองลงมาเป็นเกาหลีและไต้หวัน ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศแรกของโลกที่นำเข้าแอลเอ็นจีตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ด้วยเหตุญี่ปุ่นต้องการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังประสบปัญหาอย่าง หนักจากการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และขณะนั้นราคาน้ำมันก็ยังไม่แพง แต่หลังจากนั้นมาเมื่อทั่วโลกประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง แต่การที่ญี่ปุ่นมีปริมาณสำรองแอลเอ็นจีจำนวนมาก จึงรอดพ้นจากวิกฤติราคาน้ำมันได้ จึงทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับแอลเอ็นจีเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีคลังแอลเอ็นจีรวม 32 แห่ง คิดเป็นปริมาณสำรองรวม 178 ล้านตันต่อปี แหล่งนำเข้าที่สำคัญจะมาจากแหล่งในประเทศแอลจีเรีย ออสเตรเลีย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และกาตาร์ โดยมีผู้นำเข้าที่สำคัญ 2 กลุ่ม โดยเป็นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีความต้องการใช้แอลเอ็นจีในสัดส่วน 60 % ของความต้องการแอลเอ็นจีทั้งหมด ซึ่งมีบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่คือ TOKYO Electric และกลุ่มผู้นำเข้ามาจำหน่ายในตลาด City Gas รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ขนส่ง และภาคครัวเรือน มีบริษัท TOKYO Gas  เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่

-ส่งก๊าซเข้าท่อถึงครัวเรือน

การเยี่ยมชมดูต้นแบบสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีที่ Negishi เมืองโยโกฮามา  เป็น 1 ใน 3 แห่ง ของบริษัท TOKYO Gas ถือเป็นสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีแห่งแรกของญี่ปุ่น สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1966 ที่มีคลังเก็บแอลเอ็นจีขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นดินขนาดความจุ 4.5 หมื่นลูกบาศก์เมตร จำนวน 5 ถัง และคลังใต้ดินขนาดความจุ 2 แสนลูกบาศก์เมตรอีกจำนวน 8 ถัง โดยถังใหญ่สุดกำลังก่อสร้างอยู่ที่เมืองโอกิชิมะมีความจุถึง 2.5 แสนลูกบาศก์เมตร ซึ่งสถานีรับจ่ายก๊าซแห่งนี้จะมีเรือขนาด 3-7 หมื่นตันต่อลำ เข้ามาส่งแอลเอ็นจี 5-10 ลำต่อเดือน มาจากประเทศกาตาร์ อลาสกา ออสเตรเลีย บรูไน และมาเลเซีย เป็นต้น

สถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีแห่งนี้ จะถูกเชื่อมกับระบบ City Gas โดย 80 % ของแอลเอ็นจี จะถูกส่งไปใช้ในเมือง ครอบคลุมประชากรกว่า 10 ล้านคน ที่นำไปใช้ตามบ้านอยู่อาศัยและอุตสาหกรรม ผ่านระบบท่อส่งก๊าซด้วยระบบความดันปานกลางและสูง และอีก 20 % จะถูกส่งไปโรงไฟฟ้าของโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับชุมชน ส่วนลูกค้าที่อยู่นอกเส้นแนวท่อส่งก๊าซ ก็จะใช้วิธีการขนส่งทางรถยนต์ที่มีกว่า 63 คัน ซึ่งต่อคนสามารถป้อนความต้องการใช้ก๊าซได้ 7 พันครัวเรือนถึง 1 หมื่นครัวเรือน

ทั้งนี้ ก่อนจะส่งแอลเอ็นจีเข้าระบบ จะมีการตรวจสอบเพื่อให้ก๊าซได้มาตรฐาน จากนั้นจะเปลี่ยนแอลเอ็นจีที่มีอุณหภูมิติดลบถึง 160 องศาเซลเซียส ให้เป็นก๊าซผ่านกระบวนการทำให้เป็นไอโดยใช้น้ำทะเล น้ำอุ่นที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตอีก หลังจากแอลเอ็นจีถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซและจะถูกจ่ายเข้าระบบท่อส่งก๊าซและรถ บรรทุก และเรือ ป้อนให้ลูกค้าต่อไป

-สำรองแอลเอ็นจีใช้ยามฉุกเฉิน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้ชี้ให้เห็นว่า จากตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องนำเข้าพลังงานเกือบทั้งหมดคล้ายกับประเทศไทย ที่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงด้านพลังงานเป็นสำคัญ และการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มความมั่นคงด้าน พลังงานให้กับประเทศได้ เพราะต้องยอมรับว่า ปริมาณก๊าซที่ผลิตได้เองภายในประเทศเริ่มจะลดน้องลง สวนทางกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี

โดยเฉพาะการจัดหาก๊าซให้มีใช้อย่างเพียงพอ สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี แม้ว่าจะมีการกระจายเชื้อเพลิงไปใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้นก็ ตาม แต่ความต้องการใช้ก๊าซก็ยังมีความจำเป็นอยู่ และต้องจัดหามาเสริม หากกรณีที่โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาสะสมไว้ใช้กรณีที่ฉุกเฉิน เพราะไม่สามารถส่งได้โดยทางท่อ ซึ่งจะต้องก่อสร้างคลังหรือสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจีมารองรับ ที่จะต้องใช้เวลา 3-4 ปี ในการก่อสร้าง


ดังนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลเห็นความสำคัญในส่วนนี้ จึงได้อนุมัติให้ ปตท.ก่อสร้างคลังแอลเอ็นจีเฟสแรกแล้วที่มาบตาพุด นับเป็นคลังแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี TOKYO Gas  เป็นที่ปรึกษา ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2554 ด้วยความจุ 5 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการจัดหาก๊าซวันละประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยในปีนี้มีการนำเข้าแอลเอ็นจีเกือบ 2 ล้านตันแล้ว และจะเต็มความสามารถรองรับได้ภายในปี 2560 ทำให้มีความจำเป็นต้องก่อสร้างคลังแอลเอ็นจี เฟส 2 เพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านตันในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ที่จะแล้วเสร็จในปี 2560 รวมมูลค่าลงทุนทั้ง 2 โครงการอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประเทศมีก๊าซเพิ่มขึ้นมาในปริมาณ 1.4 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้

-ขยายเฟส3รองรับก๊าซขาด

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการวางแผนจัดหาก๊าซในระยะยาว และการขยายศักยภาพรองรับแอลเอ็นจี ก็ยังมีความจำเป็นต้องอยู่ ที่จะต้องมองถึงความคล่องตัวในการบริหารระบบการจัดส่งก๊าซในกรณีฉุกเฉิน จากแหล่งก๊าซของเมียนมาร์หรือแหล่งในอ่าวไทยที่จะหยุดส่งก๊าซ ทางคณะกรรมการบริหาร ปตท. จึงได้อนุมัติ แผนการลงทุนขยายคลังแอลเอ็นจีเฟส 3 อีก 5 ล้านตัน ในพื้นที่ตั้งใหม่ ซึ่งได้เสนอกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ไปแล้ว

โดยคลังแอลเอ็นจีวีระยะที่ 3 นี้ จะเป็นการกระจายความเสี่ยงของสถานที่ตั้งออกไป โดยจะไม่นำมารวมอยู่กับระยะที่ 1 และ 2 ที่มาบตาพุด ซึ่งตามผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการหาสถานีที่ก่อสร้างคลังค่อนข้างยาก ดังนั้น จึงมีการเสนอที่จะใช้เป็นเรือลอยน้ำหรือเอฟเอสอาร์ยูที่เป็นคลังและสถานีรับ จ่ายก๊าซ ขนาด 2 ล้านตัน  และส่งเข้าทางท่อที่ภาคใต้แทน เพื่อเป็นการรองรับความต้องการใช้ก๊าซของโรงไฟฟ้าที่จะเกิดใหม่ด้วย และเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคตะวันตก กรณีก๊าซเมียนมาร์หยุดส่ง จะมีเรือแอลเอ็นจีลอยน้ำอีก 1 ลำ ขนาดความจุก๊าซ 2-3 ล้านตัน ลอยลำเพื่อส่งก๊าซแอลเอ็นจีเข้าท่อที่แหล่งก๊าซยาดานาหรือเยตากุนในอ่าวเมาะ ตะมะ ของเมียนมาร์มาไทยได้ จะเป็นการแก้จุดอ่อนของการใช้ก๊าซฝั่งตะวันตกได้ทางหนึ่ง

ทั้งนี้ จะทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะมีปริมาณสำรองก๊าซเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านตันหรือจัดหาเพิ่มได้ 2.1 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งจะทำให้อุ่นใจว่าจะไม่ขาดแคลนก๊าซในอนาคต

ดังนั้น การจัดหาแอลพีจีจะมองเรื่องราคาอย่างเดียวคงไม่ได้ ควรจะมองเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศเป็นสำคัญ

ที่มา -