ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

จี้รับมือก๊าซแหล่ง 'เยตากุน' พม่าส่อวิกฤติ พบปริมาณก๊าซลดน้อยลง

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 29, 15, 06:35:42 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ก๊าซพม่าส่อวิกฤติ พบปริมาณก๊าซจากแหล่งก๊าซเยตากุนลดน้อยลง พลังงานเร่งเตรียมแผนรับมือ


ด้านปตท.สผ.ส่งทีมตรวจสอบทางเทคนิค เล็งเจรจาพม่าขายก๊าซจากแหล่งซอติก้าเข้าเสริมระบบแทน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้รับแจ้งจาก ปตท.ว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งก๊าซเยตากุนของพม่า อาจจะไม่เป็นไปตามสัญญา เนื่องจากกำลังการผลิตในแต่ละหลุมผลิตลดระดับลง (decline) เร็วกว่าที่ประเมินเอาไว้ ซึ่งจำเป็นจะต้องเตรียมแผนที่จะรองรับในระดับนโยบาย ที่รัฐอาจจะต้องมีการเจรจากับทางพม่า เพื่อเพิ่มปริมาณรับซื้อก๊าซจากแหล่งซอติก้าเข้ามาเพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวกล่าวว่า ก๊าซจากแหล่งเยตากุน ถือว่ามีความสำคัญต่อการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า โดยถึงแม้จะมีปริมาณรับซื้อน้อยกว่าก๊าซจากแหล่งยาดานา คือ รับประกันปริมาณการผลิตที่วันละ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี แต่ก๊าซจากแหล่งดังกล่าว เป็นก๊าซที่มีค่าความร้อนสูง กว่าก๊าซจากแหล่งยาดานา จึงต้องมีการนำมาผสมกัน ก่อนที่จะส่งป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกของกลุ่มบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

ดังนั้นหากก๊าซจากแหล่งเยตากุน หมดเร็วกว่าสัญญา ก็จะทำให้โรงไฟฟ้าไม่สามารถที่จะรับก๊าซจากพม่าได้ทั้งหมด จากปกติจะรับก๊าซอยู่ที่ประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากค่าร้อนของก๊าซจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่ทางโรงไฟฟ้าออกแบบเอาไว้ ยกเว้นจะมีก๊าซจากแหล่งซอติก้า ที่มีค่าความร้อนใกล้เคียงกันเข้ามาทดแทน โดยปัจจุบันผู้รับสัมปทานในพม่าทำสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งซอติก้าที่ส่งมายังประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2557 อยู่แล้ว 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

แหล่งข่าว กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ ทางกระทรวงพลังงานจะมีการเชิญฝ่ายเทคนิคของปตท.และกฟผ.มาหารือร่วมกันถึงความชัดเจนของข้อมูลว่า ก๊าซจากแหล่งเยตากุนจะส่งเข้าระบบได้อีกกี่ปี ตามเงื่อนไขสัญญาที่ระบุเอาไว้ และหากส่งมอบไม่ได้ตามสัญญา จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร เพราะผลกระทบเรื่องนี้จะเป็นลูกโซ่ที่เชื่อมโยงไปถึงโรงไฟฟ้าในฝั่งภาคตะวันตก รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้ก๊าซเอ็นจีวีด้วย โดยกรณีนี้ ทางกลุ่ม ปตท.ได้มีการว่าจ้างบริษัทคนกลางมาทำการประเมินดูตัวเลขต่างๆ ของการผลิตในแต่ละหลุมผลิตของ ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้านี้น่าจะได้คำตอบ


ก่อนหน้านี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติเยตากุน สหภาพพม่า ปิดซ่อมบำรุงตามแผนงานประจำปี โดยผู้ใช้ก๊าซฯ ทุกกลุ่ม ทั้งไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่เรื่องก๊าซจะหมดก่อนสัญญาเป็นปัญหาใหม่ที่จะต้องวางแผนรับมือวิกฤติ

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ในฐานะบริษัทผู้ร่วมรับสัมปทานในแหล่งเยตากุน กล่าวว่า บริษัทได้ส่งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคนิค ไปตรวจสอบว่าปริมาณก๊าซในแหล่งเยตากุน ที่ลดปริมาณลงไปอย่างรวดเร็วนั้น เกิดจากสาเหตุอะไร และจะซ่อมบำรุงหรือป้องกันได้หรือไม่ โดยจะพยายามรักษาระดับอัตราการผลิตให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งหากไม่สามารถส่งก๊าซได้ตามสัญญา ก็จะต้องมีการหารือกันถึงทางออกว่าจะแก้ไขกันอย่างไร

ที่มา -