ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

โจรสลัดโซมาเลีย"ปล่อยตัว" ลูกเรือประมงไทย 4 ราย" หลังจับยาวนานกว่า 4 ปี

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 02, 15, 06:50:55 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"บีบีซี"และ"เดลี่ เทเลกราฟ"รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 58 ว่า ลูกเรือประมงไทย 4 ราย ซึ่งถูกโจรสลัดโซมาเลีย จับเมื่อปี 2553 ได้รับการปล่อยตัวคืนสู่อิสระแล้ว เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติและเจ้าหน้าที่รัฐบาลโซมาเลีย


รายงานระบุว่า ลูกเรือประมงไทย ทั้ง 4 รายเหล่านี้ คือ นายชาญณรงค์ นะวะระ นายโกศล ดวงมาเกิด นายต้น วิยาสิงห์ และ นายธนกร แก้วกำกง ได้ถูกโจรสลัดโซมาเลีย จับตัวเมื่อเดือน มิ.ย.ปี 2553 ภายหลังกลุ่มได้บุกจี้เรือประมงติดธงชาติไต้หวัน "FV Prantaley 12"ซึ่งขณะนั้นกลุ่มได้เรียกค่าไถ่ลูกเรือเหล่านี้เป็นเงินหลายล้านดอลลาร์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางโซมาเลียบอกว่า ได้รับตัวเหยื่อเหล่านี้จากพื้นที่ห่างไกล โดยเหล่าลูกเรือไทยเหล่านี้ได้โทรศัพท์คุยกับครอบครัวพวกเขาแล้วหลังได้รับการปล่อยตัว ซึ่งพวกเขาต่างร้องไห้คิดถึงกันและกัน

ส่วนนายนิโคลาส เคย์ ตัวแทนพิเศษของสหประชาชาติประจำโซมาเลีย บอกว่า รู้สึกยินดีที่ได้เห็นลูกเรือไทยเหล่านี้ ได้รับการปล่อยตัว และคืนสู่อิสรภาพ และขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือให้เหยื่อเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัว ขณะเดียวกัน เขายังได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวลูกเรืออีก 26 ราย ของเรือประมง"FV Naham 3 "ที่ถูกบุกจี้เมื่อปี 2555 ด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่ที่แน่ชัดว่า การปล่อยตัวนี้มีการจ่ายเงินค่าไถ่หรือไม่ โดยรายงานหนึ่งที่ไม่มีการยืนยันระบุว่า มีการจ่ายเงินราว 150,000 ดอลลาร์ (ราว 4.8 ล้านบาท) ส่วนอีกรายงานระบุว่า เหล่าโจรสลัดต่างหมดความอดทนที่จะต้องคอยหาอาหารเลี้ยงดูเหล่าตัวประกันเหล่านี้มาเป็นเวลานาน ทำให้กลุ่มต้องยืมเงินจำนวนมากเพื่อหาอาหารเลี้ยงเหยื่อลูกเรือประมง

โดยสำหรับเรือ FV Prantaley 12 ได้ถูกกลุ่มโจรสลัดใช้เป็นฐาน ก่อนเรือล่มเมื่อเดือนก.ค.2553 โดยมีลูกเรือ 6 รายเสียชีวิตเพราะป่วยตาย และมีการปล่อยตัวสมาชิกลูกเรือ 14 รายซึ่งเป็นชาวพม่า เมื่อเดือนพ.ค.ปี 2554 ก่อนมีการปล่อยลูกเรือประมงไทยดังกล่าวล่าสุดอีก 4 ราย

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า การปล่อยตัวนี้มีขึ้นหลังจากนานาชาติได้เพิ่มมาตรการป้องกันโจรสลัดในทะเลอินเดีย และส่งผลให้เหตุการณ์โจรสลัดลดลงอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2555

ขณะที่ในวันนี้ (28 ก.พ. 58)  มติชนออนไลน์ รายงานว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า รัฐบาลไทยประสบความสำเร็จในการให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงไทย 4 คน ที่ถูกโจรสลัดจัมกุมตัวเกือบ 5 ปี โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นผลมาจากที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างจริงจัง

บัดนี้ ลูกเรือทั้ง 4 คน ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยโดยสวัสดิภาพแล้ว และจะเดินทางไปขอบคุณนายกรัฐมนตรีในช่วงบ่ายวันนี้

ที่มา -




โจรสลัดโซมาเลียปล่อย "ตัวประกันไทย 4 คน" แล้ว หลังจับไว้นานเกือบ 4 ปี

เอเอฟพี – ชาวประมงไทย 4 คนที่ถูกโจรสลัดโซมาเลียจับเป็นตัวประกันนานเกือบ 4 ปีถูกปล่อยตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเผยวันนี้ (27 ก.พ. 58)


"เรารับตัวคนไทยทั้ง 4 รายมาจากพื้นที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง" โอมาร์ ชีค อาลี เจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหารรัฐกัลมูดัก ที่อยู่ทางภาคกลางของโซมาเลีย เผย
       
ชาวประมงทั้ง 4 รายอยู่ในหมู่ลูกเรือ 24 คนที่ถูกจับในเดือนเมษายนปี 2010 หลังจากโจรสลัดโซมาเลียบุกจี้เรือประมงติดธงชาติไต้หวัน เอฟวี พรานทะเล 12

การถูกกักขังนานเกือบ 4 ปีของพวกเขานับเป็นหนึ่งการกักขังที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เหยื่อรายใดๆ ของโจรสลัดโซมาเลียเคยประสบมา
       
อาลี กล่าวว่า พวกเขาสามารถติดต่อกับคนในครอบครัวได้ไม่นานหลังจากถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อวันพุธ (25 ก.พ. 58)

"พวกเขาโทรศัพท์หาครอบครอบแล้ว และเอาแต่ร้องให้ไม่หยุด" เขากล่าว
       
ชาวบ้านในเมืองกัลคาโย ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารรัฐกัลมูดัก กล่าวว่า มีการจ่ายค่าไถ่เป็นเงิน 150,000 ดอลลาร์ ( ราว 4.8 ล้านบาท ) แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่อาจได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างอิสระได้
       
หลังจากการบุกจี้และยึดเรือ เอฟวี พรานทะเล เรือลำนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นเรือลำหลักของพวกโจรสลัดในการเปิดฉากโจมตีหลายครั้งนอกชายฝั่ง ก่อนที่มันจะพลิกคว่ำในเดือนกรกฎาคมปี 2011 และพวกลูกเรือที่ถูกจับก็ถูกพาขึ้นมาบนฝั่ง
       
จากลูกเรือทั้งหมด 24 คน 6 คนเสียชีวิตแล้วจากการป่วยไข้ต่างช่วงเวลากันในระหว่างที่ถูกกักขัง
       
ในเดือนพฤษภาคมปี 2554 ลูกเรืออีก 14 คนที่มาจากพม่าถูกปล่อยตัวให้กับรัฐบาลในรัฐปุนท์แลนด์ทางภาคเหนือของโซมาเลีย และถูกส่งกลับประเทศโดยโครงการช่วยเหลือตัวประกัน (Hostage Support Programme ) ของสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด (UNODC)

ตัวประกันอีกกว่า 26 คนยังถูกโจรสลัดโซมาเลียคุมขังไว้อยู่
       
การปล้นสะดมของโจรสลัดนอกชายฝั่งโซมาเลียทะยานแตะระดับสูงสุดในปี 2554 ซึ่งมีถึง 237 กรณีที่น่าจะเป็นฝีมือของโจรสลัดโซมาเลียและมีเรือถูกบุกจี้ 28 ลำ
       
อย่างไรก็ตาม การสนธิกำลังของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยติดอาวุธบนเรือและหน่วยตรวจการณ์ทางเรือนานาชาติได้สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง และเมื่อปีที่แล้วไม่มีการบุกจี้เรือที่เป็นผลสำเร็จเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้อ้างจากสำนักงานทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Bureau – IMB) ซึ่งติดตามเหตุการณ์ปล้นสะดมทางทะเลทั่วโลก

ที่มา -




โจรสลัดโซมาเลีย ยอมปล่อยตัวประมงไทย 4 คนที่ถูกโจรสลัดโซมาเลียจับเป็นตัวประกันมาเกือบ 5 ปี

เอเอฟพี รายงานอ้างนายโอมาร์ ชีค อาลี เจ้าหน้าที่รัฐบาลเขตปกครองตนเองรัฐกัลมูดัก ทางภาคกลางของโซมาเลียว่า ชาวประมงไทย 4 คนที่ถูกโจรสลัดโซมาเลียจับเป็นตัวประกันมาเกือบ 5 ปีได้รับการปล่อยตัวเมื่อวานนี้ ระบุว่าเจ้าหน้าที่โซมาเลียได้ไปรับคนไทย 4 คนจากท้องถิ่นห่างไกลแห่งหนึ่ง เพิ่มเติมว่าทั้ง 4 คนได้โทรศัพท์พูดคุยกับญาติในประเทศไทยและร่ำให้ หลังได้รับการปล่อยตัว สำหรับประมงทั้ง 4 คนเป็นหนึ่งในลูกเรือ 24 คนที่ถูกจับกุมไปเมื่อเดือนเมษายน 2553 เมื่อโจรสลัดปล้นเรือประมงเอฟวี พรานทะเล 12 ซึ่งติดธงชาติไต้หวัน การจับกุมตัวไว้เกือบ 5 ปีถือว่ายาวนานที่สุดเท่าที่โจรสลัดเคยจับมา


ด้านชาวบ้านในเมืองกาลคาโย ที่ตั้งของเขตปกครองตนเองนั้นกล่าวว่ามีการจ่ายค่าไถ่ให้แก่โจรสลัด 150,000 ดอลลาร์ แต่รายงานนั้นไม่อาจตรวจสอบได้อย่างเป็นกลาง ด้านนายโมฮัมเหม็ด อับดี นักธุรกิจในเมืองกาลคาโย ซึ่งทราบเรื่องการเจรจาต่อรองให้ปล่อยตัวประกันระบุว่าโจรสลัดรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องให้อาหารและดูแลตัวประกัน ส่งผลให้โจรสลัดติดหนี้สินจำนวนมาก หลังยึดเรือมาได้แล้ว เรือเอฟวี พรานทะเลถูกใช้เป็นเรือหลักของกลุ่มโจรสลัดในการตระเวนปล้นเรือในน่านน้ำที่อยู่ห่างไกลก่อนจะล่มกลางทะเลเมื่อเดือนกรกฏาคม 2554 ส่วนลูกเรือถูกนำขึ้นฝั่ง

ในจำนวนลูกเรือทั้ง 24 คน เสียชีวิต 6 คนจากอาการเจ็บป่วยระหว่างถูกควบคุมตัว ส่วนลูกเรือชาวเมียนมาร์อีก 14 คนได้รับการปล่อยตัวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐปุนท์แลนด์ ทางภาคเหนือของโซมาเลียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 และได้รับการช่วยเหลือส่งกลับประเทศโดยโครงการช่วยเหลือตัวประกันของสำนัก งานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ส่วนตัวประกันอีก 26 คนยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในขณะนี้ สำหรับการจี้เรือที่นอกชายฝั่งของโซมาเลียเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อปี 2554 มี 237 กรณีที่น่าจะเกิดจากการลงมือของโจรสลัดโซมาเลียและจี้เรือได้สำเร็จ 28 ลำ

ที่มา -