ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

โรงไฟฟ้าทวายส่อล้ม หลังญี่ปุ่นปล่อยเงินกู้ ดันเขตพิเศษติลาวา

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 08, 13, 17:18:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

พม่าจ่อเลิกแผนสร้างโรงไฟฟ้าทวาย หลังญี่ปุ่นหนุนปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 51,000 ล้านเยน ให้ช่วยเหลือและพัฒนาเศรษฐกิจดันโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ในเมืองย่างกุ้งแทน


แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า แนวโน้มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ไปศึกษาร่วมกับรัฐบาลพม่า และจะให้ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก) เข้าไปลงทุน ซึ่งผลการศึกษาคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1-2 เดือนนี้ อาจจะต้องสะดุดหรือยุติโครงการไป

ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลพม่าได้หันไปผลักดันให้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ในเมืองย่างกุ้งแทน เนื่องจากซึ่งญี่ปุ่นให้การอุดหนุนและสามารถเกิดขึ้นก่อน ดังนั้น การจะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ทวาย ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินอาจจะต้องชะลอออกไปด้วย เพราะรัฐบาลพม่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการเข้าร่วมทุนกับทางบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ติลาวาก่อน จึงไม่มีเงินมากพอที่จะมาลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทวายได้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะต้องมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายพม่า

"ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ฝ่ายที่จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือพีดีพีฉบับใหม่ 2013 กำลังกังวลว่าจะสามารถนำโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทวายเข้าไปบรรจุไว้ในแผนพีดีพีได้หรือไม่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานระบุไว้  เนื่องจากไม่มีความชัดเจนของโครงการว่าพื้นที่ทวายจะเกิดได้" แหล่งข่าวกล่าว


แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงปลายเดือน พ.ค.2556 ที่ผ่านมา นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้เดินทางเยือนพม่าพร้อมลงนามในข้อตกลงในการช่วยเหลือจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 51,000 ล้านเยน เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจพม่า และการเยี่ยมชมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา โดยมีภาคเอกชนของญี่ปุ่น 3 ราย ได้แก่ บริษัท มิตซูบิชิ ซูมิโตโม และบริษัท มารุเบนิ ลงนามเอ็มโอยูกับบริษัทเอกชนของพม่า 9 ราย ที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจแห่งนี้ในเนื้อที่ 1.25 หมื่นไร่.

ที่มา -