ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ทลฉ. โอ่ผลประกอบการ 7 เดือนแม้โตเพียง 5% แต่ตู้สินค้าโตกว่า 3.4 ล.ทีอียู

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 13, 13, 17:23:30 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ศูนย์ข่าวศรีราชา - เผยผลประกอบการท่าเรือแหลมฉบังช่วง 7 เดือน ปี 56 แม้เติบโตเพียง 5% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 8% ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยลบเรื่องค่าเงินบาท และผลกระทบทางเศรษฐกิจโลก แต่ก็มีตู้สินค้าขนถ่ายผ่านท่าแล้วกว่า 3.4 ล้านทีอียู ขณะที่สถิติรถยนต์ผ่านท่ามีแล้วกว่า 6.81 แสนคัน ถือเป็นสถิติที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องของอุตสหากรรมยานยนต์ในประเทศ


ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เผยถึงผลการดำเนินงานของท่าเรือฯ ในช่วง 7 เดือนของปี 2556 (ต.ค.55-เม.ย.56) ว่า เติบโตเพียง 5% จากเป้าหมายที่วางไว้ 8% ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยลบทั้งเรื่องค่าเงินบาท และผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าคุณภาพมีตัวเลขลดลง ซึ่งในช่วง 7 เดือน ทลฉ. มีสถิติสินค้าขนถ่ายผ่านท่าฯ กว่า 3.4 ล้านทีอียู จากสถิติรวมทั้งปี 2555 ที่มีจำนวน 5.8 ล้านทีอียู

"ในปี 2555 จำนวนตู้สินค้าผ่านท่าเรือแหลมฉบังเติบโตเพียง 3.5% เท่านั้น ซึ่งก็เป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ในปี 2556 เราพบว่าในช่วง 7 เดือน จำนวนตู้สินค้าของเราโต 5% แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ก็ถือว่าเติบโตจากสถิติในปีก่อน อย่างไรก็ตาม สถิติผลการดำเนินงานของ ทลฉ.ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราเติบโตตั้งแต่ 20% จนถึง 100% และแม้ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยตกต่ำสุด การดำเนินงานของเราก็ยังถือว่าดี เพราะธุรกิจท่าเรือไม่ค่อยมีผลกระทบในเชิงลบเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ"

ขณะที่สถิติรถยนต์ผ่านท่าฯ ในช่วง 7 เดือนของปีงบประมาณ 2556 ก็เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน กล่าวคือ มีจำนวนทั้งสิ้น 681,874 แสนคัน แต่ในช่วงเดียวกันของปี 2555 มีเพียง 420,376 แสนคัน และยังเป็นสถิติที่เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2554

โดย ร.อ.สุทธินันท์ เผยว่า สถิติดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มเติบโต และสามารถผลักดันให้ก้าวสู่การติดอันดับประเทศที่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกในอันดับโลกได้ ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในเรื่องแรงงานฝีมือ และคุณภาพการผลิตจนเป็นที่ยอมรับ

ส่วนความเคลื่อนไหวของแผนการสร้างโครงการท่าเทียบเรือเฟส 3 นั้น ร.อ.สุทธินันท์ เผยว่า อยู่ในขั้นตอนการทำความเข้าใจ และสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านใน 2 ชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ดี หากในอนาคตการเกิดขึ้นของท่าเรือทวาย ในประเทศพม่า สามารถทำให้ต้นทุนการใช้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าถูกลง ก็จะทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้บริการยังท่าเรือทวาย ซึ่งก็อาจทำให้ ทลฉ.ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อสร้างท่าเรือในเฟสที่ 3 อีกต่อไป

'"การเกิดขึ้นของท่าเรือทวาย ไม่มีผลกระทบต่อ ทลฉ.อย่างแน่นอน ที่สำคัญยังจะทำให้ ทลฉ.ได้เร่งพัฒนาเรื่องฝีมือ และยกระดับคุณภาพการเป็นท่าเรือระดับโลกได้ง่ายขึ้น เมื่อจำนวนตู้สินค้าจำนวนมากได้ถูกแชร์ออกไป ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถพัฒนางานบริการได้มากยิ่งขึ้น และเรายินดีหากผู้ประกอบการขนส่งสินค้ามีทางเลือกในการใช้บริการหากได้รับข้อเสนอเรื่องต้นทุนที่ถูกลง และจะทำให้เราไม่จำเป็นต้องขึ้นเฟสที่ 3 และจะช่วยรักษาผลประโยชน์ของชาติได้มากขึ้นด้วย" ร.อ.สุทธินันท์กล่าว

ที่มา -