ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

"หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส" จ่อสร้างเคเบิลใต้น้ำเชื่อม 3 ชาติอาเซียน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 29, 15, 19:51:16 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส" ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี กับบริษัท โกลบอล มารีน ซิสเต็มส์ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เทศบาลนครเทียนจิน ประเทศจีน ประกาศแผนการติดตั้งระบบเคเบิลใต้น้ำ ที่จะเชื่อมต่อมาเลเซีย กัมพูชาและไทย หรือเอ็มซีที ด้วยความจุที่ถูกออกแบบไว้สูงกว่า 30 เทราไบต์ต่อวินาที


หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส ได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการออกแบบและการใช้งานร่วมกับบริษัทต่างๆ ประกอบด้วย เทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด ของมาเลเซีย ซิมโฟนี่ คอมมิวนิเคชั่น ของไทย และเทลโคเท็ค ของกัมพูชา เมื่อวานนี้ (26 พ.ค.) เพื่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำครอบคลุมระยะทาง 1,300 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่างเชอราติงของมาเลเซีย กับจังหวัดระยองของไทย และมีหน่วยแขนง (Branching Unit) ที่เชื่อมจากสายเคเบิลหลักไปยังสีหนุวิลล์ในกัมพูชา ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและเมียนมาร์จะสามารถเชื่อมต่อผ่านทางโครงข่ายภาคพื้นดินได้ด้วย

หัวเว่ย ระบุว่า ระบบเคเบิลเอ็มซีที จะใช้เทคโนโลยี อีเทอร์เน็ต (Ethernet technology) 100จี ล่าสุด ด้วยกำลังการผลิตเกิน 30 เทราไบต์ต่อวินาที ซึ่งจะพร้อมสำหรับให้บริการในเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นปี 2559

ขณะที่เทลโคเท็คของกัมพูชา ระบุว่า โครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าราว 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเป็นครั้งแรกสำหรับกัมพูชาที่ได้เชื่อมโยงกับภูมิภาคผ่านทางเคเบิลใต้น้ำ

ที่มา -




หัวเว่ย มารีน และกิจการร่วมค้า MCT ลงนามในข้อตกลงวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำซูเปอร์ไฮเวย์ เชื่อมมาเลเซีย-กัมพูชา-ไทย รองรับการเติบโตบรอดแบนด์ในอินโดจีน

ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2558 - บริษัท หัวเว่ย มารีน เน็ตเวิร์คส จำกัด (หัวเว่ย มารีน) ผู้ให้บริการโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระดับโลก ลงนามในข้อตกลงในการออกแบบและสร้างระบบเคเบิลใต้ทะเล เชื่อมระหว่างมาเลเซีย-กัมพูชา-ไทย (MCT) กับกิจการร่วมค้าของบริษัท เทเลคอม มาเลเซีย เบอร์ฮัด, บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เทลโคเทค จำกัด


ด้วยระยะทางราว 1,300 กิโลเมตร ระบบโครงข่ายเคเบิล MCT จะเชื่อมโยงระหว่างเมืองเชอราติงในมาเลเซีย และจังหวัดระยองของไทย และมี Branching Unit ที่เชื่อมจากสายเคเบิลหลักไปยังสีหนุวิลล์ในกัมพูชา ส่วนการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและเมียนมาร์สามารถทำได้โดยผ่านโครงข่ายภาคพื้นดิน โครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ MCT นี้จะใช้เทคโนโลยี 100G ใหม่ล่าสุด ที่ให้ความเร็วสูงกว่า 30 เทราบิตต่อวินาที โดยจะเริ่มดำเนินการและให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปลายปี 2559

พิธีลงนามในข้อตกลงได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ปราก ซกคน รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ประเทศกัมพูชา เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง และแขกผู้มีเกียรติมากมายร่วมเป็นสักขีพยาน โครงการนี้ยังถือเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญของกัมพูชา ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับภูมิภาคผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำขนาดใหญ่ความเร็วสูงครั้งแรกของประเทศ

หัวเว่ย มารีน จะใช้นวัตกรรมตัวขยายสัญญาณใยแก้วนำแสงใหม่ของหัวเว่ย ซึ่งสามารถรองรับคู่สายเคเบิลได้มากถึง 6 คู่ โดยบรรจุอยู่ในโครงไททาเนียมขนาดเล็ก ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตั้งระบบ เนื่องจากสามารถวางและฝังท่อได้ในขั้นตอนเดียว

ระบบโครงข่ายเคเบิลใหม่นี้จะช่วยให้กัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบมีแถบความถี่เชื่อมโยงระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานดาต้ารวดเร็วขึ้น รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ทั้งองค์กรธุรกิจและบุคคลด้วย

มร. หม่า เหยียนเฟิง รองประธานบริหาร บริษัท หัวเว่ย มารีน กล่าวว่า "เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับลูกค้าของเรา และเริ่มดำเนินการพัฒนาและก่อสร้างทางด่วนใยแก้ว MCT เพื่อมอบโครงสร้างพื้นฐานอันล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภูมิภาคอินโดจีน"

ที่มา -