ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

จีน-มาเลเซีย ร่วมมือเส้นทางทะเล ท่าเรือเมืองพี่เมืองน้อง

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 24, 15, 19:23:33 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

มีความร่วมมือที่น่าสนใจระหว่างจีนกับมาเลเซีย ที่จับมือกันพัฒนาท่าเรือของ 2 เมืองในประเทศ ให้เป็น ท่าเรือเมืองพี่เมืองน้อง


เป็น 1 ในนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเลของจีน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยง 2 ท่าเรือขนาดใหญ่ระดับโลก และนำไปสู่เปิดตลาดเสรี 2 ประเทศ

ท่าเรือที่จีนใช้ในการขนส่งทางเรือกับมาเลเซีย ใช้ท่าเรือที่เมืองเซี่ยเหมิน (Port of Xiamen) ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ ที่มีปริมาณขนส่งตู้สินค้ามากที่สุดเป็นอันดับ 17 จากท่าเรือขนส่งตู้สินค้าทั้งหมดทั่วโลกในปีที่แล้ว โดยจีนลงนามในหนังสือแสดงเจตนาความร่วมมือในนโยบาย "เส้นทางสายไหมทางทะเล" กับท่าเรือกลัง (Port Klang) ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นท่าเรือที่คับคั่งด้วยปริมาณการขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลกในปี 2557

ท่าเรือทั้ง 2 แห่ง มีเป้าหมายที่จะก่อตั้งความสัมพันธ์ในการเป็น "ท่าเรือบ้านพี่เมืองน้อง" เพื่อเพิ่มการพัฒนาของท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ในบริเวณไห่ซี หรือ ทะเลตะวันตก และในพื้นที่ด้านการค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ท่าเรือทั้งสองแห่ง ถือเป็นท่าเรือสำคัญในการพัฒนาฟื้นฟูนโยบาย "เส้นทางสายไหมทางทะเล" โดย ในปี 2558 ท่าเรือเซี่ยเหมินมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์สูงถึง 8.57 ล้าน TEU ต่อปี และท่าเรือกลัง มีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์แตะที่ 11 ล้าน TEU ต่อปี


ในปีที่แล้ว มูลค่าการค้าระหว่างเมืองเซี่ยเหมินและประเทศในกลุ่มอาเซียนสูงถึง 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ครองสัดส่วนครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้ารวมระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนกับประเทศในอาเซียน และเซี่ยเหมินก็ได้เปิดเส้นทางขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สินค้ามากกว่า 12 เส้นทาง เพื่อขนส่งไปยัง 10 ประเทศอาเซียนที่ห่างไกลด้วย

ท่าเรือเซี่ยเหมินมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 8.73 ในการจัดการขนส่งสินค้าจากเซี่ยเหมินไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน และมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปีของการขนส่งสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนมายังเซี่ยเหมิน มากกว่าร้อยละ 66 และคาดว่าเมืองเซี่ยเหมินจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบจากเขตการค้าเสรี และศูนย์กลางการเดินเรือนานาชาติเมืองเซี่ยเหมิน

ที่มา -