ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

สื่อรัฐบาลรัสเซียออกยืนยัน เรือดำน้ำเวียดนามติดจรวดร่อน Klub-S โจมตีภาคพื้นทวีป

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 08, 15, 20:27:15 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สื่อของทางการรัสเซีย ได้ออกรายงานเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับระบบจรวดนำวิถีโจมตี ที่ติดตั้งบนเรือดำน้ำชั้นคิโลลำล่าสุดของเวียดนาม ที่เพิ่งจะส่งมอบในวันสิ้นเดือน เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ระบบจรวด Klub-S ดังกล่าวมีพิสัยทำการถึง 300 กิโลเมตร มีขีดความสามารถในการยิงจากใต้น้ำเพื่อโจมตีเป้าหมายบนภาคพื้นทวีปได้ ทำให้เวียดนามเป็นเพียงชาติเดียวในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีระบบจรวดแบบนี้ติดตั้งในเรือดำน้ำ


เรือดำน้ำลำใหม่ ซึ่งเป็นเรือชั้นคิโล (Kilo-Class) หรือชั้นวาร์ชาฟยันสกา (Varshavianska) คือ เรือนครด่าหนัง (Danang City, HQ-185) ซึ่งเป็นลำที่ 4 จากทั้งหมด 6 ลำ ส่งถึงเวียดนามวันที่ 30 มิ.ย. 58 ที่ผ่านมา "พร้อมระบบจรวด Klub-S ที่สามารถโจมตีเป้าหมายได้ทั้งในทะเล และภาคพื้นทวีป" สำนักข่าวสปุตนิคของรัฐบาลรัสเซีย รายงานในเว็บไซต์ เป็นการออกยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถึงแม้จะมีข่าวระแคะระคายเกี่ยวกับระบบจรวดโจมตีภาคพื้นทวีป บนเรือดำน้ำชั้นคิโลรุ่นใหม่ของเวียดนาม จากบรรดา "แหล่งข่าว" ในรัสเซียตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม

เรือดำน้ำของเวียดนามเป็น "คิโลรุ่นปรับปรุง" (Improved Kilo-Class) แต่ระบบจรวด Klub-S ยิงเป้าหมายภาคพื้นดิน ไม่มีในเรือคิโลของจีนที่ออกมาก่อนหน้านี้ จีนซื้อจากเรือดำน้ำชั้นนี้จากรัสเซีย จำนวน 12 ลำ ซึ่งรวมทั้ง "รุ่นปรับรุง" 10 ลำ และไม่มีติดตั้งในเรือคิโลของกองทัพเรืออินเดียอีก 10 ลำ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 9 ลำ หลังจากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เสียหายไป 1 ลำ เมื่อปี 2556

รายงานของสปุตนิค เป็นการยืนยันรายงานของ นายไซมอน เวเซมาน นักวิจัยอาวุธของสถาบันค้นคว้าวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ที่เผยแพร่ในเดือน เม.ย.ปีนี้ ระบุว่าเวียดนามได้รับ "ระบบจรวดคลับแบบโจมตีภาคพื้นดินที่ผลิตขึ้นในรัสเซียสำหรับเรือดำน้ำชั้นคิโล" โดยนายเวเซมาน อ้างข้อมูลลงทะเบียนอาวุธทั่วไป ที่เวียดนามแจ้งต่อองค์การสหประชาชาติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศตั้งแต่เมื่อปีก่อน แต่เพิ่งจะเผยแพร่ในเดือน เม.ย. ปีนี้เช่นกัน

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเรื่องนี้ในช่วงเดียวกัน อ้างความเห็นของนักวิเคราะห์ที่มองว่า ระบบจรวดก้าวหน้านี้ "เป็นสัญญาณความมุ่งมั่นของเวียดนามที่จะตอบโต้การขยายตัวขึ้นของกองทัพจีน และเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมอาวุธของบรรดาชาติเอเชียต่างๆ ท่ามกลางความตึงเครียดดินแดนที่เพิ่มสูงขึ้น" และยังสร้างความยุ่งยากในการวางยุทธศาสตร์-ยุทธวิถีของฝ่ายจีนในทะเลจีนใต้อีกด้วย

ตัวเลือกอาวุธนี้มีลักษณะที่เป็นเชิงรุกมากกว่าระบบจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำที่เวียดนามจัดหานี้ นอกจากเรือรบ กับเรือดำน้ำของจีนในทะเลจีนใต้แล้ว เมืองต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายฝั่งของจีน ตั้งแต่เกาะไหหลำ ไปจนถึงนครเซี่ยงไฮ้ อาจกลายเป็นเป้าหมายได้เช่นกัน ในกรณีที่เกิดเหตุขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย

เมื่อรอยเตอร์รายงานเรื่องนี้ในเดือน เม.ย. บริษัทอัลมาซ-อันเต (Almaz-Antey) ในกรุงมอสโก ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทโนวาทอร์ (Novator) ผู้ผลิตผู้ผลิตระบบจรวด Klub ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นถึงการขายอาวุธให้แก่เวียดนาม

"คลับ" เป็นชื่อเรียกจรวดส่งออก (Export Version) ของระบบระบบจรวดยิงเรือ "กลุ่ม 3M" (จรวด SS-N-27A "Sizzler" ตามรหัสที่ใช้เรียกในกลุ่มนาโต้) ที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย มีรุ่นย่อยที่ใช้รหัสแตกต่างกันออกไปหลายรุ่น ตามจุดประสงค์การสร้างกับลักษณะการใช้งาน ที่มีทั้งจรวดยิงเรือผิวน้ำ ยิงเรือดำน้ำ และโจมตีเป้าหมายพื้นดินโดยยิงจากทะเล หรือจากเรือดำน้ำ

ยังมีจรวด Klub อีกรุ่นหนึ่งที่เรียกกันว่า Klub-K ที่ติดตั้งในตู้คอนเทนเนอร์บนรถไฟ รถบรรทุกเทรลเลอร์ หรือบนเรือสินค้าเพื่ออำพรางข้าศึก สามารถยิงโจมตีได้ทั้งเป้าหมายในทะเล และบนบพเช่นกัน

จรวดที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ใช้ประจำการในกองทัพเรือรัสเซียมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 มีการพัฒนาประสิทธิภาพกับระบบนำวิถีเรื่อยมา ทำให้มีระบบจรวดที่ยิงเป้าหมายได้ในระยะทางตั้งแต่ 200 กม. จนถึง 2,500 กม. ซึ่งเป็น "จรวดร่อน" หรือ Cruise Missile ได้รับความเชื่อถือในด้านความแม่นยำ ยากแก่การตรวจจับด้วยเรดาร์ทั่วไป

จรวด Klub-S หรือ 3M-54E1/3M-14E ในเวอร์ชันของรัสเซีย "ร่อน" ในความสูง 10-15 เมตร ด้วยความเร็วตั้งแต่ระดับซับโซนิค จนถึงซูเปอร์โซนิค คือ 0.8-2.9 เท่าความเร็วเสียง ในช่วงต้นนำวิถีแบบ Inertail Guidance ความเร็วต่ำกว่า และเปลี่ยนเป็นนำวิถีแบบ Homing Radar เมื่อใกล้ถึงเป้าหมายจะลดระดับการร่อนลงเป็น 5-10 เมตร ขณะเหลือเพียงหัวรบที่พุ่งเข้าเป้าด้วยความเร็วสูง ทำให้การตรวจจับด้วยเรดาร์แทบจะเป็นไปไม่ได้ การยิงต่อต้านล้มเหลว

สถาบัน SIPRI ในสวีเดนรายงานว่า เวียดนามจัดหาจรวดร่อน Klub-S รุ่น 3M-54E1 (300 กม.) ถึง 50 ชุด สำหรับเรือดำน้ำชั้นคิโลทั้ง 6 ลำ และในช่วง 2 ปีมานี้ รัสเซียส่งมอบให้แล้ว จำนวน 28 ชุด จรวดรุ่นนี้ใช้หัวรบน้ำหนัก 400-450 กิโลกรัม ถึงแม้ว่าจำนวนที่ถูกต้องแน่นอนของจรวดจะไม่มีผู้ใดทราบก็ตาม และยังไม่เคยมีการแถลงใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้จากฝ่ายเวียดนาม


เวียดนามเซ็นสัญญาซื้อเรือชั้นคิโลในเดือน ธ.ค.2552 รวมทั้งหมด 6 ลำ ในแพกเกจใหญ่มูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเรือที่ต่อตามโครงการที่เรียกว่า "636.1" โดยอู่ต่อเรือแอดมิรัลตี (Admiralty Ship Yard) นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทางฝั่งทะเลบัลติกของรัสเซีย เรือมีชื่อเสียงในเรื่องความเงียบเป็นพิเศษ ยากในการตรวจจับด้วยโซนาร์ทั่วไป

ตามตัวเลขของอู่แอดมิรัลตี เรือคิโลชั้นปรับปรุง "โครงการ 636.1" เป็นขนาด 2,300 ตัน หรือ 3,000-3,950 ตัน ขณะดำลงใต้ผิวน้ำ บรรทุกเต็มอัตรา ปฏิบัติการในความลึก 240 เมตร และดำได้ลึกสุด 300 เมตร เรือยาว 74 เมตร กว้างสุด 9.9 เมตร ทำความเร็วได้กว่า 20 นอต หรือ 37 กม./ชม. ติดตั้งระบบ AIP ทำให้ปฏิบัติงานอยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลา 45 วัน

เรือชั้นนี้ใช้ได้หลากหลายภารกิจ ทั้งสงครามใต้น้ำ บนผิวน้ำ ป้องกันฐานทัพ ป้องกันชายฝั่ง ป้องกันระบบสื่อสารใต้ทะเล และสอดส่อง ตรวจจับการสื่อสารกับความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม สปุตนิค กล่าว

รัสเซียส่งเรือดำน้ำนครด่าหนัง ไปให้เวียดนาม สัปดาห์กลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ไปกับเรือ Rolldock Storm เรือขนส่งขนาดใหญ่สัญชาติเนเธอร์แลนด์ แล่นอ้อมทวีปแอฟริกา เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านช่องแคบซุนดรา ในอินโดนีเซีย เข้าสู่ทะเลจีนใต้ โดยใช้เวลาราว 45 วัน.

ที่มา -