ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ผลการศึกษา TDRI ให้แยกค่าภาระหน้าท่า ห้ามสายเรือเหมาเข่งขึ้นราคา

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 15, 15, 20:21:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมการค้าภายใน อ้างผลศึกษา TDRI คุมสายเรือตรึงค่าภาระหน้าท่า (THC) เดิม ด้านสภาผู้ส่งออกเดินหน้าล็อบบี้ขึ้นบัญชีค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในส่วนที่อยู่ภายในประเทศ (Local Charges) เป็นบริการควบคุม สกัดต้นตอการโก่งค่าธรรมเนียมไม่เป็นธรรม


นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการสายเดินเรือ ผู้ส่งออก ร่วมหารือแนวทางการกำหนดอัตราค่าภาระหน้าท่า (Terminal Handling Charge หรือ THC) โดยที่ประชุมเห็นชอบตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ให้คงเก็บค่าภาระหน้าท่าในอัตราเดิม จากเดิมที่มีกำหนดจะปรับขึ้นค่า THC ในวันที่ 1 มกราคม 2558 ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่ายกตู้ขึ้น-ลงเรือ ค่าการใช้ท่าเรือ ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง ค่านำตู้ออกจากท่า ค่ายกตู้ออกจากท่า เป็นต้น ทางทีดีอาร์ไอเสนอให้นำไปเก็บเป็นค่าบริการอื่น ห้ามนับรวมในค่า THC เด็ดขาด

"เดิมผู้ประกอบการสายเรือเตรียมปรับขึ้นค่าภาระหน้าท่า ในวันที่ 1 มกราคม 2558 อีก 50-60% แต่ผู้ส่งออกเห็นว่าไม่เป็นธรรมจึงได้ร้องเรียนเข้ามา และมีมติให้คงอัตราค่าบริการเดิม ตู้ปกติ อัตราเดิมอยู่ที่ 2,600 บาทต่อตู้ 20 ฟุต และอัตรา 3,900 บาทต่อตู้ 40 ฟุต และตู้อุณหภูมิ อัตราเดิมอยู่ที่ 3,200 บาทต่อตู้ 20 ฟุต และอัตรา 5,000 บาทต่อตู้ 40 ฟุต เนื่องจาก TDRI เห็นว่า ค่าบริการบางรายการไม่เหมาะสมที่จะนำไปเก็บในค่าภาระหน้าท่า โดยผู้ประกอบการสายการเดินเรือและผู้ส่งออกสามารถตกลงร่วมกันได้ หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ให้แจ้งต่อกรมเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาเป็นราย ๆ ไป

ด้านนายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) กล่าวว่า ทางสภาผู้ส่งออกยอมรับและเห็นด้วยกับข้อสรุปอัตราค่า THC ดังกล่าว หลังจากนี้จะทำหนังสือเวียนส่งไปยังสมาคมทราบอัตราค่าบริการ แต่หากไม่สามารถดำเนินการตามมติที่ประชุม อาจต้องให้กรมการค้าภายในเข้ามาดูแลเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

"ส่วนค่าระวางเรือยังไม่มีปรับขึ้นราคา โดยยังคงเป็นตามกลไกตลาดและการแข่งขัน แม้ว่าการส่งออกจะปรับตัวลดลง"

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า ผู้ประกอบการสายเดินเรือจะปรับอัตราค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้ หากมีต้นทุนการเพิ่มขึ้น เช่น มีต้นทุนการลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังลานพักสินค้านอกท่าเรือ (ICD Off Dock Cost) เพิ่มขึ้น สามารถยื่นพิสูจน์ต้นทุนต่อกรมการค้าภายในพิจารณาความเหมาะสมในปรับขึ้นค่าบริการ หรือหากสายเดินเรือใดปรับขึ้นค่าภาระหน้าท่าสูงเกินไปและไม่สมเหตุสมผล สามารถแจ้งร้องเรียนมาทางกรมการค้าภายใน เพื่อทำการพิสูจน์ต้นทุนได้เช่นเดียวกัน


พร้อมกันนี้ สภาผู้ส่งออกยังเตรียมเสนอกรมพิจารณานำค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเอกสาร Bill of Lading (B/L), Lift On Charges, Seal Container Fee เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า "ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในส่วนที่อยู่ภายในประเทศ" (Local Charges) เป็นบริการควบคุมทั้งหมด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542

นอกจากนี้ สภาผู้ส่งออกต้องการสร้างกลไกการเจรจา 3 ฝ่าย ระหว่างกรมการค้าภายใน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ (ตัวแทนสายเดินเรือ) เพื่อกำหนดให้มีการเจรจาหารือก่อนการประกาศปรับขึ้นค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต

ที่มา -