ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

4 ยักษ์บริหารท่าแหลมฉบังแห่ซื้อซอง ICD ลาดกระบังคึกคัก

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 18, 15, 18:53:39 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโครงการไอซีดี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้มีบริษัทที่มาขอซื้อซอง เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการสรรหาเอกชนเพื่อรับสัมปทานเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบังแล้ว จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1.บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS) ในเครือสายการเดินเรือเมอส์ก 2.บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) 3.บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (LCIT) 4.บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด และ 5.บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และยังเหลือเวลาซื้อซองอีกประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ เท่าที่ทราบความเคลื่อนไหวแต่ละรายอยู่ระหว่างหาพันธมิตรมาร่วมมือกัน


แหล่งข่าวจากวงการโลจิสติกส์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ในวงการธุรกิจสายการเดินเรือระหว่างประเทศอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งต้องมีการเจรจาตกลงกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเงินลงทุนคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทในการปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด การบริหารงานต้องมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารงานร่วมกันตรงส่วนกลางจะตกลงกันอย่างไร สถานีแต่ละแห่งที่มีจะยุบรวมอย่างไร รายละเอียดปลีกย่อยมีค่อนข้างมาก ดังนั้น การเจรจาต้องใช้เวลาพอสมควร

สำหรับผู้มาซื้อซอง 5 รายนั้น 4 รายแรกเป็นที่รู้จักกันดี เพราะบริหารท่าเรือแหลมฉบังอยู่ และ 2 ราย คือ บริษัท สยามชอร์ไซด์ และ ESCO ถือเป็นรายเก่าที่บริหารไอซีดีแต่ที่ค่อนข้างแปลกใจคือ บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งไม่มีใครทราบว่ามาจากไหน มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าน่าจะเป็นนอมินีของบริษัทใหญ่ที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัว

รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจ เปิดเผยว่า บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่งจำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเหล็กสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ แผงโซลาร์เซลล์ โดยมีนายสุเมธ บุญบรรดารสุข เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ มีที่ตั้งสำนักงานตั้งอยู่แถวเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

หากค้นข้อมูลลึกลงไปจะพบว่า นายสุเมธ มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ บริษัท ไทย ยามาโมโต จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าส่ง ท่อยางอุตสาหกรรม ยาง วงแหวนลูกสูบ เครื่องมือการเกษตร ค้าส่ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ทุกชนิด เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 51% และนักลงทุนญี่ปุ่น คือ บริษัท DO-YAMAMOTO CO.,LTD. 44.50% และนาย MASAO FUJISAWA 4.50%

บริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ยาง ฝายยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิด ผู้นำเข้าล้อรถเข็น ล้อเครื่องบิน ผลิตภัณฑ์ยางและอุปกรณ์สวน-นำเข้า, ค้าปลีก, ค้าส่ง โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น ได้แก่ นาย สุเมธ บุญบรรดารสุข 25% 2.นายสุวัฒน์ บุญบรรดารสุข 25% 3.นางวิมล บุญบรรดารสุข15% 4.นายอรรณพ สิทธาธิการเวชช์15% 5.นายบัญชา บุญบรรดารสุข 5% 6.นางสาวสุชาดา บุญบรรดารสุข 5% 7. นางสุดาวดี สิทธาธิการเวชช์ 5% 8.นางสุดาวรรณ ทองสีนาค 5%

บริษัท เอ็นซีอาร์-ทีอาร์บี อินดัสตรี้ จำกัด ทำธุรกิจผลิตท่อพลาสติก พีวีซี 1.บริษัท โคลเมค จำกัด จากอิตาลี 50% 2.บริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 40% 3.นายสุทัศน์ ทวีเจริญสุข 10% 4.นายมงคล บุญบรรดารสุข 0.0000% 5.นางสาวสุดาวรรณ บุญบรรดารสุข 0.0000% 6.นายสุเมธ บุญบรรดารสุข 0.0000% 7.นายสุวัฒน์ บุญบรรดารสุข 0.0000% 8.นายอรรณพ สิทธาธิการเวชช์0.0000%

บริษัท ฟูจิ บลาสเทค (ประเทศไทย) จำกัด ทำธุรกิจเกี่ยวกับจำหน่ายเครื่องจักรขัดสี ขัดสนิม ลอกสนิมรวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ เป็นการร่วมทุนระหว่าง 1.บริษัท ฟูจิ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 49.00% 2.บริษัท เอ็มเอชซีบี คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 31.00% 3. บริษัท ไทย ยามาโมโตจำกัด 20.00%


บริษัท เอ็น ซี บี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำธุรกิจให้เช่าสำนักงาน

นอกจากนี้ นายสุเมธยังเข้าไปกรรมการในบริษัท ยูไนเต็ด ออฟชอร์ เอวิเอชั่น จำกัด ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนส่งคน สิ่งของโดยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีผู้ถือหุ้น ได้แก่ 1.บริษัท นทลิน จำกัด 99.9998% 2.นางสาวจารุวรรณ คังคะมณี 0.0001% และ 3.นางสาว สภัคสรณ์ วัชร์ธัญนิกุล 0.0001%

ที่มา -