ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

คุณรู้ไหม เพราะเหตุใด "นอร์เวย์" และ "เอเชีย" ถึงเขยิบใกล้กันมากขึ้นกว่าเดิม

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 25, 13, 15:33:57 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 4 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เมือง "เคียเคเนส" ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของนอร์เวย์ เคยอยู่ห่างไกลจากเอเชียมากกว่าท่าเรือใด ๆ ของยุโรป แต่ ณ เวลานี้ เห็นได้ชัดว่าระยะทางระหว่างเมืองนี้ และเอเชีย ได้เขยิบใกล้กันมากขึ้น ซึ่งคำตอบของสาเหตุก็คือ จาก"ปฎิกิริยาโลกร้อน" โดยการละลายของน้ำแข็งได้เปิดเส้นทางเดินเรือตามพรมแดนชายฝั่งขั้วโลกเหนือของรัสเซีย และได้เปลี่ยนวิถีทางการค้าระหว่างประเทศอย่างสำคัญลึกซึ้ง แม้ว่าถึงขณะนี้มันจะดูเหมือนเป็นถนนที่เงียบเหงา มากกว่าถนนสี่เลนส์ที่รถพลุกพล่านก็ตามที


ในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่ง ช่วงเวลาเดินทางระหวางท่าเรือ"โยโกฮาม่า"และเมือง"ฮัมบูรก์"ในเยอรมัน ได้ลดลงถึง 40 เปอร์เซนต์ และค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้ลดลงถึง 20 เปอร์เซนต์ โดยนายสเตราล่า เฮนริกสัน ประธานสมาคมเจ้าของเรือนอร์เวย์ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราได้เห็นทะเลใหม่กำลังพรมแดนสูงขึ้น ซึ่งได้ทำให้เกิดผลกระทบใหญ่ต่อการค้าของยุโรปและเอเชีย รวมทั้งการใช้พลังงาน

เมื่อปี 2012 เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกได้ลดลงในระดับต่ำสุด หรือมีพื้นที่ลดลงเหลือ 3.4 ล้านตร.กิโลเมตร นั่นทำให้เส้นทางการเดินเรือของเอเชียและยุโรปเปิดกว้างขึ้น โดยมีเรือสามารถเดินทางได้เพิ่มขึ้นถึง 46 ลำ เทียบกับเมื่อปี 2010 ซึ่งเดินทางได้เพียง 4 ลำ นอกจากนี้ ในช่วงอนาคตข้างหน้า จำนวนสินค้าที่ถูกขนผ่านเส้นทางระหวาง"ทะเลเหนือ"ก็คาดว่าจะสูงขึ้นมากกว่าเดิมอย่างมาก หรือราวประมาณ 50 ล้านตันในปี 2020 เพิ่มขึ้นจากเดิมในปีที่แล้ว ซึ่งมีจำนวนเพียง 1.26 ล้านตัน

สำหรับเมืองเคียเคเนส ซึ่งปัจจุบันมีประชากรเพียง 3,400 คน และแทบจะอยู่ในสภาพความมืดมิดสนิทในช่วงหน้าหนาว ปัจจุบันเมืองนี้กำลังจะเป็นที่นิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มการขนส่งสินค้าทางเรือบางกลุ่ม มีแผนจะเปิด"ฮับขนส่งสินค้า"ในเมืองนี้ ซึ่งกินเนื้อที่เท่ากับสนามฟุตบอล 200 สนาม ในช่วงตลอดทั้งปีที่ปลอดน้ำแข็ง จากภาวะไออุ่นร้อนจากปฎิกิริยาโลกร้อน โดยที่ตั้งของท่าเรือแห่งนี้ถือเป็นแหล่งยุทธศาสตร์สำคัญยิ่ง โดยจะใช้เวลาเดินทางจากแปซิฟิก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มายังพื้นที่นี้ ราว 9 วัน และยังอยู่ใกล้กับแหล่งธรรมชาติดิบ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมดิบ ในขั้วโลกเหนือ เช่นเดียวกับแร่ถ่านหินในสวีเดนและฟินแลนด์ทางตอนเหนือ

และที่ผ่านมา มีเรือจำนวน 20 ลำ ที่เดินทางจากทะเลขั้วโลกเหนือ ระหว่างยุโรปและเอเชีย เมื่อปีที่แล้ว ที่สามารถบรรทุกก๊าซไฮโดรคาร์บอน ขณะที่อีก 6 ลำ ได้ขนส่งแร่เหล็กและถ่านหิน และในทางตรงกันข้าม ความต้องการ"พลังงานก๊าซ"ของเอเชีย ก็เพิ่มสูงขึ้น หลังจากญี่ปุ่นประสบเหตุสึนามึถล่มโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์"ฟูกูชิม่า"เมื่อปี 2011 และส่งผลให้ราคาก๊าซเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคยุโรป และนอกเหนือจากธรรมชาติแห่งการค้าขายที่อู้ฟู้ เรือแต่ลำที่ขนก๊าซ"LNG"จากเส้นทางขั้วโลกเหนือ ได้ขนก๊าซดังกล่าวด้วยราคาราว 7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถูกกว่าการขนส่งผ่านทางคลองสุเอซ


และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เส้นทางการค้าใหญ่ในการขนส่งสินค้าจากทะเลใต้และทะเลเหนือที่เคยไกลกันมาก ก็จะเขยิบใกล้กันมากขึ้น รวมทั้งการบรรทุกตู้คอนเทนเน่อร์ ซึ่งเจ้าของมักจะชอบใช้เส้นทางเดิม ด้วยการแวะพักยังเมืองที่เต็มไปด้วยประชากรหนาแน่น

อย่างไรก็ตาม ในเชิงระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบาง ปรากฎการณ์เหล่านี้น่าจะส่งผลให้เกิดความวิตกอย่างมากแก่กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะต่อรัสเซียที่เป็นประเทศรายใหญ่ที่ชอบทำลายแผ่นน้ำแข็งเพื่อเปิดทางสำหรับการเดินเรือ รวมทั้งจีน ซึ่งก็มีพฤติกรรมดังกล่าวด้วย โดยหลังจากที่จีนได้ส่งเรือ"สโนว์ ดราก้อน"ทำลายแผ่นน้ำแข็งในช่วงที่ผ่านมา จีนยังวางแผนที่จะส่งสินค้าผ่านมายังเส้นทางทะเลขั้วโลกเหนือในช่วงฤดูร้อนนี้ และประเมินว่า เรือสินค้าระหว่างประเทศของจีนจำนวน 5-15 เปอร์เซนต์ จะสามารถใช้เส้นทางนี้ได้ก่อนปี 2020

ที่มา -