ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

พรก. ประมง 58 เมื่อไทยมีทั้งกฏหมาย ทั้งกฏอนุรักษ์สัตว์น้ำ

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 04, 16, 06:24:19 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2559 - พระราชบัญญัติ (พรบ.) การประมง พ.ศ. 2558 ในยุคสมัยของ ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เป็นเหมือนการลอกคราบครั้งใหญ่ของวงการประมงไทย หลังใช้ พรบ.การประมง พศ. 2490 มานาน จึงนับเป็นกฎหมายพิเศษที่กรมประมงมั่นใจว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบองค์รวมที่สามารถยุติปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และสร้างมาตรฐานการทำประมงที่เสมอภาคทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน รวมทั้งมีสาระหลักที่ให้ความสำคัญกับนโยบายปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำได้ด้วย นอกจากความหวังด้านการบริหารจัดการประมงที่มีประสิทธิภาพแล้ว การแก้กฎหมายครั้งล่าสุดนี้กรมประมงยังเชื่อด้วยว่ามีส่วนทำให้ต่างประเทศประเมินสถานการณ์ประมงไทยในทางที่ดีขึ้นและกอบกู้ภาพลักษณ์บางส่วนที่นานาชาติเคยวิจารณ์ไทยด้วย


นายประเทศ ซอรักษ์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมประมง ระบุว่า เหตุผลในการเปลี่ยนแปลง พรบ.การประมงครั้งนี้เนื่องจากฉบับเดิมนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายได้ พรบ.การประมง ฉบับใหม่จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินการบริหารจัดการการประมงของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเป้าหมายของ พรก. เป็นไปเพื่อการจัดระเบียบการประมงในประเทศไทยและนอกน่านน้ำ เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามแนวทาง กฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับนับถือในนานาประเทศ รวมทั้งคุ้มครองสวัสดิภาพของคนทำงานในเรือ และป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมง

สาระสำคัญในกฎหมายฉบับใหม่คือ การแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขตอย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง โดยในแต่ละเขตจะมีการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และตามประเภทของเครื่องมือประมง ซึ่งจะช่วยลดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ทำการประมง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ที่มีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ พรก. การประมง ฉบับนี้ยังมีบทบัญญัติที่ส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและออกหนังสือรับรองให้

"ชาวประมงควรให้ร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมาย และรับผิดชอบร่วมในการกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในเขตพื้นที่จังหวัดนั้น ภายใต้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดที่กำลังจัดตั้งขึ้น พรก.ฉบับนี้ให้ความสำคัญในการเร่งรัดให้เรือทุกลำที่ทำประมงมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง เช่น การบังคับตามมาตรา 67 คือ เรือประมงทุกลำควบคุมเครื่องมือโดยห้ามใช้เครื่องช๊อตปลา โพงพาง ลอบพับ และใช้อวนลากี่มีขนาดตาอวนกุ้นถุงตั้งแต่ 4 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเรือทุกลำจะต้องปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้เกิดการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กก่อนวัยอันควร"


พรก.ฉบับนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์การประมงไทยต่อสายตานานาชาติ คือ มีการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ โดยผู้ที่จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยอย่างเป็นระบบ ไม่กระทำผิดกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

ในช่วงตรวจสอบความเรียบร้อยและเริ่มติดตามผลการประกาศใช้ พรก.การประมงปี 2558 เบื้องต้นพบว่ามีเรือประมงพาณิชย์จำนวนหนึ่งที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด โดยกรมประมงเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไข และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป ทางกรมประมงจะเริ่มบังคับใช้ใบอนุญาตฉบับใหม่ตามข้อบังคับใน พรก. ซึ่งบทลงโทษเรือที่ไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับสูงสุด ถึง 30 ล้านบาท

ผอ.กองกฎหมาย กรมประมง ยืนยันว่า พรก.เป็นมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเดียวแต่เป็นการประยุกต์กฎหมายให้เป็นเกราะช่วยปกป้อง ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำและส่งเสริมสิทธิประชาชน ให้ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่มีธรรมาภิบาล มีความเอื้อเฟื้อระหว่างกันได้ด้วย



ที่มา Data & Images -