ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ฮ.ลายพรางราชนาวีไทย H145M สุดทันสมัย แอร์บัสฯ ส่งให้ 2 ลำแรก

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 27, 16, 06:31:51 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

MGRออนไลน์ -- บริษัทแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ (Airbus Helicopters) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนรายใหญ่ที่สุดของยุโรปในปัจจุบัน ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์แบบ H145M ให้แก่ราชนาวีไทยจำนวน 2 ลำ จากทั้งหมด 5 ลำ ที่เซ็นซื้อ ซึ่งทำให้กองทัพเรือไทย เป็นแห่งแรกที่มี ฮ.ขนส่งทหารขนาดเบา ทันสมัยที่สุดและก้าวหน้าที่สุดของค่ายยุโรปในขณะนี้


เรื่องนี้กำลังเป็นข่าวในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งในช่วงข้ามวันผ่านมา ซึ่งผู้สังเกตุการณ์หลายรายกล่าวว่า เป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นกองทัพไทย หันไปใช้ตัวเลือกอื่น นอกเหนือจากอากาศยานปีกหมุนค่ายสหรัฐ หลังจากกองทัพอากาศเซ็นซื้อ EC725 จำนวน 4 ลำ จากผู้ผลิตรายเดียวกันนี้เมื่อปี 2555 และ ซื้อเพิ่มอีก 2 ลำในปี 2557 และ เมื่อสิบปีก่อนนี้ ราชนาวีเคยซื้อ ฮ. ซูปอร์ลิงซ์ 300 (Super Lynx 300) ที่ผลิตในสหราชอาณาจักร โดยอกัสตาเวสต์แลนด์ (AgustaWestland) จำนวน 2 ลำ

เมื่อ 3 ปีก่อนหน้านี้กองทัพบกไทย ได้จัดหาอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของ ฮ.รุ่นนี้จำนวน 6 ลำ ถึงแม้จะซื้อจากโรงงานในสหรัฐ และ ภายใต้ระบบ FMS อย่างเป็นทางการก็ตาม

แอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส กล่าวในเว็บไซต์ว่า ราชนาวีไทยจะนำ H145M ทั้งหมด ไปใช้ในภารกิจการขนส่งกับภารกิจอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมเผยแพร่ภาพ ฮ.ลายพรางแนววูดแลนด์คาโม (Woodland Camouflage) ทั้งสองลำ จอดที่ลานบินของแอร์บัสฯ ภายหลังการบินทดสอบเมื่อไม่นานมานี้

ภาพ ฮ.ลายพรางทั้งสองลำ ดูคล้ายกับอีกลำหนึ่งในลิฟเวอรีเดียวกัน ที่มีภาพรั่วออกมาเมื่อต้นปี และ เว็บไซต์ข่าวกลาโหมของตะวันตกบางแห่ง นำเสนอโดยเข้าใจว่าเป็น ฮ.สำหรับกองทัพบกไทย

แอร์บัสฯ กล่าวว่า นี่คือเวอร์ชั่นกลาโหม ของ ฮ.ขนส่งขนาดเบาที่ดีที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนรู้จักกันในชื่อ EC645 ของยูโรคอปเตอร์ ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของค่ายแอร์บัส

แอร์บัสฯ กล่าวอีกว่า ราชนาวีไทยได้เป็นลูกค้ารายแรก สำหรับ H145M ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นส่งออก ที่แตกต่างไปจาก EC145T2 ที่ผลิตออกมาใช้สำหรับฝ่ายพลเรือน และ ยังเป็นรุ่นทันสมัยที่สุด ใหม่ล่าสุด ของ ฮ.ขนาดเบาสองเครื่องยนต์ในครอบครัว EC145

H145M ได้รับการอัปเกรดระบบส่งกำลัง (เกียร์) ใหม่ ใช้โรเตอร์หางแบบหุ้ม เฟเนสตรอน (Fenestron) ที่เพิ่มความปลอดภัยในการลงจอดและขณะบิน ลดความดังของเสียงและการสั่นสะเทือน ควมคุมการต้านแรงบิดของเครื่องยนต์ได้ดีขึ้นมากลดการใช้พลังงานขณะบินตรงไปข้างหน้า และควบคุมง่ายขึ้นทั้งในขณะยกตัว และขณะบินความเร็วสูง อันเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส

ห้องนักบินของ H145M ยังเป็นดิจิตอลทั้งหมด สามารถเข้ากับระบบกล้องไนท์วิชั่น (Night Vision Goggle) สำหรับนักบินที่ออกปฏิบับัติการในเวลากลางคืนได้ นอกจากนั้น ยังติดตั้งเฮลิโอนิกส์สูท (Helionix Suit) ซึ่งก็คือ ระบบเอวิโอนิกส์เฉพาะของแอร์บัสฯ พร้อมระบบบินอัตโนมัติแบบ 4 แกน ( Four-Axis Digital Autopilot) ของแอร์บัสฯ เช่นกัน

เมื่อเป็น ฮ.เวอร์ชั่นทางการทหาร H145M จึงมีแท่นสำหรับติดตั้งอาวุธ ติดมาด้วยจำนวน 2 แท่น สามารถถอดได้ พร้อมระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ระบบหาพิกัด/ชี้เป้าด้วยเลเซอร์ และระบบดิสเพลย์อินฟราเรด/อีเล็กโตรอ็อปติกส์ และ ระบบแจ้งเตือนสำหรับนักบิน ให้มาครบ


ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นระบบและอุปกรณ์ ที่ทำให้ H145M สามารถปฏิบัติการในทะเลได้ ในทุกสภาพอากาศ แม้อยู่ภายใต้ทัศนะวิสัยที่เลวร้าย

ปลายปี 2556 แอร์บัสฯ เคยนำ EC145T2 จำนวน 1 ลำ พร้อมกับรุ่นอื่นอีก 1 ลำ มาแสดงและบินสาธิตที่สนามบินทหารดอนเมือง ระหว่างการออกทำโรดโชว์ทางการตลาดในหลายประเทศย่านนี้ โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การให้บริการฉุกเฉินทางการแพทย์ การค้นหาและช่วยชีวิต ภารกิจอื่นๆ ตามความต้องการของรัฐบาลและเอกชน

แต่นี่เป็นครั้งแรกที่วงการ ได้เห็นตัวตนเวอร์ชั่นทหาร ของ ฮ.ขนาดเบาอเนกประสงค์สองเครื่องยนต์รุ่นนี้

อย่างไรก็ตาม กองทัพไทยคุ้นเคยกับ ฮ.รุ่นนี้เป็นอย่างดี นับตั้งแต่กองทัพบกได้ดำเนินการจัดหา ฮ. แบบ UH-72A "ลาโคตา" (Lakota) จำนวน 6 ลำในปลายปี 2556 ซึ่งเป็น ฮ.อเนกประสงค์ EC145 อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง ของแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส ที่ผลิตจากโรงงานในรัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐ

แอร์บัสฯ รายงานในเว็บไซต์ก่อนหน้านี้ว่า "ลาโคตา" ทั้ง 6 ลำ จัดแต่ง ทำคอนฟิกูเรชั่นเป็นแบบ ฮ.วีไอพีทั้งหมด กองทัพบกไทยจัดซื้อภายใต้โครงการ FMS (Foreign Military Sales) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงกลาโหมสหรัฐ กับชาติพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดทั่วโลก.



ที่มา Data & Images -