ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ปตท. เล็งนำเข้าปิโตรเลียมจากออสเตรเลีย

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 12, 13, 17:38:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ความพยายามในการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ ๆ ของเครือ ปตท.ไม่เคยหยุดนิ่งกับที่ ตามความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการไปลงทุนหาแหล่งพลังงานในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย


ในปี 2551 บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เข้าซื้อบริษัท Coogee Resources Limited หรือ CRL ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในรัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย

โดยบริษัท CRL ดำเนินธุรกิจพัฒนาและร่วมลงทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียหลายแหล่ง ได้แก่ แหล่งจาบิรู (Jabiru) แหล่งชาลลิส (Challis) ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 71 และแหล่งมอนทารา

(Montara) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 โดยทั้ง 3 แหล่งมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมพิสูจน์แล้วประมาณ 32 ล้านบาร์เรล โดย ปตท.สผ.ได้เริ่มผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งมอนทารา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แหล่งก๊าซและน้ำมันจากประเทศออสเตรเลียถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย เพราะเส้นทางขนส่งปิโตรเลียมจากต่างประเทศเข้าสู่ปไทยในปัจจุบัน ทั้งจากแหล่งปิโตรเลียมในตะวันออกกลางที่จะต้องขนส่งจากอ่าวเปอร์เซีย โดยผ่านช่องแคบเฮอร์มุซและช่องแคบมะละกา ก่อนเข้าสู่อ่าวไทย และแหล่งปิโตรเลียมในรัสเซียที่ต้องขนส่งผ่านทะเลจีนใต้ก่อนเข้าอ่าวไทย มีแนวโน้มจะมีความขัดแย้งทางการเมืองสูง ถ้าไทยสามารถนำเข้าปิโตรเลียมจากประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องผ่านเส้นทางดังกล่าวได้ จะถือว่าช่วยเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ

ขณะเดียวกัน ปตท.เห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายเป็นพืชพลังงาน ประกอบกับประสบการณ์การทำธุรกิจในออสเตรเลียเป็นเวลาหลายปี ทำให้ ปตท.เห็นโอกาสในการร่วมพัฒนาสาหร่ายน้ำเค็มในออสเตรเลีย เพราะออสเตรเลียมีฝนตกน้อยและมีแสงแดดจัด จึงเหมาะกับการทดลองเลี้ยงสาหร่ายแบบเปิด รัฐบาลออสเตรเลียเห็นความสำคัญจึงสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาจนมีความก้าวหน้าในด้านนี้มาก

โดยในการประชุม Asia-Ocean Algae Innovation Summit 2010 ที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 2553 ปตท.ได้เริ่มติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัยด้านสาหร่ายกับ CSIRO ต่อมาในปี 2555 สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้นำทีมวิจัยและผู้แทนจากบริษัท พีทีที ปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน)ได้เแสวงหาความร่วมมือในหลาย ด้าน CSIRO โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายขนาดเล็กและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ CSIRO มีความเชี่ยวชาญในระดับโลก และช่วงปลายปี 2555 ปตท.ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมวิจัยและพัฒนาคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายน้ำเค็มสำหรับเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพในที่สุด

ที่มา -