ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ท่องเที่ยวผนึกการท่าเรือดัน ‘แหลมฉบัง - คลองเตย’ เป็นศูนย์กลางเรือสำราญ

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 11, 17, 06:30:12 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การท่องเที่ยวเรือสำราญ  เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวใหม่ในตลาดอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตสูง คุ้มค่าต่อการลงทุน สร้างรายได้ท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ


ผลวิจัย "พัฒนาการท่องเที่ยวทางเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ของ เบอร์เนลโล อาจามเล แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ระบุว่า ในปี 2557 การท่องเที่ยวประเภทนี้สร้างงานให้กับประชากรกว่า 3.4 หมื่นตำแหน่ง สร้างรายได้โดยตรงกว่า 5.7 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดต่อเนื่องถึง 1.15 แสนล้านบาท แม้จะมีเพียงสิงคโปร์ประเทศเดียวที่เป็นผู้นำในตลาดนี้ แต่ในปี 2578 เมื่อทุกประเทศในอาเซียน ดำเนินการตามแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดเรือสำราญเต็มที่ คาดว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาอีกกว่า 4.5 ล้านคน

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า หลังจากสมาชิกอาเซียนวางวิสัยทัศน์ผลักดันการท่องเที่ยวทางเรือสำราญร่วมกัน ไทยก็มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำคัญ "ท่าเรือ" โดยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำ (Maritime Tourism) ซึ่งจะบูรณาการกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และคณะทำงานสานพลังประชารัฐ เพื่อส่งเสริมการเดินเรือ 2 ฝั่ง "อ่าวไทย-อันดามัน" ใน 2 รูปแบบ คือ เป็นทั้งโฮมพอร์ต หรือ ท่าจอดประจำของเรือสำราญ และ พอร์ท ออฟ คอล หรือ ท่าเรือแวะพัก เพื่อดึงดูดเรือสำราญที่ล่องมาในน่านน้ำในภูมิภาค ต้องเลือกไทยเป็นจุดหมายทอดสมอ

ปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทางเรือกว่า 25.3 ล้านคนทั่วโลก คาดการณ์ว่าจะกระจายตัวมายังภูมิภาคมากขึ้น โดยมีเส้นทางเดินเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่จับตามองอีกแห่งของโลก

ตั้งแต่ปีนี้ กระทรวงฯ จะจับมือกับ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)  ไปโรดโชว์ส่งเสริมการขายในมหกรรมเรือสำราญรายการใหญ่ อาทิ Seatrade Cruise Global ที่สหรัฐ  หลังจาก กทท.วางแผนปรับโฉมครั้งใหญ่ให้ 2 ท่าเรือสำคัญ ได้แก่ ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว ท่าเรือกรุงเทพ (ท่าเรือคลองเตย) ซึ่งมีทำเลโดดเด่นเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้สะดวก และ ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว ท่าเรือแหลมฉบัง ที่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ และเป็นโฮมพอร์ตสำหรับเรือสำราญที่จะขยายมาในน่านน้ำของภูมิภาคนี้มากขึ้น

กอบกาญจน์ กล่าวว่า ท่าเรือที่คลองเตย ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีท่ารองรับนักท่องเที่ยวได้ 1 ท่า รองรับเรือขนาดความยาวไม่เกิน 181 เมตร กว้าง 25.46 เมตร ลึกไม่เกิน 8 เมตร จึงเหมาะสำหรับรองรับเรือขนาดกลางถึงเล็ก (ยอช์ทคลับ) แต่มีแผนขยายรองรับการจอดเรือได้ 2 ลำพร้อมกัน และสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่ 2 ชั้น เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการตรวจสอบสัมภาระและผ่านกระบวนการด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร เป็นที่ตั้งหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร ศูนย์สินค้าปลอดภาษีอากร ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป และกิจกรรมเพื่อนักท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ ร้านรวดแผนโบราณ

นอกจากนั้น มีแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบดูแลความปลอดภัย ให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตไวไฟตลอดเวลาเทียบเรือ จัดห้องบริการพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ และสอดแทรกแนวคิดอารยสถาปัตย์ เอื้อให้คนพิการหรือผู้สูงอายุ เข้าถึงการใช้งานทุกองค์ประกอบได้ เช่น ทางลาดรถเข็น ห้องน้ำที่ออกแบบเฉพาะ ซึ่งการปรับปรุงทั้งหมดนี้ เชื่อว่าจะช่วยตอกย้ำความพร้อมของการเป็นท่าเรือหลักอีกแห่งของประเทศได้ในอนาคต จากปีที่ผ่านมา มีปริมาณเรือท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการแล้วกว่า 12 ลำ มีผู้โดยสารขาเข้า-ขาออกรวม 8,589 คน

อีกหนึ่งโครงการที่จะเป็นแม่เหล็กให้กับการท่องเที่ยวทางเรือของไทย คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ปัจจุบันมีอัตรารับเรือโดยสารปีที่ผ่านมากว่า 55 เที่ยว ผู้โดยสารรวมกันกว่า 2.28 แสนคน ลูกเรือมากกว่า 5 หมื่นคน เฉลี่ยผู้โดยสารต่อลำที่ 2,000 คน ซึ่งหากเทียบสถิติระหว่างปี 2558 และ 2559 อัตราผู้โดยสารเติบโตกว่า 31%

ปัจจุบันมีท่าเรือ A1 เพื่อรับเรือท่องเที่ยวโดยเฉพาะ 1 ท่า และอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวแห่งที่ 2 ในการก่อสร้างเฟส 3 แต่ระหว่างรอข้อสรุปดังกล่าว จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาคารผู้โดยสารประจำท่าเรือเดิม ที่มีพื้นที่ 8,655 ตร.ม.ให้ทันสมัยคู่ขนานกัน  โดยอาคารดังกล่าวเพียงแห่งเดียวสามารถรองรับผู้โดยสารสูงสุดกว่า 1,500 คน


ทั้งนี้ ข้อมูลของท่าเรือแหลมฉบัง ระบุด้วยว่า ท่าเรือแหลมฉบังมีความสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่อย่าง ควีน แมรี่ 2 เนื่องจากมีความยาวหน้าท่ากว่า 365 เมตร มีร่องน้ำที่รับเรือความลึกถึง 14 เมตรได้ ขณะที่ความยาวเฉลี่ยของเรือท่องเที่ยวที่เข้ามาเทียบท่าอยู่ที่ 260 เมตร

ปัจจุบันให้บริการรองรับเรือสำราญใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การล่องเรือรอบโลก (World Cruise) ซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ย 3 เดือน เริ่มจากท่าเรือใดท่าเรือหนึ่งแล้วไปจบที่เดิม ระหว่างทางมีการแวะท่าเรือใหญ่เมืองหลักรอบโลก โดยขายให้กับนักท่องเที่ยวแบบแพ็คเกจเหมาะรวมอาหารและห้องพัก และมีแพ็คเกจเสริมนำเที่ยวเมืองที่เรือไปเทียบท่า มีเรือในกลุ่มนี้ที่มาใช้บริการ อาทิ ควีน แมรี่ 2  ยูโรป้า และคริสตัล เซเรนิตี้

อีกประเภทได้แก่ การล่องเรือแบบภูมิภาค (Regional Cruise) ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ แวะพักท่าเรือ 7-8 แห่งในภูมิภาคใกล้เคียง เช่น แหลมฉบัง-เกาะสมุย-สิงคโปร์-จาการ์ตา-มะนิลา-ไฮฟอง-โฮจิมินห์-สีหนุวิลล์-แหลมฉบัง โดยมีการกำหนดท่าเรือโฮม พอร์ต ขึ้นมาแห่งหนึ่งเพื่อเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร จำหน่ายแพ็คเกจตั๋วเครื่องบิน เพื่อเดินทางมาที่ท่าเรือดังกล่าว และกลับไปยังประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว โดยจุดเด่นของเรือประเภทนี้คือ การดึงดูด "ผู้โดยสารหลากหลายกลุ่ม" เพราะระยะเวลาน้อย ราคาต่ำกว่า จึงเริ่มเป็นที่นิยมของ "คนรุ่นใหม่" ที่ต้องจับตามอง

มีการคาดการณ์ด้วยว่า ในอนาคตศูนย์กลาง (ฮับ) ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทางเรือจะย้ายฐานจากยุโรปและสหรัฐมายังเอเชีย โดยมีท่าเทียบเรือในภูมิภาคนี้ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สิงคโปร์ เกาะเจจู (เกาหลีใต้) ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ ปีนัง ภูเก็ต กัวลาลัมเปอร์ คีลัง (ไต้หวัน) และ โฮจิมินห์

ดังนั้น ไทยต้องเร่งพัฒนาทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รองรับโอกาสธุรกิจในระยะยาว



ที่มา Data & Images -





..