ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ประตูการค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 20, 17, 06:35:37 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปัจจุบันกรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดเป็นท่าเรือน้ำลึกในภาคใต้บริเวณปากบารา จังหวัดสตูล จัดเป็นประตูการค้าทางทะเล ฝั่งอันดามันเชื่อมโยงศูนย์กลางการขนส่ง การขนถ่ายสินค้าทางทะเลไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและทวีปยุโรป


นอกจากนั้นยังเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทย และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ด้วยการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้สามารถรองรับเรือขนาดประมาณ 5 หมื่น-7 หมื่นเดทเวทตันได้ รวมทั้งพัฒนาระบบคมนาคมครบวงจรเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตามผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ปากบารามีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่มีระดับน้ำลึกเพียงพอสำหรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ และอยู่ใกล้เส้นทางเดินเรือหลักที่ผ่านมาจากช่องแคบมะละกา

ประการสำคัญเรือสินค้าสามารถแวะเข้ามารับสินค้าได้โดยใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมงจากเส้นทางเดินเรือหลักของโลก สามารถขนส่งสินค้าไปยังยุโรปและตะวันออกกลางได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายเรือ ทำให้ประหยัดเวลาและลดต้นทุนการขนส่งประเด็นหลักยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) คือการพัฒนาเส้นทางยุทธศาสตร์ New Trade Lanes สู่ตะวันออกกลางและยุโรป ผ่านทางฝั่งทะเลอันดามันเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าของประเทศเพื่อนบ้าน โดยการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพฝั่งตะวันตกด้วยการพัฒนาเส้นทางขนส่งทางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือกับเส้นทางการขนส่งหลักของประเทศและภูมิภาคด้วย

โดยการพัฒนาระยะที่ 1 เป้าหมายรองรับตู้สินค้าได้ 8.25แสน TEU/ปีโดยเป็นท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์ ตัวท่าเรือกว้าง 430 เมตร ยาว 1,086 เมตร เนื้อที่ประมาณ 292 ไร่อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 4 กิโลเมตร ส่วนระยะที่ 2 รองรับสินค้าได้ 1.37 ล้าน TEU/ปี ระยะที่ 3 รองรับได้ 2.4 ล้าน TEU/ปี และระยะที่ 4 รองรับได้ 8.7 ล้าน TEU/ปี โดยคาดการณ์รายได้ตลอดอายุการใช้งานระยะ 30 ปี 1.34 แสนล้านบาท


ดังนั้นการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราจึงจะช่วยให้เกิดความเจริญทั้งในส่วนชุมชนชนบทและชุมชนเมือง เกิดศูนย์กลางอุตสาหกรรมและศูนย์กลางทางการค้า และการเงินในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างอันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืนได้ตามแผนหรือไม่ วันนี้ ท่าเรือปากบารายังไม่อาจเดินหน้า ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากชาวสตูลที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนภาคใต้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยจะใช้ท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นก้าวแรก และข้ออ้างกึ่งสำเร็จรูปในการเดินหน้าพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้คุ้มค่าการลงทุนกับเม็ดไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท ประชาชนเป็นห่วงว่ารัฐลงทุนไปแล้วจะโดนปล่อยให้ทิ้งร้างไม่มีเรือมาใช้งานดังเช่นท่าเรืออื่นๆหรือไม่???

ปัจจุบันกรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนผลการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และเร่งดำเนินการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ก่อนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาต่อไป คาดว่าปลายปีนี้คงจะได้คำตอบชัดเจนซะที

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,253 วันที่ 16 - 19 เมษายน พ.ศ. 2560



ที่มา Data & Images -





..