Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

Nathalin Group FB MarinerThai News

พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล

 

พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล

พ.ศ. 2537

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - -

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2537

เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจำนองเรือและบุริมสิทธิ ทางทะเล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการจำนองเรือ และบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537"

 

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2537/4ก/1/4 กุมภาพันธ์ 2537]

 

มาตรา 3 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว มิให้นำมาตรา 36 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 มาใช้บังคับแก่ เรือที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

"เรือ" หมายความว่า เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปที่เดินด้วย เครื่องจักรกลไม่ว่าจะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเรือที่มีลักษณะ สำหรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย

"นายเรือ" หมายความว่า ผู้ควบคุมเรือ

"คนประจำเรือ" หมายความว่า คนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ

"ลูกเรือ" หมายความว่า คนประจำเรือนอกจากนายเรือ

"น้ำมัน" หมายความว่า น้ำมันดิบ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลหนัก หรือ น้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นน้ำมันแร่จำพวกไฮโดรคาร์บอนที่ไม่สลายตัวโดยง่าย และให้หมายความรวมถึงน้ำมันอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง

"นายทะเบียนเรือ" หมายความว่า นายทะเบียนเรือหรือผู้รักษาการ แทนนายทะเบียนเรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกิน อัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือกำหนดการอื่นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้

 

มาตรา 6 ห้ามมิให้จำนำเรือที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ การกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ย่อมเป็นโมฆะ

 

มาตรา 7 การจำนองเรือให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ใช้บังคับแก่การจำนอง เรือตามพระราชบัญญัตินี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา 8 สัญญาจำนองเรือให้ระบุมูลหนี้และจำนวนหนี้ที่จำนอง เรือนั้นไว้เป็นประกัน จำนวนหนี้ตามวรรคหนึ่ง จะระบุจำนวนเงินแน่นอนตรงตัวหรือจำนวน เงินขั้นสูงสุดที่ได้เอาเรือนั้นตราไว้เป็นประกันก็ได้ และจะเป็นเงินไทยหรือ เงินต่างประเทศก็ได้

 

มาตรา 9 จำนองเรือให้ครอบไปถึงเครื่องอุปกรณ์ประจำเรือ และ สิ่งของอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีไว้ประจำเรือ ไม่ว่าสิ่งดังกล่าวจะได้ มีอยู่แล้วในเวลาที่จดทะเบียนจำนองหรือมีขึ้นในภายหลังก็ตาม ทั้งนี้ เว้นแต่ ผู้จำนองกับผู้รับจำนองจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นโดยระบุข้อตกลงนั้นไว้ในสัญญา จำนอง

 

มาตรา 10 ถ้าเรือที่จำนองสูญหายหรือเสียหาย ให้จำนองครอบไป ถึงสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้

(1) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการกระทำละเมิดที่เป็นเหตุให้เรือนั้นหรือ สิ่งของที่สิทธิจำนองเรือครอบไปถึง สูญหายหรือเสียหาย

(2) ค่าเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปที่เจ้าของเรือมีสิทธิได้รับเพื่อการ สูญหายหรือเสียหายของเรือนั้นหรือสิ่งของที่สิทธิจำนองเรือครอบไปถึง ตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น

(3) ค่าสินไหมทดแทนที่เจ้าของเรือมีสิทธิได้รับเพื่อการสูญหายหรือ เสียหายของเรือนั้นหรือสิ่งของที่สิทธิจำนองเรือครอบไปถึงอันเนื่องมาจากการ ใช้เรือนั้นทำการช่วยเหลือกู้ภัย

(4) ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเพื่อการสูญหายหรือเสียหาย ของเรือนั้นหรือสิ่งของที่สิทธิจำนองเรือครอบไปถึง เมื่อเกิดสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้จำนองแจ้งให้ผู้รับจำนอง ทราบโดยพลัน ห้ามมิให้ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งได้รู้ถึงการจำนองชำระหนี้แก่ เจ้าของเรือนั้น เว้นแต่จะได้บอกกล่าวการชำระหนี้เป็นหนังสือไปยังผู้รับจำนอง และผู้รับจำนองไม่คัดค้านการชำระหนี้เป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ หนังสือบอกกล่าว มิฉะนั้นลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบต่อผู้รับจำนอง

 

มาตรา 11 สัญญาจำนองเรือไทยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา 12 การจดทะเบียนจำนองเรือไทยให้จดทะเบียนที่ที่ทำการ นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นโดยให้นายทะเบียนเรือ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียน และให้จดไว้ในสมุดทะเบียนและหมายเหตุ ไว้ในใบทะเบียน ในกรณีที่เจ้าของเรือไทยประสงค์จะจดทะเบียนจำนองเรือของตนที่ ที่ทำการนายทะเบียนเรืออื่น นอกจากที่ทำการนายทะเบียนเรือตามวรรคหนึ่ง หรือที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยให้นายทะเบียนเรืออื่นนั้นหรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย แล้วแต่กรณีเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนโดยหมายเหตุไว้ในใบทะเบียนแล้วส่งสำเนา ให้นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นโดยด่วน เมื่อได้รับ สำเนาเช่นนั้นแล้วให้นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือ จดข้อความนั้นไว้ในสมุดทะเบียน ให้นายทะเบียนเรือ และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียน จำนองเรือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

มาตรา 13 ในกรณีที่ประสงค์จะจดทะเบียนจำนองเรือไทยในขณะที่ เรือลำนั้นไม่อยู่ในประเทศไทยหรือไม่อยู่ในประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาน เอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยที่จะทำการจดทะเบียน เจ้าของเรืออาจขอให้ นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นออกใบแทนใบทะเบียน เรือไทยสำหรับนำไปกับเรือระหว่างเวลาที่นำใบทะเบียนเรือไทยมาจดทะเบียน ตามมาตรา 12 การออกใบแทนใบทะเบียนเรือไทยตามวรรคหนึ่ง ให้หมายเหตุไว้ใน ใบแทนดังกล่าวด้วยว่าใช้แทนใบทะเบียนเรือไทยในระหว่างการดำเนินการเพื่อ จดทะเบียนจำนองเรือดังกล่าวเท่านั้น แต่ให้มีอายุใช้ได้ไม่เกินหกสิบวัน ใบแทนใบทะเบียนเรือไทยตามมาตรานี้ให้มีผลเสมือนเป็นใบทะเบียน เรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย

 

มาตรา 14 บุคคลใดเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงแล้ว จะขอตรวจดูทะเบียนจำนองเรือเดินทะเลและเอกสารเกี่ยวกับ การจำนองที่นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้คัดสำเนาทะเบียนจำนองเรือเดินทะเลหรือเอกสารดังกล่าว พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องก็ได้

 

มาตรา 15 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 24 ผู้รับจำนองทรงไว้ซึ่งสิทธิ ที่จะได้รับชำระหนี้จากเรือที่จำนองก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และเจ้าหนี้อื่น ๆ ของเจ้าของเรือนั้น

 

มาตรา 16 ผู้รับจำนองอาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับจำนองได้ใน กรณีดังต่อไปนี้

(1) ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และผู้รับจำนองได้ส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังลูกหนี้ให้จัดการชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น แล้ว แต่ลูกหนี้มิได้จัดการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดนั้น

(2) เมื่อเรือที่จำนองหรือสิ่งของที่สิทธิจำนองเรือครอบไปถึงสิ่งหนึ่ง สิ่งใดสูญหายหรือเสียหาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอที่จะเป็นประกันการชำระหนี้ เว้นแต่เมื่อเหตุนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง และผู้จำนองได้เสนอจะ จำนองเรือลำอื่นหรือทรัพย์สินอื่นแทนหรือเพิ่มเติมให้มีราคาเพียงพอ หรือเสนอจะ รับซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายนั้น หรือจัดหามาแทนซึ่งสิ่งที่สูญหายไปนั้นภายใน เวลาอันสมควร

(3) ผู้จำนองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในสัญญา จำนอง ซึ่งตามสัญญาจำนองผู้รับจำนองอาจบังคับจำนองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า

 

มาตรา 17 ในการฟ้องคดีบังคับจำนอง ผู้รับจำนองอาจขอให้ศาล มีคำสั่งให้

(1) ผู้จำนองนำเรือออกขายตามเงื่อนไขและภายในเวลาที่ศาล กำหนด

(2) ผู้รับจำนองนำเรือออกขายตามเงื่อนไขและภายในเวลาที่ศาล กำหนด หรือ

(3) ยึดเรือที่จำนองออกขายทอดตลาด ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้ดำเนินการตาม (1) หรือ (2) ต่อเมื่อ ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลว่าการดำเนินการโดยวิธีดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียมากกว่าการดำเนินการโดยวิธีตาม (3)

 

มาตรา 18 นอกจากการบังคับจำนองตามมาตรา 17 แล้ว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีเรียกเอาเรือจำนองหลุดก็ได้ ภายในบังคับแห่งเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี

(2) ผู้จำนองไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาเรือนั้นมากกว่า จำนวนเงินที่ค้างชำระแก่ผู้รับจำนอง

(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น และ

(4) ไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งมีบุริมสิทธิทางทะเลร้องขอรับชำระหนี้ตาม บุริมสิทธิทางทะเล

 

มาตรา 19 ถ้าเอาเรือที่จำนองออกขายหรือขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่ผู้รับจำนอง หรือถ้าเอา เรือจำนองหลุดและเรือนั้นมีราคาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่ผู้รับจำนอง เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดให้ถือเป็นหนี้สามัญซึ่งผู้รับจำนองอาจเรียกร้องจาก ลูกหนี้ได้ แต่ถ้าผู้จำนองไม่ได้เป็นลูกหนี้จะเรียกร้องจากผู้จำนองไม่ได้

 

มาตรา 20 คำฟ้องเกี่ยวกับการจำนองเรือตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เสนอต่อศาลดังต่อไปนี้คือ

(1) ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการกักเรือไว้แล้วตามกฎหมาย ว่าด้วยการกักเรือให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย ว่าด้วยการกักเรือ

(2) ในกรณีที่ไม่ได้มีการกักเรือตาม (1) ให้เสนอต่อศาลแพ่ง

 

มาตรา 21 สัญญาซึ่งเจ้าของเรือที่มิใช่เรือไทยเอาเรือของตน ตราไว้แก่บุคคลอื่นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ให้ถือว่าเป็นการจำนองที่ อาจบังคับได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) สัญญานั้นได้ทำขึ้นโดยมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแห่งประเทศ ที่เรือนั้นได้จดทะเบียนไว้

(2) ได้มีการจดทะเบียนสัญญาดังกล่าวไว้ในทะเบียนซึ่งอนุญาต ให้บุคคลทั่วไปตรวจดูได้ ณ ที่ทำการของรัฐที่มีหน้าที่รับจดทะเบียนสัญญา เช่นว่านั้น และ

(3) เป็นกรณีที่โจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายว่าด้วยการกักเรือ หรือกฎหมายอื่น

 

มาตรา 22 ผู้ใดมีสิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับเรือลำหนึ่งลำใด และมูลแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ผู้นั้น ย่อมมีบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือลำนั้น

(1) สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการทำงานในฐานะนายเรือ ลูกเรือ หรือคนประจำเรือของเรือลำนั้น

(2) สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บของบุคคลใด ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือลำนั้น

(3) สิทธิเรียกร้องเอาค่าตอบแทนในการช่วยเหลือกู้ภัยเรือลำนั้น

(4) สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือ ลำนั้น แต่ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า และสิ่งของของผู้โดยสารที่อยู่ในเรือลำนั้น สิทธิเรียกร้องตาม (2) หรือ (4) ที่เกิดจากมลพิษน้ำมัน วัตถุกัมมันตรังสี กัมมันตภาพรังสีและวัตถุนิวเคลียร์ ไม่ก่อให้เกิดบุริมสิทธิ ทางทะเลเหนือเรือลำนั้น

 

มาตรา 23 ให้เจ้าหนี้บุริมสิทธิทางทะเลมีสิทธิได้รับชำระหนี้อัน ค้างชำระแก่ตนจากเรือที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งบุริมสิทธิทางทะเล ก่อนเจ้าหนี้ อื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องจะเป็นเจ้าของเรือหรือไม่ก็ตาม

 

มาตรา 24 บุริมสิทธิทางทะเลตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีผลใช้ได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียน และให้ได้ผลก่อนสิทธิจำนองตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีบุริมสิทธิทางทะเลหลายรายแย้งกัน ให้บุริมสิทธิทางทะเล เหล่านั้น ได้ผลก่อนหลังตามที่เรียงลำดับไว้ในมาตรา 22 เว้นแต่บุริมสิทธิทาง ทะเลในมูลค่าตอบแทน การช่วยเหลือกู้ภัยให้ได้ผลก่อนบุริมสิทธิทางทะเลอื่น ๆ เหนือเรือที่มีอยู่แล้วก่อนเริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยนั้น ในกรณีที่บุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิทางทะเลในลำดับเดียวกัน ให้บุคคลเหล่านั้นได้รับชำระหนี้ตามอัตราส่วนแห่งจำนวนเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้ ในกรณีที่บุริมสิทธิทางทะเลในมูลค่าตอบแทนการช่วยเหลือกู้ภัย เกิดขึ้นหลายครั้ง ให้บุริมสิทธิทางทะเลที่เกิดขึ้นครั้งหลังสุดได้ผลก่อนตาม ลำดับ ทั้งนี้ ให้ถือว่าบุริมสิทธิทางทะเลในมูลค่าตอบแทนการช่วยเหลือกู้ภัย ได้เกิดขึ้นในวันที่ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยได้เสร็จสิ้นลง

 

มาตรา 25 ในการบังคับตามบุริมสิทธิทางทะเล ให้นำเงินที่ได้ จากการขายเรือชำระค่าฤชาธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการกักหรือยึดและขายเรือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือนับแต่เวลาที่ได้กักหรือยึดเรือนั้น ค่าใช้จ่ายในการ ส่งตัวคนประจำเรือกลับถิ่นฐาน และค่าใช้จ่ายในการจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าว ตามลำดับเสียก่อนแล้วจึงจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่เจ้าหนี้บุริมสิทธิทางทะเล

 

มาตรา 26 ในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมูลแห่งสิทธิ เรียกร้องนั้น มีลักษณะตามมาตรา 22 ให้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว มีบุริมสิทธิทางทะเลเช่นเดียวกับผู้โอน

 

มาตรา 27 ในกรณีที่มีบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือลำใดเกิดขึ้นแล้ว การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือลำนั้นให้แก่บุคคลใด ๆ ต่อไปไม่ทำให้บุริมสิทธิ ทางทะเลที่เกิดขึ้นแล้วนั้นระงับสิ้นไปเว้นแต่กรณีที่ผู้รับโอนได้ดำเนินการแจ้งให้ เจ้าหนี้บุริมสิทธิทางทะเลยื่นข้อเรียกร้องของตนไปยังผู้รับโอนภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่แจ้ง แต่เจ้าหนี้บุริมสิทธิทางทะเลไม่ได้ยื่น ข้อเรียกร้องของตนไปยังผู้รับโอนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้บุริมสิทธิทาง ทะเลเป็นอันระงับสิ้นไป

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำโดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ รายวันและปิดประกาศไว้ดังนี้

(1) กรณีที่รับโอนกรรมสิทธิ์เรือไทย ให้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ รายวันภาษาไทยที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นที่เมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นตั้งอยู่อย่างน้อย หนึ่งฉบับกับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาเจ็ดวันติดต่อกัน และให้ปิดประกาศไว้ที่ที่ทำการนายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น กับที่กองทะเบียนเรือ กรมเจ้าท่า

(2) กรณีที่รับโอนกรรมสิทธิ์เรือต่างประเทศมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย ให้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยอย่างน้อยหนึ่งฉบับกับหนังสือพิมพ์ รายวันภาษาอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาเจ็ดวันติดต่อกัน และให้ปิดประกาศไว้ ที่ที่ทำการนายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนที่จะจดทะเบียน หรือได้จด ทะเบียนเรือนั้นเป็นเรือไทย กับที่กองทะเบียนเรือ กรมเจ้าท่า

 

มาตรา 28 นอกจากกรณีตามมาตรา 27 บุริมสิทธิทางทะเลระงับ สิ้นไปเมื่อ

(1) พ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่บุริมสิทธิทางทะเลนั้นได้เกิดขึ้น

(2) ได้ขายเรือไปตามคำสั่งศาล ในกรณีเช่นนี้ให้เงินที่ได้จากการ ขายเรือนั้นตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งบุริมสิทธิทางทะเลแทน

(3) ผู้รับจำนองเอาเรือจำนองหลุด

(4) มีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลถึงที่สุดให้ริบเรือนั้น

 

มาตรา 29 บทบัญญัติมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการจำนำ เรือไทยที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา 30 การจำนองเรือไทยที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการ จำนองตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี

 

อัตราค่าธรรมเนียม

 

1. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนอง

(1) เรือขนาดไม่เกิน 100 ตันกรอส ครั้งละ 500 บาท

(2) เรือขนาดเกิน 100 ตันกรอส แต่ไม่เกิน 200 ตันกรอส ครั้งละ 1,000 บาท

(3) เรือขนาดเกิน 200 ตันกรอสขึ้นไป ตันกรอสละ 10 บาท แต่ครั้งหนึ่งไม่เกิน ลำละ 20,000 บาท 2.

 

2. ค่าธรรมเนียมการหมายเหตุแก้ข้อความในสัญญาจำนอง

(1) ไม่เพิ่มทุนทรัพย์ ครั้งละ 20 บาท

(2) เพิ่มทุนทรัพย์ หนึ่งหมื่นบาทแรกหรือต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท 50 บาท หนึ่งหมื่นบาทหลัง หมื่นละ 20 บาท เศษของหนึ่งหมื่นบาทให้นับเป็นหนึ่งหมื่นบาท แต่ฉบับหนึ่งไม่เกิน 500 บาท

 

3. ค่าธรรมเนียมการคัดสำเนาหลักฐาน

(1) หนึ่งร้อยคำแรกหรือต่ำกว่าหนึ่งร้อยคำ 10 บาท

(2) หนึ่งร้อยคำหลัง ร้อยละ 1 บาท เศษของหนึ่งร้อยคำให้นับเป็นหนึ่งร้อยคำ

 

4. ค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบทะเบียนเรือไทย ฉบับละ 100 บาท

 

5.ค่าธรรมเนียมอื่น ครั้งละหรือฉบับละ 50 บาท

 

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการ จำนองเรือเดินทะเลและบุริมสิทธิเหนือเรือเดินทะเลได้นำบทบัญญัติว่าด้วยจำนอง และบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ แต่โดยที่กิจการเรือ เดินทะเลมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ไปมาในน่านน้ำของประเทศ ต่าง ๆ เกือบตลอดเวลา การนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ บังคับจึงไม่เหมาะสม จำเป็นต้องแยกการจำนองเรือเดินทะเลและบุริมสิทธิพิเศษ เหนือเรือเดินทะเลออกจากกฎหมายว่าด้วยเรือไทยซึ่งยังคงบังคับตามบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยสมควรให้มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับกับการ จำนองเรือเดินทะเลโดยตรง และกำหนดบุริมสิทธิทางทะเลขึ้นไว้โดยเฉพาะสำหรับ เรือเดินทะเลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพาณิชย์นาวีของไทย และคุ้มครองบุคคล ซึ่งมีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเลได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้

 

มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4860

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

MarinerThai Laws MarinerThai 2004 Co., Ltd.

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network