พระราชบัญญัติตราไว้ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พระพุทธศักราช 2456 เป็นวันที่ 979 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477*(1)
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
- -- - - - - -
นริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2476)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า
"พระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477"
มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน
พุทธศักราช 2477 เป็นต้นไป *[รก.2477/-/807/28 ตุลาคม 2477]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 214 แห่งพระราชบัญญัติการ
เดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456 และอัตราค่าธรรมเนียมตามแบบ 3 แห่ง
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราค่าธรรมเนียมประภาคารและโคมไฟ ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2474 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68, 102, 135, 136, 137, 212, 213, 215, 277, 278,
279, 280, 282, 284, 290 และ 291 แห่ง พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม
พ.ศ.2456 และใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา 68 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 102 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 135 [มาตรานี้
ต่อมาได้ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481 (รก.2481/-/572)]
มาตรา 136 [มาตรานี้
ต่อมาได้ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2481 (รก.2481/-/572)]
มาตรา 137 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 212 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 213 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 215 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 277
[มาตรานี้แก้ไขครั้งหลังสุดโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525
(รก.2525/88/1พ.) ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 278 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 279
[มาตรานี้แก้ไขครั้งหลังสุดโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525
(รก.2525/88/1พ.) ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 280 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 282
[มาตรานี้แก้ไขครั้งหลังสุดโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535
(รก.2535/44/16) ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 284
[มาตรานี้แก้ไขครั้งหลังสุดโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525
(รก.2525/88/1พ.) ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 290
[มาตรานี้แก้ไขครั้งหลังสุดโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535
(รก.2535/44/16) ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 291 [ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456(ฉบับแรก)]
มาตรา 4
เรือเดินสมุทรบรรทุกนักท่องเที่ยวรอบโลกชั่วครั้งคราว ให้เก็บค่าธรรมเนียมประภาคาร
ทุ่นหมายร่องน้ำและโคมไฟ กึ่งอัตราปกติ
มาตรา 5* ในการพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับเรือกลไฟและ
เรือยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสินค้า หรือจูงเรือนั้น ถ้าเป็นเรือเดิน ประจำทาง
เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อการจดทะเบียนมีอำนาจ ที่จะ
(1)
กำหนดข้อห้ามและเงื่อนไขเกี่ยวกับเขตหรือทางที่จะใช้เรือ นั้นเดิน
(2) กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวน ขนาด
และชนิดและกำลัง เครื่องจักรของเรือที่จะใช้เดินจากตำบลหนึ่งถึงตำบลหนึ่ง
ตลอดถึงการสับ เปลี่ยนเรือใช้แทนกันชั่วคราวด้วย
(3) กำหนดท่าเรือต้นทางและปลายทาง
(4) สั่งงดอนุญาตเรือลำใด ๆ หรือของเจ้าของใด
ๆ มิให้เดิน ประจำทางที่เห็นว่ามีเรืออื่นเดินอยู่เพียงพอแล้ว
หรือเมื่อเห็นว่าถ้าให้อนุญาต
จะมีการแข่งขันกันจนจะเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียความปลอดภัยของ ประชาชน
(5)
ตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมเป็นครั้งคราว
เพื่อกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าจูงเรือ ค่าบริการอื่น
จำนวนเรือที่จะใช้เดิน เวลาออกเรือ
และเวลาเรือถึงท่าเรือปลายทางคณะกรรมการนั้นให้รวมทั้งเจ้าของเรือหรือ ผู้แทนด้วย
ถ้าไม่ใช่เรือเดินประจำทาง เจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานซึ่งได้แต่งตั้งขึ้น
มีอำนาจที่จะห้ามหรือจำกัดมิให้เดินเรือรับจ้างในเขตใด ๆ ในเมื่อเห็นว่าการ
เดินเรือรับจ้างในเขตนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือเสียหาย
แก่ทรัพย์สินของประชาชน *[มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10)
พ.ศ.2510 (รก.2510/30/158)]
มาตรา 6* การรับใบอนุญาตตามมาตรา 5 ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ตามมาตรา 174 มาตรา 180 และมาตรา 188 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการ เดินเรือในน่านน้ำไทย
(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2490 แต่เรือกลไฟขนาดต่ำกว่า 3 ตันกรอสส์
และเรือที่ใช้ทำการประมงโดยเฉพาะให้เสียค่าธรรมเนียมออก ใบอนุญาตเพียงกึ่งอัตราปกติ
เรือกลของกสิกรที่ใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะในการกสิกรรมของตนเอง ซึ่งมีขนาดต่ำกว่า 3
ตันกรอสส์ ใช้เครื่องยนต์กำลังไม่เกิน 7 แรงม้า ให้ยกเว้น
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แต่ต้องรับใบอนุญาต *[มาตรา 6
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2490 (รก.2490/30/67)]
มาตรา 7* เรือกลไฟและเรือยนต์ที่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร
หรือสินค้า หรือจูงเรือลำใด ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นตามมาตรา 5 เจ้าท่า
หรือเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งงดการเดินเรือของเรือนั้น ๆ เสียชั่วคราว
หรือจะสั่งยึดใบอนุญาตสำหรับเรือนั้นไว้มีกำหนดไม่เกินหกเดือนก็ได้
เจ้าของเรือหรือเจ้าของกิจการเดินเรือที่ถูกสั่งงดการเดินเรือหรือ
ถูกยึดใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้
ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง คำชี้ขาดของรัฐมนตรีเป็นที่สุด แต่ใน
ระหว่างที่รัฐมนตรียังมิได้ชี้ขาด คำสั่งงดหรือยึดนั้นมีผลบังคับได้
*เรือใดที่ถูกสั่งงดการเดินเรือ หรือถูกยึดใบอนุญาตแล้วยังขืนเดิน
หรือเรือใดกระทำการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร หรือสินค้าหรือจูงเรือเป็นการ
ประจำทางโดยมิได้รับอนุญาต นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือ หรือเจ้าของเรือหรือ
เจ้าของกิจการเดินเรือต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท *[มาตรา
7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2510 (รก.2510/30/158)
และความในวรรคสามแก้ไขโดยพระราช บัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535 (รก.2535/44/16)]
มาตรา 8 [แก้อักษรโรมันในมาตรา 27 ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 9
[แก้อักษรโรมันในมาตรา 40 ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 10 [แก้อักษรโรมันในมาตรา 41 ดูพระราชบัญญัติฯ
พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 11 [แก้อักษรโรมัน และเพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 198
และมาตรา 198 นี้ได้ถูกยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535
ดูพระราชบัญญัติฯ พ.ศ.2456 (ฉบับแรก)]
มาตรา 12 บรรดาธงสัญญาณที่พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ
สยามยังมิได้บังคับไว้นั้น ให้บรรดาเรือกลไฟที่เข้ามาในเขตท่าแห่งน่านน้ำสยาม
ปฏิบัติตามประมวลสัญญาณสากลที่ใช้อยู่จงทุกประการ
มาตรา 13* บรรดาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือใน
น่านน้ำไทยที่มีโทษปรับสถานเดียวไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ให้เจ้าท่ามีอำนาจ
เปรียบเทียบผู้ต้องหาได้เมื่อผู้เสียหายยินยอมและผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตาม
คำเปรียบเทียบของเจ้าท่าแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา
ความอาญา *[มาตรา 13 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535 (รก.2535/44/16)
มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจหน้าที่
รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456
และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม และให้มีอำนาจตั้งเจ้าพนักงาน ออกกฎกระทรวง
กำหนดค่าธรรมเนียม หรือกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทแห่งพระราช
บัญญัตินี้ เจ้าพนักงานที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรานี้ ให้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของ
กรมเจ้าท่า และการตั้งเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ด้วย
และให้ระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นมีอำนาจปฏิบัติหน้าที่เพียงใด
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
ประกาศมา ณ วันที่ 17 ตุลาคม
พุทธศักราช 2477 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net |
MarinerThai.Com