Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - -

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 7 มีนาคม พุทธศักราช 2477)

อนุวัตน์จาตุรนต์ อาทิตย์ทิพอาภา เจ้าพระยายมราช

ตราไว้ ณ วันที่ 20 เมษายน พุทธศักราช 2478 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456 ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำร่องและผู้นำร่อง ให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

 

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477(ฉบับที่ 2)"

 

มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2478/-/21/28 เมษายน 2478]

 

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ สยาม พ.ศ.2456 ภาคที่ 3 หมวดที่ 6 ตั้งแต่ มาตรา 249 ถึงมาตรา 276 และ พิกัดค่าจ้างนำร่องตามแบบที่ 2 ท้ายพระราชบัญญัตินั้นเสีย

 

มาตรา 4 การนำร่องนั้น ให้อยู่ในอำนาจและความควบคุมของ รัฐบาลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่กรมเจ้าท่าสังกัดเป็นเจ้าหน้าที่รักษาการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และเพื่อการนั้นให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่อง ต่อไปนี้ คือ

1) กำหนดคุณสมบัติผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่อง และผู้ฝึกการนำร่อง กำหนดชั้นความรู้ผู้นำร่อง วิธีการที่จะสอบความรู้และออกใบอนุญาตแก่ผู้ที่จะขอรับ ใบอนุญาตเป็นผู้นำร่อง

2) กำหนดหน้าที่และมรรยาทของผู้นำร่อง

3) กำหนดจำนวนผู้นำร่องที่จะอนุญาตให้ทำการนำร่องและจำนวน ผู้ฝึกงานการนำร่องประจำท่า หรือน่านน้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง

4) กำหนดค่าธรรมเนียมสอบไล่ผู้นำร่อง

5) กำหนดวิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์ที่ได้มาเนื่องในการ นำร่อง เป็นต้นว่าจะแบ่งให้ แก่ผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่องเท่าใด แบ่งเป็นเงิน สำรองหรือเงินทุนตั้งไว้เพื่อการใด และเก็บไว้ ณ ที่ใดเท่าใด

6) กำหนดเขตท่าหรือน่านน้ำใด ๆ ให้มีการนำร่อง โดยใช้เจ้าหน้าที่ ของรัฐบาล หรือของเทศบาล หรือหุ้นส่วนบริษัทหรือเอกชน ทำการนำร่องตลอดถึง วางข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วยการนั้น

7) กำหนดเขตท่าหรือน่านน้ำใด ๆ ซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือ โดยมีผู้นำร่อง ตลอดถึงวางข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วยขนาดและชนิดของเรือที่ ยกเว้นไม่ต้องบังคับใช้ผู้นำร่อง การเพิ่มหรือลดหย่อนค่าจ้างนำร่องแก่เรือ บางประเภท

8) กำหนด ขนาดเรือ ที่จะต้องเสียค่าจ้างนำร่อง และพิกัดค่าจ้าง นำร่อง

9) กำหนดการลงทัณฑ์และจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการลงทัณฑ์แก่ ผู้นำร่อง เมื่อผู้นำร่องกระทำผิดกฎข้อบังคับซึ่งว่าด้วยหน้าที่และมรรยาทของผู้นำร่อง ทัณฑ์ที่จะลงได้นั้นมี 2 สถาน คือ ก. ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ข. ปรับเป็นเงินไม่เกินร้อยบาทหรือลดชั้นเงินเดือนหรือตัดเงินเดือน แล้วแต่กรณี

10) กำหนดแบบบัญชีและรายงานสำหรับให้ผู้นำร่องหรือห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทหรือเทศบาลที่ทำการนำร่องทำยื่นต่อกรมเจ้าท่าเป็นครั้งคราวตามที่เห็น สมควร กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

มาตรา 5 เมื่อได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าหรือน่านน้ำ ใด ๆ บังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือ โดยมีผู้นำร่องเรือกลไฟและเรือเดินทะเล ที่เคลื่อนเดิน หรือเข้าออกในเขตท่าหรือน่านน้ำนั้น ๆ ให้มีการนำร่องเว้นแต่จะมี กฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 4

 

มาตรา 6 บุคคลใดจะรวมแรงรวมทุนกันตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจะหาประโยชน์ในทางรับจ้างนำร่อง จะต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่กรมเจ้าท่าสังกัดเสียก่อนจึงจะตั้งได้

 

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่กรมเจ้าท่าสังกัดตั้งเจ้าหน้าที่ ขึ้นคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้สอดส่องกิจการและมรรยาทของผู้นำร่องหรือของเทศบาล เฉพาะที่เกี่ยวกับการนำร่อง

 

มาตรา 8 เจ้าหน้าที่ซึ่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา 7 นั้น ให้อยู่ใน บังคับบัญชาของกรมเจ้าท่า และมีอำนาจ 1) เข้าไปในสถานที่และตรวจดูสมุดบัญชีสรรพเอกสารและวัตถุ เครื่องใช้ที่เกี่ยวหรือใช้ในการนำร่องได้ในเวลาทำงานทุกเมื่อ 2) เรียกผู้นำร่อง หรือลูกจ้างของผู้นำร่อง หรือเจ้าหน้าที่ของห้าง หุ้นส่วนหรือบริษัทหรือเทศบาล ที่ทำการนำร่องมาสอบถามถึงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ กิจการนำร่อง หรือถึงความประพฤติความเป็นไปของผู้นำร่องหรือของบุคคลนั้น ๆ เพียงเท่าที่เกี่ยวกับกิจการนำร่อง 3) สั่งให้ผู้นำร่องคนใดไปให้แพทย์ทหารเรือ หรือแพทย์สาธารณสุข ตรวจร่างกายหรือตรวจสายตาเป็นครั้งคราวตามที่เห็นสมควร

 

มาตรา 9 ถ้าเจ้าพนักงานผู้สอดส่องกิจการและมรรยาทของผู้นำร่อง ตรวจเห็นเรือหรือวัตถุเครื่องใช้ใด ๆ ที่ใช้ในการนำร่องชำรุดบุบสลาย ไม่เป็นที่ ปลอดภัยที่จะใช้ในการนำร่อง ให้มีอำนาจสั่งเจ้าของจัดการซ่อมแซม ในระหว่างที่ ยังซ่อมแซมไม่เสร็จ ห้ามมิให้นำเรือหรือวัตถุเครื่องใช้นั้น ๆ มาใช้ในการนำร่อง

 

มาตรา 10 เมื่อปรากฏขึ้นว่าผู้นำคนใดมีโรคภัยร่างกายไม่สมประกอบ ไม่สมควรให้ทำการเป็นผู้นำร่องต่อไปก็ดี หรือทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ ทำผิดกฎข้อบังคับซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ถึงแม้ว่าผู้นำร่องนั้นจะได้รับโทษอย่างอื่น แล้วก็ดี กรมเจ้าท่ามีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นำร่องนั้น หรือลดชั้น ใบอนุญาตเสียหรือจะสั่งให้ยึดใบอนุญาตไว้เป็นเวลาไม่เกินสองปีแล้วแต่จะเห็นสมควร ถ้าผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งของกรมเจ้าท่า ให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง คำชี้ขาดของรัฐมนตรีนั้นเป็น ที่สุด แต่ในระหว่างที่รัฐมนตรียังมิได้ชี้ขาด คำสั่งของกรมเจ้าท่ามีผลบังคับได้

 

มาตรา 11 ความผิดหรือละเมิดที่ผู้นำร่องได้กระทำนั้นไม่เป็น ข้อแก้ตัวของเจ้าของเรือหรือนายเรือในอันที่จะทำให้ตนพ้นความรับผิดชอบตาม กฎหมาย ในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องในการเดินเรือ วรรคสอง  (ยกเลิกแล้ว -  ความในวรรคสองของมาตรา 11 ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2479 (รก.2479/-/719)

 

มาตรา 12 บุคคลผู้รับผิดในการชำระเงินค่าจ้างนำร่องตามพิกัด ได้แก่

1. เจ้าของหรือนายเรือ หรือ

2. ตัวแทนเจ้าของเรือในขณะที่มีการนำร่อง

ในกรณีค้างชำระเงินค่าจ้างนำร่อง เจ้าท่าจะกักเรือ หรือเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่ออกใบปล่อยเรือ จะยึดใบปล่อยเรือไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชำระเงินค่าจ้าง นำร่องกันเสร็จแล้ว หรือมีค้ำประกันมาให้จนเป็นที่พอใจก็ได้ ถ้ามีคดีฟ้องเรียก ค่าจ้างนำร่อง ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ยึดเรือหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับเรือตาม บทแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งไว้จนกว่าจะได้ชำระเงินค่าจ้าง

 

มาตรา 13*(มาตรา 13 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535 (รก.2535/44/31) ) ผู้นำร่องคนใดทำการนำร่องนอกเหนือใบอนุญาตหรือ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ทำการนำร่องในระหว่างที่ใบอนุญาตถูกเรียกคืน ถูกงดใช้ หรือถูกยึด หรือไม่ยอมไปทำการนำร่องเรือลำใดลำหนึ่งที่ได้ให้สัญญาณขอให้ตนไป ทำการนำร่องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันสมควร หรือละทิ้งการนำร่องไปกลางคันจากเรือ ลำใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยนายเรือไม่ยินยอมหรือนำเรือหรือวัตถุเครื่องใช้ ในการนำร่องที่เจ้าพนักงานสั่งให้ซ่อมแซมตามมาตรา 9 มาใช้ก่อนซ่อมแซมเสร็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

 

มาตรา 14 นายเรือคนใดใช้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้ที่ทำการนำร่อง นอกเหนือใบอนุญาตเป็นผู้นำร่อง หรือใช้ผู้ที่ถูกเรียกใบอนุญาตคืนหรือผู้ที่ใบอนุญาต ถูกงดใช้หรือถูกยึดให้เป็นผู้นำร่องเรือของตน หรือนายเรือคนใดเดินเรือในเขตท่า ที่บังคับให้มีการนำร่องโดยไม่ใช้ผู้นำร่องนายเรือผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษ ปรับเป็นเงินสองเท่าจำนวนค่าจ้างนำร่องตามพิกัดที่ตั้งไว้สำหรับเรือลำนั้น แต่ถ้าในขณะที่กระทำการนั้น มีการจำเป็นโดยในขณะนั้นไม่มีผู้นำร่อง นอกเหนือใบอนุญาตเป็นผู้นำร่อง หรือใช้ผู้ที่ถูกเรียกใบอนุญาตคืนหรือผู้ที่ใบอนุญาต ถูกงดใช้หรือถูกยึดให้เป็นผู้นำร่องเรือของตน หรือนายเรือคนใดเดินเรือในเขตท่า ที่บังคับให้มีการนำร่องโดยไม่ใช้ผู้นำร่องนายเรือผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษ ปรับเป็นเงินสองเท่าจำนวนค่าจ้างนำร่องตามพิกัดที่ตั้งไว้สำหรับเรือลำนั้น แต่ถ้าในขณะที่กระทำการนั้น มีการจำเป็นโดยในขณะนั้นไม่มีผู้นำร่อง ที่ได้รับอนุญาตถูกต้องมาขอร้อง หรือให้สัญญาขอเป็นผู้นำร่องก็ดี หรือเรืออยู่ในความ อันตราย หรือความลำบากที่นายเรือต้องแสวงหาความช่วยเหลืออย่างดีตามที่จะ หาได้ในระหว่างนั้นก็ดี นายเรือและผู้ที่ทำการนำร่องไม่มีความผิด

 

มาตรา 15 ผู้นำร่องคนใดเรียกเงินค่านำร่องเกินกว่าพิกัดที่ตั้งไว้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินไม่เกินกว่าห้าสิบบาท ถ้าได้รับเงินมาด้วยแล้ว ให้คืนเงินจำนวนที่เรียกเกินมานั้นให้แก่นายเรือหรือเจ้าของเรือนั้นด้วย

 

มาตรา 16*(มาตรา 16 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535 (รก.2535/44/31)) ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้นำร่อง แสดงตนว่า เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้นำร่องได้โดยเอาใบอนุญาตของผู้อื่นออกแสดง หรือโดยใช้ เครื่องหมายสัญญาณใด ๆ สำหรับใช้ในการนำร่อง เพื่อขอทำการนำร่อง หรือ ผู้ใดจัดหาใบอนุญาตหรือเครื่องหมายสัญญาณให้ผู้อื่นใช้เพื่อกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 17 ขณะที่ผู้นำร่องอยู่ในเรือลำใด ถ้าไม่มีเจ้าพนักงาน ศุลกากรอยู่ในเรือลำนั้นด้วย ให้ผู้นำร่องผู้นั้นทำการเป็นเจ้าพนักงานศุลกากร ในเหตุที่จะมีการกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากรเกิดขึ้น ถ้าปรากฏว่าได้มีการที่จะขนถ่ายสินค้าใด ๆ ออกจากเรือหรือบรรทุก ขึ้นเรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้นำร่องบอกกล่าวแก่นายเรือถึงการกระทำผิด เช่นนั้น เมื่อได้บอกกล่าวแล้ว นายเรือผู้นั้นยังพยายามกระทำฝ่าฝืน ผู้นำร่องมี อำนาจกักเรือนั้นไว้รอคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจต่อไป

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (ตามมติคณะรัฐมนตรี)

พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์

รัฐมนตรี

 

มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4680

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Articles from our members Nathalin Group

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network