Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

MarinerThai 2004 Co., Ltd. FB MarinerThai News

พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ

พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - -

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511

เป็นปีที่ 23 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำบางอย่าง ในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำ และยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำ บางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511"

 

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2511/54/365/18 มิถุนายน 2511]

 

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"ผู้ขนส่ง" หมายความว่า ผู้รับขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยัง ต่างประเทศโดยทางเรือที่มีระวางบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตันหรือ ผู้ทำการแทน

"ผู้ส่งออก" หมายความว่า ผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งให้ทำการขนส่ง สินค้าขาออกทางเรือ

"เงินส่วนลดที่กักไว้" หมายความว่า เงินส่วนลดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และหมายความรวมถึงเงินรางวัลหรือประโยชน์ อย่างอื่น ที่ผู้ขนส่งสัญญาโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจ่ายหรือให้แก่ผู้ส่งออก แต่ยังกักไว้จนกว่าผู้ส่งออกได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา ทั้งนี้ โดยมีวัตถุ ประสงค์มิให้ผู้ส่งออกใช้เรือของผู้อื่นนอกจากที่ผู้ขนส่งระบุให้

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา 4 ห้ามมิให้ผู้ขนส่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) เข้าเป็นคู่สัญญาหรือทำความตกลงโดยตรงหรือโดยปริยายกับ ผู้ส่งออกโดยจงใจ ให้ผู้ส่งออกรายใดรายหนึ่งเสียเปรียบเกี่ยวกับการรับระวาง บรรทุก อัตราค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือการให้บริการอย่างอื่น

(2) ปฏิเสธไม่ยอมรับบรรทุกสินค้าของผู้ส่งออกรายใดรายหนึ่ง เพราะผู้ส่งออกได้ใช้เรือของผู้ขนส่งรายอื่น

 

มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ขนส่งกำหนดให้มีเงินส่วนลดที่กักไว้โดยตรง หรือโดยปริยายเกินร้อยละสิบของเงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออก และมิให้ กักเงินส่วนลดเกินสองเดือนนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการชำระเงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออก ในกรณีที่มีการกักเงินส่วนลด จะต้องมีสัญญาเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ขนส่งและผู้ส่งออก และระบุข้อความดังกล่าวข้างต้นด้วย ในกรณีที่ถึงกำหนดชำระเงินส่วนลดที่กักไว้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ขนส่ง ต้องชำระเงินนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด

 

มาตรา 6 ภายใต้บังคับมาตรา 5 อัตราเงินที่ผู้ขนส่งเรียกเก็บ จากผู้ส่งออก อัตราเงินส่วนลดที่กักไว้ กำหนดเวลาการกักเงินส่วนลดที่กักไว้ เงื่อนไขและความรับผิดอย่างอื่นในสัญญา สำหรับสินค้าชนิดเดียวกันและ ในเที่ยวเรือเดียวกัน ต้องเป็นอย่างเดียวกันสำหรับผู้ส่งออกทุกราย

 

มาตรา 7 ให้ผู้ขนส่งซึ่งทำสัญญากับผู้ส่งออก กำหนดให้มี เงินส่วนลดที่กักไว้ภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รายงานรัฐมนตรี ถึงแบบสัญญาที่ใช้กับผู้ส่งออก อัตราเงินที่ผู้ขนส่งเรียกเก็บจากผู้ส่งออก อัตราเงินส่วนลดที่กักไว้ กำหนดเวลาการกักเงินส่วนลดที่กักไว้ เงื่อนไข และความรับผิดอย่างอื่นในสัญญา ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทำสัญญากับ ผู้ส่งออกรายแรก ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับข้อความที่ต้องรายงาน รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขนส่งรายงานรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ขนส่งขึ้นอัตราค่าระวางสำหรับสินค้าใด เว้นแต่จะได้ชำระเงินส่วนลดที่กักไว้สำหรับสินค้านั้นแก่ผู้ส่งออกทุกราย ให้เสร็จสิ้นก่อนถึงวันใช้บังคับอัตราค่าระวางที่เปลี่ยนแปลงใหม่

 

มาตรา 9 เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าได้มีการกระทำผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ

(1) มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณา

(2) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ขนส่งในระหว่างเวลาทำการ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือตรวจสอบเอกสารได้ตามความจำเป็น

 

มาตรา 10 หนังสือเรียกตามมาตรา 9 (1) ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนหรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงาน ของบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียกในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกก็ได้ ถ้าบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียกปฏิเสธไม่ยอมรับหนังสือเรียก โดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ชอบที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าพนักงานตำรวจไปด้วยเพื่อเป็นพยาน และถ้าบุคคลนั้นยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับอยู่อีก ให้วางหนังสือเรียกไว้ ณ ที่นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียก ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของบุคคลนั้น จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งมีอายุเกิน ยี่สิบปีและอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของ บุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียกนั้นได้ ถ้าไม่พบบุคคลใด หรือพบ แต่ไม่มีบุคคลใดยอมรับไว้แทนและมีเหตุ อันควรเชื่อว่าบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียกยังอยู่ ณ ที่นั้น แต่มีเจตนา หลีกเลี่ยงไม่ยอมรับ ให้ปิดหนังสือเรียกไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักงานนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการตามวิธีการดังกล่าวในวรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่แล้ว ให้ถือว่าบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือเรียกได้รับ หนังสือเรียกนั้นแล้ว

 

มาตรา 11 ในการปฏิบัติการตามมาตรา 9 (2) ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง ร้องขอ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรี ประกาศกำหนด

 

มาตรา 12 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 4 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 8 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

 

มาตรา 13 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท

 

มาตรา 14 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท

 

มาตรา 15 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ขัดขวาง หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

 

มาตรา 16 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ถนอม กิตติขจร

นายกรัฐมนตรี

 

 

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำบางอย่างอันกระทบถึง การขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศทางเรือ ฉะนั้น เพื่อให้ การส่งสินค้าขาออกทางเรือเป็นไปด้วยดี จึงสมควรตราพระราชบัญญัตินี้ ขึ้นไว้

 

มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   2856

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Mariner English Articles Cho.Charoen Maritime Instruments

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network