ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532
ข้อบังคับกรมเจ้าท่า
ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ
พ.ศ. 2532
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
- -- - - - - -
หมวดที่ 1 ฝ่ายเดินเรือ
ส่วนที่ 1 การแบ่งชั้นความรู้
ส่วนที่ 2 วิธีการสอบความรู้
ส่วนที่ 3 หลักสูตร
ส่วนที่ 4 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
ส่วนที่ 5 ค่าธรรมเนียม
ส่วนที่ 6 การออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ
หมวดที่ 2 ฝ่ายช่างกลเรือ
ส่วนที่ 1การแบ่งชั้นความรู้
ส่วนที่ 2 วิธีการสอบความรู้
ส่วนที่ 3 หลักสูตร
ส่วนที่ 4 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
ส่วนที่ 5 ค่าธรรมเนียม
ส่วนที่ 6 การออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 279
แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติมโดย
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13 ) พ.ศ. 2525
อธิบดีกรมเจ้าท่าโดย อนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ออกข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1
ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532”
ข้อ 2
ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 3 เมื่อได้ใช้ข้อบังคับนี้แล้ว
ให้ยกเลิก
(1) ข้อบังคับกรมเจ้าท่า
ว่าด้วยหลักสูตรความรู้และความชำนาญสำหรับผู้ควบคุมเรือและผู้ควบคุมเครื่องจักร พุทธศักราช 2507
(2) ข้อบังคับกรมเจ้าท่า
ว่าด้วยการสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2526
(3) ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2528
(4) กฎข้อบังคับการตรวจเรือ
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2506 เฉพาะบัญชีหมายเลข 2
ค่าธรรมเนียม สำหรับการสอบความรู้ผู้ควบคุมเรือและผู้ควบคุมเครื่องจักร
(5) กฎหรือข้อบังคับกรมเจ้าท่าอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
ข้อ 4
ในข้อบังคับนี้ นอกจากจะมีข้อความบ่งไว้เป็นอย่างอื่น คำว่า “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมเจ้าท่า
“ประกาศนียบัตร ” หมายถึง
ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถ ของผู้ทำการในเรือ ซี่งออกให้โดยกรมเจ้าท่า
ตามข้อบังคับนี้
“ควบคุมเรือ ”
หมายถึง การทำหน้าที่นายเรือหรือนายท้ายเรือ
“เรือราชการ ”
หมายถึง เรือของส่วนราชการซึ่งมิได้ใช้ในทางการค้า
“เรือหลวง ” หมายถึง เรือต่าง ๆ
ที่กำหนดไว้ในอัตรากองทัพเรือ
“ต้นกลเรือ ”
หมายถึง นายช่างกลเรือตำแหน่งสูงสุดในเรือ
ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องกลขับเคลื่อนเรือ และเครื่องจักรกลทุกชนิดในเรือ
“รองต้น กล ” หมายถึง
นายช่างกลเรือที่มีตำแหน่งรองถัดไปจากต้นกลเรือ
“นายช่างกลเรือ ”
หมายถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างกลเรือ ที่มีคุณวุฒิมีประกาศนียบัตรกรมเจ้าท่า
ชั้นไม่ต่ำกว่า ชั้นคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
“นายยามเรือเดิน ”
หมายถึง หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดินเรือหรือฝ่ายช่างกลเรือ
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบในยามผลัดนั้น ๆ
“พรรคนาวิน ”
หมายถึง เหล่านายทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุม และปฏิบัติการต่าง ๆ
ในฝ่ายเดินเรือ
“พรรคกลิน ” หมายถึง
เหล่าทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุมและปฏิบัติการต่าง ๆ ในฝ่ายช่างกลเรือ
หมวดที่ 1 ฝ่ายเดินเรือ
ส่วนที่ 1
การแบ่งชั้นความรู้
ข้อ 5
ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทำการในเรือ
ฝ่ายเดินเรือให้มีลำดับชั้นของประกาศนียบัตร จากชั้นสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้
(1) ประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) CLASS 1 (MASTER MARINER)
(2) ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)CLASS 2 (FIRST MATE)
(3) ประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) CLASS 3 (SECOND MATE)
(4) ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) CLASS 4 (THIRD MATE)
(5) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง (SKIPPER OF FISHING VESSEL)
(6) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ (SKIPPER OF LOCAL TRADE VESSEL)
(7) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ (SKIPPER OF POWER DRIVEN RIVER VESSEL)
(8) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน(HELMSMAN OF POWER DRIVEN SEA – GOING NEIGHBOURAREA VESSEL)
(9) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง (FIRST CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN SEA – GOINGVESSEL)
(10) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง (SECOND CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN SEA – GOING VESSEL)
(11) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง (FIRST CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN RIVENVESSEL)
(12) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นสอง (SECOND CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN RIVENVESSEL)
(13) ประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล (HELMSMAN OF NON – SELF – PROPELLED VESSEL)
ข้อ 6
ผู้มีประกาศนียบัตรในลำดับสูงกว่าสามารถทำการในตำแหน่ง
ซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรที่ต่ำกว่าได้ แต่
(1) ผู้มีประกาศนียบัตรสำหรับเรือลำน้ำ
จะทำการในตำแหน่ง ซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรสำหรับเรือเดินทะเลไม่ได้
(2) ผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
จะทำการในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่งไม่ได้
ข้อ 7
ประกาศนียบัตรอาจจะระบุข้อกำหนดให้สามารถทำหน้าที่ควบคุมเรือหรือจำกัดประเภทเรือ
หรือขนาดหรือที่ผู้มีประกาศนียบัตรสามารถควบคุมเรือได้ดังนี้
(1) ประกาศนียบัตรต้นหน ระบุข้อกำหนดให้ทำหน้าที่นายเรือ
ของเรือตามขนาดและเขตการเดินเรือในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ
(2)
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ หรือนายเรือของเรือกลลำล้ำ ระบุขนาดตันกรอสสูงสุดของเรือที่สามารถทำการควบคุมได้
(3) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง หรือประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง ระบุเขตเดินทะเลชายแดน
(4) ประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล ระบุประเภทเรือใบ
หรือเรือใบชายทะเลชายแดน
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 2
วิธีการสอบความรู้
ข้อ 8
การสอบความรู้สำหรับ ประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือ
ให้อธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการสอบ
ข้อ 9
การยื่นคำร้องขอสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตร หรือขอเลื่อนชั้นประกาศนียบัตรหรือขอต่ออายุประกาศนียบัตรให้ยื่นคำร้องขอสมัครสอบความรู้พร้อมทั้งสำเนาประกาศนียบัตรชั้นที่ได้รับอยู่ และสำเนาเอกสารอื่น ๆ ตามสำเนาของประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
ข้อ 10
การสอบความรู้ตามหลักสูตร นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นสูงสุด
ฝ่ายเดินเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
หรือการสอบความรู้ตามหลักสูตรชั้นสูงสุด ของโรงเรียนนายเรือ (เว้นพรรคกลิน)
เป็นการสอบความรู้ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) ของกรมเจ้าท่าด้วย
ผู้ที่สอบได้ตามหลักสูตรดังกล่าว จึงมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรชั้น 3
(ต้นหนที่สอง)ของกรมเจ้าท่า
ข้อ 11
การสอบความรู้ตามหลักสูตร นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 3
ฝ่ายเดินเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
หรือการสอบความรู้ตามหลักสูตรชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนนายเรือ (เว้นพรรคกลิน)
เป็นการสอบความรู้ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) ของกรมเจ้าท่าด้วย
ผู้ที่สอบได้ตามหลักสูตรดังกล่าว จึงมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรชั้น 4
(ต้นหนที่สาม)ของกรมเจ้าท่า
ข้อ 12 การสอบความรู้ตามหลักสูตรสำหรับ ประกาศนียบัตรชั้น
4 (ต้นหนที่สาม) ประเภทชำนาญงาน ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) ประเภทเรือประมง
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง ประเภทชำนาญงาน
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ ประเภทชำนาญงาน
และประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ ประเภทชำนาญงาน
ให้อธิบดีกรมเจ้าท่ามีอำนาจผ่อนผันวิธีการสอบความรู้ได้
ข้อ 13 เกณฑ์การสอบได้
ผู้เข้าสอบจะต้องได้คะแนนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ยกเว้น วิชาการเดินเรือ
วิชาเดินเรือดาราศาสตร์ วิชาเดินเรือใกล้ฝั่ง วิชาต่อเรือและการทรงตัวของเรือ
ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ข้อ 14
ถ้าข้อบังคับใดกำหนดให้ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีประกาศนียบัตร
ในชั้นที่ต่ำกว่ามาก่อน ประกาศนียบัตรนั้นต้องยังไม่หมดอายุในวันขอสมัครสอบ
ข้อ 15 บุคคลผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทย
ถ้าประสงค์จะขอสอบความรู้ผู้ทำการในเรือเพื่อขอรับประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือ
ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี
ข้อ 16
การสอบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 21
(4) หรือการสอบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 22 (3)
อธิบดีอาจยกเว้นการสอบเป็นบางวิชาได้หากมีหลักฐานว่ามีความรู้ความชำนาญ
หรือผ่านการสอบในวิชานั้น ในระดับเดียวกันมาเพียงพอแล้ว
ข้อ 17
วิชาใดที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์การสอบได้ ให้มีโอกาสแก้ตัวใหม่ ดังนี้
(1) การสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ หรือประกาศนียบัตรที่สูงกว่า ให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2
ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันสอบครั้งแรก
และการสอบแก้ตัวภายในรายวิชาหนึ่ง ๆ ต้องมีระยะห่างจากการสอบครั้งก่อนไม่น้อยกว่า 1
เดือน
(2) การสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน
หรือประกาศนียบัตรที่ต่ำกว่า ให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน
1 ปี นับแต่วันสอบครั้งแรก และการสอบแก้ตัวภายในวิชาหนึ่ง ๆ
ต้องมีระยะห่างจากการสอบครั้งก่อนไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
ข้อ 18
การเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมของสถาบันต่าง ๆ
เพื่อให้เข้ากับคุณสมบัติการสมัครสอบประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ
ตามข้อบังคับนี้ให้เป็นอำนาจของอธิบดี การขอเทียบชั้นประกาศนียบัตรของผู้ที่มีประกาศนียบัตรจากต่างประเทศ
ในระดับเดียวกันให้เป็นอำนาจของอธิบดี เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเป็นราย ๆ ไป
ส่วนที่ 3
หลักสูตร
ข้อ 19
หลักสูตรเกี่ยวกับการสอบความรู้ฝ่ายเดินเรือให้เป็นไปตามผนวก 1 ท้ายข้อบังคับนี้
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 4
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
ข้อ 20 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
(1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายร้ายแรง หรือมีความประพฤติเสียหาย
อันอาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย
(3) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(4) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการหรือมีร่างกายไม่สมประกอบ
จนไม่สามารถทำการตามตำแหน่งหน้าที่ได้
(5) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ
(6) เป็นผู้มีสายตาดี และหูฟังเสียงได้ดี
(7) คุณสมบัติตาม (3), (4), (5) และ (6)
ผู้สมัตรสอบต้องแสดงเอกสารใบรับรองแพทย์ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ 21
ประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ)
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ)
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนด ในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปีบริบูรณ์
(2) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
และเคยทำการในเรือในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
หรือ
(3) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง) และเคยเป็นนายเรือ
หรือผู้บังคับการเรือของเรือราชการ
และเคยปฏิบัติหน้าที่ในเรือสินค้าในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
มาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ในเรือสินค้าต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ถ้าหากไม่มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ในเรือสินค้า
ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษสำหรับนายเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า หรือ
(4) เป็นผู้ที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ
หรือสถาบันอื่นที่เทียบเท่าพรรคนาวิน และเคยเป็นผู้บังคับการเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรผู้บังคับการเรือในกองทัพเรือ
และเคยปฏิบัติหน้าที่ในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
ข้อ 22
ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดใน ข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
(2)
เป็นผู้มีประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)
และเคยทำการในเรือในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรนี้
หรือเคยปฏิบัติหน้าที่นายยามเรือเดินในทะเลของเรือราชการซึ่งมีขนาดไม่ต่ำกว่า 200
ตันกรอส หรือความยาวฉากไม่ต่ำกว่า 25 เมตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่า
2 ปี หรือ
(3) เป็นผู้ที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ
หรือสถาบันอื่นที่เทียบเท่าพรรคนาวิน
และเคยปฏิบัติหน้าที่ในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
หรือสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรบังคับการเรือ หรือหลักสูตรต้นหนในกองทัพเรือ
ข้อ 23
ประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
และเคยทำการในเรือในตำแหน่งซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 2
ปี หรือ
(4) เป็นผู้สำเร็จการศึกษา
หลักสูตรเดินเรือจากสถาบันการศึกษาซึ่งอธิบดีรับรองให้มีสิทธิสมัครสอบ
ข้อ 24
ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3)
มีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า 5 ปี
และหลังจากปฏิบัติงานในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
ได้ฝึกปฏิบัติหน้าที่นายยามเรือเดินในเรือ ขนาดไม่ต่ำกว่า 200 ตันกรอส หรือ
ความยาวฉากไม่ต่ำกว่า 25 เมตร มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(4) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง
หรือนายเรือของเรือเดินในประเทศและเคยทำการในตำแหน่งที่ซึ่งกำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
(5) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเดินเรือ
จากสถาบันการศึกษาในชั้นการศึกษาซึ่งอธิบดีรับรองให้มีสิทธิสมัครสอบในกรณีที่ผู้สมัครสอบมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ใน
(2) (3) (4) และ (5) ของข้อนี้
ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 20 ดังนี้
(6) ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) สำหรับทำการในเรือทุกประเภท
(ก)เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศและเคยทำการในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี หรือ
(ข)
เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่งและมีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า
6 ปี และหลังจากปฏิบัติงานในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
ได้เคยทำการฝึกหน้าที่นายยามเรือ
เดินในเรือขนาดไม่ต่ำกว่า 200 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
ประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดแต่มีคุณสมบัติตาม
(6) นี้ให้เติมคำว่า “ชำนาญงาน” ต่อท้ายชั้นประกาศนียบัตร ด้วย
โดยประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
(7) ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) สำหรับทำการเฉพาะในเรือประมง
(ก)
เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศหรือนายเรือของเรือประมงและเคยทำการในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นนั้น
ๆ มาแล้วไม่น้อยกว่า2 ปี หรือ
(ข)
เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่งและมีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า
6 ปี และหลังจากปฏิบัติงานในเรือไม่น้อยกว่า 4 ปี
ได้ทำการฝึกหน้าที่นายเรือของเรือประมงทะเลลึกชั้นหนึ่ง มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
ประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดแต่มีคุณสมบัติตาม (7)
นี้ ให้เติมคำว่า “เรือประมง” ต่อท้ายชั้นประกาศนียบัตรด้วย
โดยประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม) ที่ใช้เฉพาะกับเรือประมง
ข้อ 25
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมงต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3) มีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า 4
ปีและหลังจากปฏิบัติงานในทะเลมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
ได้เคยทำหน้าที่ต้นเรือในเรือกลประมงทะเลลึกมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือในกรณีที่ผู้สมัครสอบมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ใน
(2) (3) และ (4) ของข้อนี้
ผู้สมัครสอบด้วยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 20 ดังนี้
(4) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการเดินเรือประมง
ซึ่งอธิบดีรับรองให้มีสิทธิสมัครสอบ
(5) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
(6) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ
และเคยทำการในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
หรือ
(7) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่านายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
และมีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า 5 ปี
โดยหลังจากปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า 3 ปี
ได้เคยทำหน้าที่ต้นเรือในกลประมงทะเลลึกไม่น้อยว่า 1 ปี หรือ
ทำหน้าที่นายท้ายในเรือกลประมงทะเลลึกชั้นหนึ่ง มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
สำหรับประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (5) (6) และ (7)
นี้ให้เติมคำว่า “ชำนาญงาน” ต่อท้ายชั้นประกาศนียบัตรด้วย
โดยประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง
ข้อ 26
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศต้องมี
คุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดใน ข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3) มีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเลไม่น้อยกว่า 4 ปี
(4)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 250 ตันกรอส
ต้องเคยควบคุมเรือขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
หรือเคยปฏิบัติหน้าที่นายท้ายในเรือ ซึ่งมีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส
มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(5)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส
หรือต้นเรือของเรือขนาดเกินกว่า 250 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ
(6)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 1,600 ตันกรอส
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือของเรือกลขนาดเกินกว่า 250 ตันกรอส
หรือต้นเรือของเรือกลขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ
(7)
เป็นผู้มีคุณสมบัติตาม (1)
และสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 2
ฝ่ายเดินเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า หรือหลักสูตรชั้นปีที่ 2 (เว้นพรรค กลิน) ของโรงเรียนนายเรือ หรือเป็นผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
และสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรผู้บังคับการเรือขนาดเล็กในกองทัพเรือ
หรือผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษฝ่ายเดินเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
ในกรณีที่ผู้สมัครสอบมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ใน (2) (3) (4) (5) (6) และ
(7) ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 20 ดังนี้
(8) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
(9) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่านายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศชั้นต่ำกว่า
และมีระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเล ไม่น้อยกว่า 6 ปี
(10)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 250 ตันกรอส
ต้องเคยควบคุมเรือขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
หรือเคยปฏิบัติหน้าที่นายท้ายในเรือที่มีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า
4 ปี
(11)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือของเรือขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส หรือ ต้นเรือ
ของเรือขนาดเกินกว่า 250 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(12) ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน
1,600 ตันกรอส ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือของเรือกลขนาดเกินกว่า 250 ตันกรอส หรือ
ต้นเรือของเรือกลขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
สำหรับประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (8) (9) (10)
(11) และ (12) นี้ให้เติมคำว่า “ชำนาญงาน”
ต่อท้ายชั้นประกาศนียบัตรด้วยโดยประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ
ข้อ 27 ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ
ผู้สมัครเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 250 ตันกรอส
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส หรือต้นเรือ
หรือผู้ช่วยนายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
(4)
ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือทุกขนาด
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส
หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ต้นเรือ หรือผู้ช่วยนายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 250
ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(5) เป็นผู้มีคุณสมบัติตาม (1) และสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพพันจ่าเอก
เหล่าสามัญในกองทัพเรือ หรือ
ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษฝ่ายเดินเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
ในกรณีที่ผู้สมัครสอบมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ใน
(2) (3) (4) และ (5) ของข้อนี้
ผู้สมัครสอบด้วยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 20 ดังนี้
(6) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
(7) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี บริบูรณ์
(8) ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือขนาดไม่เกิน 250 ตันกรอส
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส หรือต้นเรือ
หรือผู้ช่วยนายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(9) ผู้ขอสมัครสอบเพื่อควบคุมเรือทุกขนาด
ต้องเคยปฏิบัติหน้าที่นายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส
หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ต้นเรือ หรือ ผู้ช่วยนายเรือของเรือกลที่มีขนาดเกินกว่า 250
ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
สำหรับประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน
(6) (7) (8) และ (9) นี้ ให้เติมคำว่า “ชำนาญงาน” ต่อท้ายชั้นประกาศนียบัตรด้วย
โดยประกาศนียบัตรนี้เป็นประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ
ข้อ 28
ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดนต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
(3)
เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสองหรือประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่งและได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ประกาศนียบัตรนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปีหรือ
(4) ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายเดินเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
กรมเจ้าท่า
ข้อ 29
ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลทะเลชั้นหนึ่งต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือที่กำหนดไว้ในข้อ 20 ดั้งนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 19 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้อ่านออกเขียนได้
(3) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
และเคยควบคุมเรือเดินทะเลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(4) เคยทำงานในเรือเดินทะเลขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
(5) มีคุณสมบัติตาม (1) และเป็นนักเรียนจ่าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
ที่สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรพรรคนาวิน
หรือเป็นผู้ที่สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพพันจ่าเอกเหล่าสามัญในกองทัพเรือ
หรือผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษฝ่ายเดินเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
ข้อ 30 ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสองต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ
20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้อ่านออกเขียนได้
(3) เคยทำงานในเรือเดินทะเล มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือ
(4) เป็นผู้ที่สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนลูกเรือเดินทะเล
จากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า ฝ่ายเดินเรือ หรือ
(5) เป็นผู้ที่สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพจ่าเอก เหล่าสามัญในกองทัพเรือ
ข้อ 31 ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่งต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน
ข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 19 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้อ่านออกเขียนได้
(3) เป็นผู้มีประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นสอง
หรือประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง และเคยควบคุมเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
(4)
เคยทำงานในเรือขนาดเกินกว่า 30 ตันกรอส มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
(5) เป็นผู้ที่สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพปกติ นายท้ายเรือกล ในกองทัพเรือ
ข้อ 32 ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้น 2 ต้องมี
คุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้อ่านออกเขียนได้
ข้อ 33 ประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล
ผู้ สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกลต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน
ข้อ 20 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) เคยทำงานในเรือตามประเภทที่จะทำการควบคุม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ข้อ 34 ระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเล
ระยะเวลาทำการในตำแหน่ง และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติหน้าที่
(1) ระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเล หมายถึง
การปฏิบัติหน้าที่นายเรือหรือลูกเรือในเรือเดินทะเล ซึ่งเดินเลยเขตน่านน้ำภายใน
และ/หรือเขตท่าเรือและระยะเวลานี้จะต้องอยู่ภายใน 10 ปี ก่อนวันสมัครสอบครั้งแรก
(2)
การนับระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเล หรือการทำการในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตร
หรือการฝึกปฏิบัติหน้าที่ให้นับระยะเวลาตามที่ปรากฏ ในสัญญาลูกเรือหรือในสมุดคนประจำเรือ
(3) ระยะเวลาปฏิบัติงานในทะเล
หรือระยะเวลาทำการในตำแหน่งที่กำหนดให้ใช้ประกาศนียบัตรชั้นใด
หรือการฝึกปฏิบัติหน้าที่ อาจลดลงได้ไม่เกิน 6 เดือน ถ้าผ่านการอบรมในหลักสูตรพิเศษ
ซึ่งอธิบดีรับรองแล้ว
(4) ผู้สมัครซึ่งปฏิบัติงานในเรือ ซึ่งชักธงของประเทศอื่น
หรือเรือที่มิใช่เรือสินค้า อันไม่สามารถตรวจสอบระยะเวลาได้ โดยฝ่ายคนประจำเรือ
กองตรวจการขนส่งทางน้ำ ต้องแสดงหลักฐานหรือคำรับรองจากเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้น
หรือนายเรือหรือเจ้าของเรือหลักฐานหรือคำรับรองนี้
จะเชื่อถือได้เพียงใดให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิบดี
ข้อ 35 ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นใด
ซึ่งออกให้โดยประเทศอื่น
ถ้าประสงค์จะขอสอบความรู้เพื่อรับประกาศนียบัตรตามข้อบังคับนี้ในชั้นนั้น ต้อง
(1) มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ยกเว้นข้อที่กำหนดให้ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีประกาศนียบัตรในชั้นที่ต่ำกว่ามาก่อน
(2) ผู้ขอสมัครสอบประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) และประกาศนียบัตรชั้น 2
(ต้นหนที่หนึ่ง)
ต้องแสดงหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่า
ข้อ 36
ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) หรือประกาศ
นียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)
หรือคำรับรองทำหน้าที่นายเรือเดินในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประเทศใกล้เคียง
จะต้องแสดงใบรับรองว่า มีความรู้จากสถาบันซึ่งอธิบดีรับรองแล้วดังนี้
(1) RADAR SIMULATOR CERTIFICATE
(2) SHIP CAPTAIN’S MEDICAL TRAINING CERTIFCATE
ข้อ 37
ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)
หรือประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
จะต้องแสดงใบรับรองว่ามีความรู้จากสถาบันซึ่งอธิบดีได้รับรองแล้ว ดังนี้
(1) RADAR OBSERVER CERTIFICATE
(2) FIRST AID AT SEA CERTIFICATE
(3) FIRE FIGHTING COURSR CERTECATE
(4) ELECTRONIC NAVIGATION AT
AIDS (OPERATION) CERTIFI-CATE
(5) EFFICIENT LIEBOATMAN CERTIFICATE
(6) RESTRICTED CERTIFICATE OF COMPETENCE IN RADIO
TELEPHONY
ข้อ 38
ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ
จะต้องแสดงใบรับรองว่า มีความรู้จากสถาบันซึ่งอธิบดีได้รับรองแล้ว ดังนี้
(1) FIRE FIGHTING COURSE CERTIFICATE
(2)FIRST AID AT SEA CERTIFICATE
(3)EFFICIENT LIFEBOATMAN CERTIFICATE
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 5
ค่าธรรมเนียม
ข้อ 39
ให้ผู้สมัครสอบชำระค่าธรรมเนียมในการสอบตามอัตรา ดังนี้
(1) ประกาศนียบัตรชั้น
1 (นายเรือ ) 800.-
บาท
(2) ประกาศนียบัตรชั้น
2 (ต้นหนที่หนึ่ง ) 600.-
บาท
(3) ประกาศนียบัตรชั้น
3 (ต้นหนที่สอง ) 500.-
บาท
(4) ประกาศนียบัตรชั้น
4 (ต้นหนที่สาม ) 400.-
บาท
(5)
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประม ง 400.-
บาท
(6)
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเท ศ300.-
บาท
(7)
ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ 200.-
บาท
(8)
ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน 150.-
บาท
(9)
ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่งและ ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง 150.-
บาท
(10)
ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลหนึ่งสองและ ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นสอง 100.-
บาท
(11)
ประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล 100.-
บาท
(12)
การสอบเพื่อระบุข้อกำหนดในประกาศนียบัต ร 300.-
บาท
(ENDORSEMENT OF
CERTIFICATE )
(13)
ค่าธรรมเนียมใบประกาศนียบัตรรับรอง 100.-
บาท
ข้อ 40 การต่ออายุประกาศนียบัตร
หรือการขอใบแทนประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ ต้อง
ชำระค่าธรรมเนียมกึ่งหนึ่งของอัตราในข้อ 39
การสอบแก้ตัวต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบวิชาละ 10.- บาท
ข้อ 41
ถ้าประกาศนียบัตรสูญหายหรือเสียหายไปเนื่องจากเรือที่ผู้มีประกาศนียบัตรประจำอยู่อับปาง
และสามารถแสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้
ผู้มีประกาศนียบัตรจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามข้อ 39
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 6
การออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ
ข้อ 42
รูปแบบของประกาศนียบัตรเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ 43
ผู้ที่จะขอรับประกาศนียบัตรชั้นใด ต้องสอบได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ สำหรับชั้นนั้น
ข้อ 44
ผู้ที่จะขอรับประกาศนียบัตรชั้นใดต้องส่งคืนประกาศนียบัตรที่มีอยู่เดิม (ถ้ามี)
ข้อ 45 ใบแทนประกาศนียบัตรจะออกให้เมื่อ
(1) ประกาศนียบัตรได้สูญหายหรือถูกทำลาย
และผู้มีประกาศนียบัตรนำหลักฐานการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดง
(2) ประกาศนียบัตรลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ 46
ผู้ขอต่ออายุประกาศนียบัตร จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 20 ของข้อบังคับนี้
(2) ต้องเคยทำการในเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 5 ปี
ก่อนวันขอต่ออายุ
ข้อ 47
ประกาศนียบัตรที่ออกไปก่อนที่ข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่า
ประกาศนียบัตรนั้นๆ จะสิ้นอายุ
เมื่อสิ้นอายุแล้วให้ออกประกาศนียบัตรใหม่โดยเทียบลำดับชั้นประกาศนียบัตรระหว่างชั้นประกาศนียบัตร
ซึ่งกำหนดโดยข้อบังคับนี้กับประกาศนียบัตรตามข้อบังคับฉบับเดิม ดังนี้
ลำดับชั้นประกาศนียบัตร
ตามข้อบังคับฉบับเดิม
ลำดับชั้นประกาศนียบัตร
ตามข้อบังคับฉบับนี้
ลำดับที่ 1
นายเรือของเรือเดิน ต่างประเทศ
ลำดับที่ 2
ต้นหนที่หนึ่งเรือเดิน ต่างประเทศ
ลำดับที่ 3
ต้นหนที่สองเรือเดิน ต่างประเทศ
ลำดับที่ 4
ต้นหนที่สองเรือเดิน ต่างประเทศ(เฉพาะลำ)
ลำดับที่ 5
นายเรือของเรือกลประมง ชั้นหนึ่ง
นายเรือของเรือกลประมงชั้นสอง
ลำดับที่ 6
นายเรือของเรือกล เดินทะเลเฉพาะเขต
ลำดับที่ 7
นายเรือของเรือกล ลำน้ำชั้นหนึ่ง
ลำดับที่ 8
นายเรือของเรือกล ทะเลชายแดน
ลำดับที่ 9
นายท้ายชายทะเลชั้นหนึ่ง สำหรับเรือกลประมง
นายท้ายชายทะเลชั้นหนึ่ง สำหรับเรือกลชายทะเล
ลำดับที่ 10
นายท้ายชายทะเลชั้นสอง สำหรับเรือกลประมง
นายท้ายชายทะเลชั้นสอง สำหรับเรือกลชายทะเล
ลำดับที่ 11
นายท้ายเรือกล ลำน้ำชั้นหนึ่ง
ลำดับที่ 12
นายท้ายเรือกล ลำน้ำชั้นสอง
ลำดับที่ 13
ไต้ก๋งเรือใบเดินทะเลเฉพาะเขต สรั่งเรือลำเลียงเดินทะเลเฉพาะ
เขตคนถือท้าย
เทียบเท่ากับ ชั้น 1 (นายเรือ)
เทียบเท่ากับ ชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง) (ระบุข้อกำหนดให้ทำหน้าที่นายเรือ)
เทียบเท่ากับชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)
(ระบุข้อกำหนดให้ทำหน้าที่นายเรือ)
เทียบเท่ากับ ชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)
เทียบเท่ากับ
นายเรือของเรือประมง
เทียบเท่ากับนายเรือของเรือเดินในประเทศ
(ขนาดตันกรอสตามที่กำหนดไว้เดิม)
เทียบเท่ากับ นายเรือของเรือกลลำน้ำ (ขนาดตันกรอสตามที่กำหนดไว้เดิม)
เทียบเท่ากับ
นายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน
เทียบเท่ากับ
นายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
เทียบเท่ากับ
นายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
เทียบเท่ากับ
นายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
เ ทียบเท่ากับ
นายท้ายเรือกลลำน้ำชั้นสอง
เทียบเท่ากับ
ผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล
< Top -
ขึ้นบนสุด >
หมวดที่ 2
ฝ่ายช่างกลเรือ
ส่วนที่ 1
การแบ่งชั้นความรู้
ข้อ 48 ประกาศนียบัตรฝ่ายช่างกลเรือ
แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ประเภทเครื่องยนต์
ผู้มีประกาศนียบัตรประเภทนี้
มีสิทธิทำการในเรือที่มีเครื่องจักรใหญ่ขับเคลื่อนเรือโดยใช้เครื่องยนต์ได้
(2) ประเภทเครื่องจักรไอน้ำ
ผู้มีประกาศนียบัตรประเภทนี้
มีสิทธิทำการในเรือที่เครื่องจักรใหญ่ขับเคลื่อนเรือโดยใช้ไอน้ำได้
(3) ประเภทเครื่องยนต์และเครื่องจักรไอน้ำ
ผู้มีประกาศนียบัตรประเภทนี้
มีสิทธิทำการในเรือทั้งชนิดที่มีเครื่องจักรใหญ่ขับเคลื่อนเรือโดยใช้เครื่องยนต์หรือใช้เครื่องจักรไอน้ำได้
ข้อ 49
ประกาศนียบัตรแสดงความรู้และความชำนาญของผู้ทำการในเรือฝ่ายช่างกลเรือให้มีลำดับชั้นของประกาศนียบัตร
จากชั้นสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้
(1) นายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง “ FIRST CLASS ENGINEER ”
(2)
นายช่างกลเรือชั้นสอง
“ SECOND CLASS ENGINEER ”
(3)
นายช่างกลเรือชั้นสาม
“ THIRD CLASS ENGINEER ”
(4)
นายช่างกลเรือชั้นสาม ชำนาญงาน
“ THIRD CLASS ENGINEER ”
(BY PRACTICE)
(5)
คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
“ SPECIAL FIRST
CLASS ENGINE OPERATOR ”
หรือ “ FIRST CLASS BOILER MAN FOR SEA-GOING SHIP ”
(6)
คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
“ SPECIAL FIRST CLASS ENGINE OPERATOR ”
(BY PRACTICE)
(7)
คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่ง หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
“ FIRST CLASS ENGINE OPERATOR ”
หรือ
“ SECOND CLASS BOILER MAN FOR SEA-GOING SHIP ” หรือ “ FIRST CLASS BOILER MAN FOR SELF PROPELLED RIVER VESSEL ”
(8)
คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นสอง หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นสอง
“ SECOND CLASS ENGINE OPERATOR ”
หรือ “SECOND CLASS BOILER MAN FOR SELF PROPELLED RIVER
VESSEL ”
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 2
วิธีการสอบความรู้
ข้อ 50
การสอบความรู้สำหรับประกาศนียบัตรฝ่ายช่างกลเรือ
ให้อธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการสอบ
ข้อ 51
การยื่นคำร้องขอสอบความรู้เพื่อขอรับประกาศนียบัตร
หรือขอเลื่อนชั้นประกาศนียบัตร หรือขอต่ออายุประกาศนียบัตรให้ยื่นคำร้องขอสมัครสอบความรู้พร้อมสำเนาประกาศนียบัตรชั้นที่ได้รับอยู่
และสำเนาเอกสารอื่น ๆ ตามสำเนาของประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
ข้อ 52
การสอบความรู้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นสูงสุดฝ่ายช่างกลเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
กรมเจ้าท่า หรือการสอบความรู้ตามหลักสูตรชั้นสูงสุด ของโรงเรียนนายเรือ พรรคกลิน
เป็นการสอบความรู้ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม
ของกรมเจ้าท่าด้วย ผู้ที่สอบได้ตามหลักสูตรดังกล่าว
จึงมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ของกรมเจ้าท่า
ข้อ 53
การสอบความรู้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 3 ฝ่ายช่างกลเรือ
ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า หรือการสอบความรู้ตามหลักสูตรชั้นปีที่ 3
พรรคกลิน
ของโรงเรียนนายเรือเป็นการสอบความรู้ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ผู้ที่สอบได้ตามหลักสูตรดังกล่าว
จึงมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
ข้อ 54
การสอบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 68 (3) หรือ
การสอบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 69 (3) อธิบดีอาจยกเว้นการสอบเป็นบางวิชาได้
หากมีหลักฐานว่ามีความรู้ความชำนาญ หรือผ่านการสอบในวิชานั้น
ในระดับเดียวกันมาเพียงพอแล้ว
ข้อ 55
การสอบความรู้ตามหลักสูตรสำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสามชำนาญงาน
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษหรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
และคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
ให้อธิบดีกรมเจ้าท่ามีอำนาจผ่อนผันวิธีการสอบความรู้ได้
ข้อ 5 6 เกณฑ์การสอบได้ผู้เข้าสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรในชั้นต่าง ๆ
ต้องได้คะแนนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
ข้อ 5 7 ถ้าข้อบังคับใดกำหนดให้ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีประกาศนียบัตรในชั้นต่ำกว่ามาก่อนประกาศนียบัตรนั้นต้องยังไม่หมดอายุในวันขอสมัครสอบ
ข้อ 58
บุคคลผู้มิได้ถือสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะขอสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือ
เพื่อรับประกาศนียบัตรฝ่ายช่างกลเรือ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี
ข้อ 59
การยื่นคำร้องขอสอบความรู้
เพื่อขอรับประกาศนียบัตรตั้งแต่ชั้นประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้น 3 ขึ้นไป
อาจจะขอยื่นคำร้องขอสมัครสอบความรู้เป็นรายวิชา
จนกว่าจะครบตามหลักสูตรภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปี
ข้อ 60
สำหรับผู้ขอเลื่อนชั้นประกาศนียบัตรขึ้นชั้นสูงกว่า
จะต้องมีประกาศนียบัตรมาแล้วครบ 1 ปี
สามารถยื่นคำร้องขอสอบความรู้ทั้งหมดทุกวิชา หรือรายวิชาตามข้อ 59 ก็ได้
ข้อ 61 วิชาใดที่สอบได้หรือสอบตก
ให้ลงบันทึกไว้ในใบแสดงการสอบความรู้ ตามแบบ ป.1 ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ 62
สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม การสอบแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาค ก. มีวิชา
(1) Mathematics (ข้อสอบ 1 ชุดวิชา
ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) General Engineering Science
(ข้อสอบ 1 ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(3) Heat Engines and
Electrotechnology (ข้อสอบ 1 ชุดวิชาใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
ภาค ข. มีวิชา
(1) Engineering Knowledge (ข้อสอบ
3 ชุดวิชา แต่ละวิชาใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) Oral
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ประเภทเครื่องยนต์
และเครื่องจักรไอน้ำ ต้องสอบวิชา Engineering Knowledge ชุดที่ 4 เพิ่มอีก 1
ชุด
ข้อ 63
สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง การสอบแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาค ก. มีวิชา
(1) Mathematics (ข้อสอบ 1 ชุดวิชา
ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) Applied Mechanics (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(3) Heat and Heat Engines (ข้อสอบ
1 ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(4) Drawing (ข้อสอบ 1 ชุดวิชา
ใช้เวลา 36 ชั่วโมง)
ภาค ข. มีวิชา
(1) Electrotechnology (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) Naval Architecture (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(3) Engineering Knowledge (ข้อสอบ
2 ชุดวิชา แต่ละชุดวิชาใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(4) Oral
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง ประเภทเครื่องยนต์
และเครื่องจักรไอน้ำ ต้องสอบวิชา Engineering Knowledge ชุดที่ 3 เพิ่มอีก 1
ชุด
ข้อ 64
สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง การสอบแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาค ก. มีวิชา
(1) Mathematics (ข้อสอบ 1 ชุดวิชา
ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) Applied Mechanics (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(3) Heat Engines and
Thermodynamics (ข้อสอบ 1 ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
ภาค ข. มีวิชา
(1) Electrotechnology (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(2) Naval Architecture (ข้อสอบ 1
ชุดวิชา ใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(3) Engineering Knowledge (ข้อสอบ
2 ชุดวิชา แต่ละชุดวิชาใช้เวลา 3 ชั่วโมง)
(4) Oral
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง ประเภทเครื่องยนต์
และเครื่องจักรไอน้ำ ต้องสอบวิชา Engineering Knowledge ชุดที่ 3 เพิ่มอีก 1
ชุด
ข้อ 65
การเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมของสถาบันต่างๆ
เพื่อให้เข้ากับคุณสมบัติการสมัครสอบประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ
ตามข้อบังคับนี้ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
การขอเทียบชั้นประกาศนียบัตรของผู้ที่มีประกาศนียบัตรจากต่างประเทศในระดับเดียวกัน
ให้เป็นอำนาจของอธิบดีเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเป็นราย ๆ ไป
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่
3
หลักสูตร
ข้อ 66
หลักสูตรเกี่ยวกับการสอบความรู้ฝ่ายช่างกลเรือ ให้เป็นไปตามผนวก 2
ท้ายข้อบังคับนี้
ส่วนที่ 4
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
ข้อ 67
ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย
(2)
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายร้ายแรง
หรือมีความประพฤติเสียหายอันอาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย
หรือความไม่สงบขึ้นในเรือ
(3)
ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(4)
ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการหรือมีร่างกายไม่สมประกอบ
จนไม่สามารถทำการตามตำแหน่งหน้าที่ได้
(5)
ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ
(6) คุณสมบัติตาม (3) , (4), และ (5)
ผู้สมัครสอบต้องแสดงเอกสารใบรับรองแพทย์ ประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ 68 ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 28 ปีบริบูรณ์
(2) ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
ในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้ว ดังนี้
(ก)สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง ประเภทเครื่องยนต์
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
เกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือรวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ข)สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง ประเภทไอน้ำ
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
เกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือรวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ค)สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ง
ประเภทเครื่องยนต์และเครื่องจักรไอน้ำต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน ในจำนวนนี้ต้อง
- เคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- เคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ
และเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- อีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
(ง) การทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือในข้อนี้ หมายถึง
การทำงานในตำแหน่งนายยามเรือเดินในเรือกลเดินในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 1,500 กิโลวัตต์
หรือรองต้นกลในเรือกลเดินประเทศใกล้เคียง
หรือต้นกลในเรือกลเดินประเทศใกล้เคียงจำกัดเขตที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 750 กิโลวัตต์
(3) หรือมีคุณสมบัติตาม (1)
และสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดพรรกลินจากโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่เทียบเท่า
เคยเป็นต้นกลเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
และปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจักรกลของเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 4
ปี
ข้อ 69 ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
ต้องมีคุณสมบัติ นอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
( 1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
(2)
มีประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้ว
ดังนี้
(ก) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
ประเภทเครื่องยนต์ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
เกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือรวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ข) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสองประเภทไอน้ำ
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือเกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ รวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ค) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง ประเภทเครื่องยนต์
และเครื่องจักรไอน้ำ ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน
ในจำนวนนี้ต้อง
- เคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- เคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ
และเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- อีก 12 เดือน ต้องทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับ เคลื่อนเรือ
หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
(ง)การทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือในข้อนี้หมายถึง
การทำงานในตำแหน่งนายยาม
เรือเดินในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 750 กิโลวัตต์
หรือในตำแหน่งต้นกลเรือกลเดินในประเทศใกล้เคียงจำกัดเขตที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 750 กิโลวัตต์
(3) หรือมีคุณสมบัติตาม (1)
และสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดพรรคกลินจากโรงเรียนนายเรือ หรือสถาบันอื่นที่เทียบเท่า
และเคยปฏิบัติงานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจักรกลของเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี
ข้อ 70 ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี บริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือหลักสูตรใดเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และมีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือกลเดินประเทศใกล้เคียงจำกัดเขตที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 375 กิโลวัตต์
ดังนี้
(ก) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ประเภทเครื่องยนต์
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
เกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ รวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ข) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ประเภทไอน้ำ
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
เกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน และอีก 12 เดือน
ต้องเคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ รวมทั้งสิ้น 21 เดือน
(ค) สำหรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ประเภทเครื่องยนต์
และเครื่องจักรไอน้ำ ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ มาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน
ในจำนวนนี้ต้อง
- เคยทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- เคยทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและเครื่องจักรไอน้ำ
ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- อีก 12 เดือน ต้องทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
หรือเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ
(ง) การทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือในข้อนี้ หมายถึง
การทำงานในตำแหน่งนายยามเรือเดินในเรือกลเดินประเทศใกล้เคียงจำกัดเขต
ที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 375 กิโลวัตต์
ข้อ 71 ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ชำนาญงาน
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม ชำนาญงาน
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
(2) มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
หรือประกาศนียบัตร คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
และในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในแผนกช่างกลในเรือเดินทะเล
ที่มีเขตการเดินเรือทะเลเฉพาะเขต ที่มีเครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า 375
กิโลวัตต์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
(3)
มีประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเครื่องเรือกลประมงทะเลลึกชั้นหนึ่งและในขณะมีประกาศนียบัตรนี้
ต้องได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือกลประมงทะเลลึกชั้นหนึ่ง มาแล้วไม่น้อยกว่า
5 ปี หรือ
(4) มีคุณสมบัติตาม (1) และ
( ก) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพพันจ่าเอก พรรคกลิน หรือ
( ข)สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพ เพื่อเลื่อนฐานะชั้นพันจ่าเอก
เหล่าช่าง
ยุทธโยธา
(สาขาเครื่องยนต์ )
หรือ
( ค)เคยเป็นนายช่างกล ในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี และเคยปฏิบัติงาน ในหน้าที่ฝ่ายช่างกลเรือ ในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 4
ปี หรือ
( ง) ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายช่างกลเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
ข้อ 72
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่งต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ
67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2)
มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นสอง และในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือกลเดินทะเล
ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำชนิดที่มีหม้อดับไอมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(3)
มีคุณสมบัติตาม (1) และ
(ก) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปีหรือ
(ข) ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษฝ่ายช่างกลเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
กรมเจ้าท่า
ข้อ 73
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2)
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ยกเว้นสำหรับผู้มีประกาศนียบัตร คนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
(3) มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่ง
และในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า2 ปี
หรือมีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษชำนาญงาน
และในขณะมีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
(4)
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษาแผนกช่างเครื่องยนต์หลักสูตรไม่ต่ำกว่า
5 ปี จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่าและเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต
ที่เครื่องจักรใหญ่มีขนาดไม่น้อยกว่า375
กิโลวัตต์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(5)
มีคุณสมบัติตามข้อ (1) และ
(ก) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปีหรือ
(ข)
ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษฝ่ายช่างกลเรือของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีกรมเจ้าท่า
ข้อ 74
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษชำนาญงานต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ
67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งและในขณะที่มีประกาศนียบัตรนี้ได้เคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า3 ปี หรือ
(3)
มีคุณสมบัติตาม (1) และ
(ก) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีหรือ
(ข) ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายช่างกลเรือของ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
กรมเจ้าท่า
ข้อ 75
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นสองต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ
67 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า
19 ปีบริบูรณ์
(2)
เคยทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรไอน้ำ
ในเรือกลที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำชนิดที่มีหม้อดับไอ มาแล้วไม่น้อยกว่า 2
ปี
หรือถ้ามีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินลำน้ำชั้นที่หนึ่งมาแล้ว
ต้องเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือใช้เครื่องจักรไอน้ำชนิดที่มีหม้อดับไอมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปีหรือ
(3) มีคุณสมบัติตาม
(1) และ
( ก)
สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่
2 ฝ่ายช่างกล ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี หรือ
( ข)
สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนนายเรือชั้นปีที่
2 พรรคกลิน ของโรงเรียน นายเรือ หรือ
( ค)
สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนจ่า พรรคกลิน
โรงเรียนชุมพลทหารเรือ
หรือ
( ง)
สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพจ่าเอก พรรคกลิน หรือ
( จ)
เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี หรือ
( ฉ)ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายช่างกลเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีกรมเจ้าท่า
ข้อ 76
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินลำน้ำชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินลำน้ำชั้นหนึ่งต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ
67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินลำน้ำชั้นสอง
และเคยทำงานในหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินลำน้ำมาแล้วไม่น้อยกว่า1 ปี หรือ
(3)
มีคุณสมบัติตาม (1) และ
(ก) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่
2ฝ่ายช่างกลของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี หรือ
(ข) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 พรรคกลิน ของโรงเรียน นายเรือหรือ
(ค) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนจ่า พรรคกลิน
โรงเรียนชุมพลทหารเรือ หรือ
(ง) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพจ่าเอก พรรคกลิน หรือ
(จ) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(ฉ)ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายช่างกลเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
กรมเจ้าท่า
ข้อ 77
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่ง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ
67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
(2)
มีประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นสอง
และเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(3)
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษาฝ่ายช่างกล แผนกช่างเครื่องยนต์หรือช่างกลเรือ
หรือช่างไฟฟ้ากำลัง จากสถาบันการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ
หรือเทียบเท่า และเคยทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ
(4)
มีคุณสมบัติตาม (1) และ
(ก) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 2 ฝ่ายช่างกลของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี หรือ
(ข) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 พรรคกลิน ของโรงเรียนนายเรือ หรือ
(ค) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตร นักเรียนจ่าพรรคกลิน โรงเรียนชุมพลทหารเรือ หรือ
(ง) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพจ่าเอก พรรคกลิน หรือ
(จ) สอบความรู้ได้ตามสูตรอาชีพจ่าเอก ปกติ ช่างเครื่องยนต์ หรือ
(ฉ) สอบความรู้ได้ตามหลักสูตรอาชีพเลื่อนฐานะชั้นจ่าเอกเหล่าช่างยุทธโยธา
สาขาเครื่องจักรยนต์ หรือ
(ช) เคยปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายช่างกลในเรือหลวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
(ซ) ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ ฝ่ายช่างกลเรือ ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีกรมเจ้าท่า
ข้อ 78
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำของเรือกลเดินลำน้ำชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรไอน้ำของเรือกลเดินลำน้ำชั้นสอง
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2)
เคยทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเล หรือเรือกลเดินลำน้ำ
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
(3)
มีคุณสมบัติตาม (1) และผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษ
ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีกรมเจ้าท่า
ข้อ 79
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นสอง
ผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นสอง ต้องมี
คุณสมบัตินอกเหนือจากที่กำหนดในข้อ 67 ดังนี้
(1)
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
(2)
เคยทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรยนต์ในเรือกลเดินทะเล
หรือเรือกลเดินลำน้ำมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ
(3)
มีคุณสมบัติตาม (1)
และผ่านการอบรมหลักสูตรนักเรียนลูกเรือเดินทะเลฝ่ายช่างกลเรือ
ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
ข้อ 80
การนับระยะเวลาการทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
สำหรับคุณสมบัติผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตร
ตั้งแต่ชั้นประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสามขึ้นไป หมายถึง
ผู้ที่ทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือที่ใช้เครื่องจักรใหญ่เดินทาง
หรือในระหว่างการซ่อมใหญ่เท่านั้นในระหว่างที่เรือจอดจะนำมาคิดเป็นระยะเวลาการทำงานไม่ได้
สำหรับชั้นประกาศนียบัตรอื่น ๆ การนับระยะเวลาทำงานให้นับตามจำนวนปีที่ทำงาน
ข้อ 81
การรับรองระยะเวลาการทำงานในเรือของผู้สมัครสอบ เพื่อขอรับประกาศนียบัตรให้ถือตามหลักฐานการทำงานในเรือ
โดยให้เจ้าของเรือเป็นผู้รับรองระบุหน้าที่ตำแหน่งในเรือและหน้าที่ในขณะเข้ายามเรือเดิน
และจำนวนระยะเวลาตั้งแต่เมื่อใด ถึงเมื่อใด ตามแบบ ป .2 หรือการนับการทำงานในเรือจะคิดจากหลักฐานการอยู่เรือ ตามสัญญาเลิกจ้าง
หรือหลักฐานในใบอนุญาตใช้เรือก็ได้
ข้อ 82
บุคคลผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะทำการในเรือไทย ให้ยื่นคำร้องต่อ
กรมเจ้าท่า เพื่อขอรับประกาศนียบัตร
“รับรอง ”
ความรู้และความชำนาญสำหรับควบคุมเครื่องจักรตามชั้นของประกาศนียบัตรที่บุคคลนั้นถืออยู่
แบบของประกาศนียบัตรรับรองให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้
ให้อธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น
เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติความรู้และความสามารถ
ข้อ 83
ผู้ถือประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ ต้องการจะให้กรมเจ้าท่าออก
Endorsement of Certificate
ตามอนุสัญญา
International Convention on Standard of Training Certification
and Watchkeeping for Seafarers 1978
จะต้องแสดงใบรับรองว่ามีความรู้จากสถาบัน
ซึ่งกรมเจ้าท่าได้รับรองแล้ว คือ
1. Fire Fighting Course Certificate
2. First Aid at Sea Certificate
ให้อธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการขึ้น เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ
ความรู้และความสามารถ
ข้อ 84
ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นใดซึ่งออกให้โดยประเทศอื่น
ถ้าประสงค์จะขอสอบความรู้เพื่อรับประกาศนียบัตร ตามข้อบังคับนี้ในชั้นนั้น ๆ
ต้องมีคุณสมบัติและแสดงหลักฐานอื่น ๆ ดังนี้
(1)
มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ยกเว้นข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีประกาศนียบัตรในชั้นที่ต่ำกว่ามาก่อน
(2)
ถ้าผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้น 1
และ ชั้น 2 ต้องแสดงหลักฐานว่า
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือหลักสูตรใดเทียบเท่าไม่ต่ำกว่านี้
(3)
หลักสูตรการสอบความรู้ของประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
หรือใบรับรองผลการสอบความรู้ของประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
จากรัฐบาลผู้ออกประกาศนียบัตร
(4)
หนังสือรับรองการทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
ให้อธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการสอบ
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 5
ค่าธรรมเนียม
ข้อ
85
ให้ผู้สมัครสอบชำระค่าธรรมเนียมในการสอบตามอัตราดังนี้
(1)
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นหนึ่ ง 800.- บาท
(2)
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอ ง 600.- บาท
(3)
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสา ม 500.- บาท
(4)
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสามชำนาญงา น 400.- บาท
(5 )
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ ง 300.- บาท
(6)
ประกาศนียบัตรใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน 200.- บาท
(7)
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งหรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นสอง หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ ง 150.- บาท
(8)
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นสอง หรือคนใช้เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นสอ ง 100.- บาท
(9) ค่าธรรมเนียมใบประกาศนียบัตรรับรอง 100.-
บาท
(10)
การสอบเพื่อระบุข้อกำหนดในประกาศนียบัต ร
300.- บาท (ENDORSEMENT OF CERTIFICATE )
ข้อ 86
การต่ออายุประกาศนียบัตรหรือการขอใบแทนประกาศนียบัตรชั้นต่าง ๆ
ต้องชำระค่าธรรมเนียมกึ่งหนึ่งของอัตราในข้อ 85 การสอบแก้ตัว
ต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบวิชาละ 10.-
บาท
ข้อ 87
ถ้าประกาศนียบัตรสูญหายหรือเสียหายไปเนื่องจากเรือที่ผู้มีประกาศนียบัตร
ประจำอยู่อับปางและสามารถแสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้
ผู้มีประกาศนียบัตรจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทน ตามข้อ 86
< Top -
ขึ้นบนสุด >
ส่วนที่ 6
การออกประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถ
ข้อ 88
เมื่อผู้สมัครสอบ สอบได้ครบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้สำหรับชั้นประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
และมีความประสงค์จะขอรับประกาศนียบัตรให้ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ใบรับรองแพทย์
(2)
สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(3)
สำเนาวุฒิบัตรการศึกษา (ถ้ามี )
(4)
ใบแสดงผลการสอบความรู้ (แบบ ป .
1)
(5)
รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือแว่นตาดำขนาด 2 ”
x 2 ”
(6)
หนังสือรับรองการทำงานในแผนกช่างกลเรือ (แบบ ป . 2)
(7) เอกสารอื่น ๆตามคุณสมบัติของผู้สมัครสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรชั้นนั้น ๆ
เมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง ให้ออกประกาศนียบัตรให้แก่ผู้นั้นได้
ข้อ 89
แบบของประกาศนียบัตรตามชั้นประกาศนียบัตร
สำหรับฝ่ายช่างกลเรือให้เป็นไปตามแบบประกาศนียบัตรที่แนบท้ายกฎข้อบังคับนี้
ข้อ 90
ผู้ที่จะขอรับประกาศนียบัตรชั้นใด ต้องสอบความรู้ได้ตามหลักสูตรตามชั้นประกาศนียบัตรที่กำหนดไว้สำหรับชั้นนั้น
ข้อ 91
ผู้ที่จะขอรับประกาศนียบัตรชั้นใด ต้องคืนประกาศนียบัตรที่ถืออยู่เดิมถ้ามี
ข้อ 92
การออกประกาศนียบัตร
การออกใบแทนประกาศนียบัตรจะออกให้เมื่อ
ก. ประกาศนียบัตรสูญหาย
และผู้มีประกาศนียบัตรนำหลักฐานการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแสดง
ข. ประกาศนียบัตรชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
ให้นำประกาศนียบัตรเก่ามาแสดงด้วย
ข้อ 93
การแก้ไขข้อความในประกาศนียบัตร
ให้ผู้มีประกาศนียบัตรนั้น ยื่นคำร้องต่อกองตรวจเรือ กรมเจ้าท่า
หรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้ออกประกาศนียบัตรนั้น
พร้อมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จะนำมาขอแก้ไขเมื่อได้ตรวจสอบหลักฐาน
หรือเอกสารจนเป็นที่แน่ใจว่าถูกต้องแล้วให้ทำการแก้ไขได้โดยได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจเรือ
หรือเจ้าท่าภูมิภาคแล้วแต่กรณี
ข้อ 94
ประกาศนียบัตรที่ออกไปก่อนที่ข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าประกาศนียบัตรนั้น ๆ
จะสิ้นอายุเมื่อสิ้นอายุแล้วให้ออกประกาศนียบัตรใหม่
โดยเทียบลำดับชั้นประกาศนียบัตรระหว่างชั้นประกาศนียบัตร
ซึ่งกำหนดโดยข้อบังคับนี้กับประกาศนียบัตรตามข้อบังคับฉบับเดิม ดังนี้
ลำดับชั้นประกาศนียบัตร
ตามข้อบังคับฉบับเดิม
ลำดับชั้นประกาศนียบัตร
ตามข้อบังคับฉบับนี้
ลำดับที่
1
ประกาศนียบัตรนายเรือ
ช่างกลเรือชั้นหนึ่ง
ลำดับที่
2
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสอง
ลำดับที่
3
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือชั้นสาม
ลำดับที่
4
ประกาศนียบัตรนาย
ช่างกลเรือชั้นสามชำนาญงาน
หรือประกาศนียบัตรนายช่าง
กลเรือชั้นสองเฉพาะลำ
หรือประกาศนียบัตรผู้ควบคุม
เครื่องเรือกลประมงทะเลลึกชั้นหนึ่ง
ลำดับที่
5
ประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
หรือประกาศนียบัตรผู้ควบคุม
เครื่องเรือกลประมงทะเลลึก
ชั้นสอง หรือประกาศ น ียบัตรคนใช้
ลำดับที่
6
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นหนึ่งพิเศษชำนาญงาน
ลำดับที่
7
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นหนึ่งหรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเล
ชั้นสอง หรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
ลำดับที่
8
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นสองหรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นสอง
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ
ชั้นหนึ่ง
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ
ชั้นสอง
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ
ชั้นสาม
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ
ชั้นสามชำนาญงาน
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ หรือ
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักร
ไอน้ำเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นหนึ่งพิเศษ ชำนาญงาน
เทียบเท่ากับ
ประกาศนัยบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นหนึ่งหรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลเดินทะเล
ชั้นสองหรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นหนึ่ง
เทียบเท่ากับ
ประกาศนียบัตรคนใช้เครื่องจักรยนต์
ชั้นสองหรือประกาศนียบัตรคนใช้
เครื่องจักรไอน้ำเรือกลลำน้ำชั้นสอง
ข้อ 95
ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่ใช้บังคับนี้
การนับเวลาปฏิบัติหน้าที่นายยามเรือเดินในทะเลของเรือราชการ ตามข้อ 21 (3)
และข้อ 22 (2)
ให้นับได้โดยมิต้องคำนึงว่าบุคคลนั้นมีประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง ) หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง ) อยู่หรือไม่
ข้อ 96 บทบัญญัติในข้อ 36 (1)
ให้ใช้
MANOEUVRING BOARD CERTIFICATE
แทนได้จนกว่าจะมีการเปิดหลักสูตร
RADAR SIMULATOR
ขึ้นในประเทศไทย
บทบัญญัติในข้อ 36 (2)
ยังมิให้ใช้บังคับจนกว่าจะมีการเปิดหลักสูตรที่กำหนดไว้ขึ้นในประเทศไทย
ข้อ 97
ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับตั้งแต่ใช้ข้อบังคับนี้ กรมนับเวลาทำงานในฝ่ายช่างกลในเรือ
สำหรับเรือราชการของผู้สมัครสอบเพื่อขอรับและเลื่อนชั้นประกาศนียบัตร
ให้นับโดยมิต้องคำนึงถึงว่า บุคคลนั้นได้มีประกาศนียบัตรมาก่อนหรือไม่
ข้อ 98
อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 20เมษายนพ .ศ .2532
อำพล ตียาภรณ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคมรักษาราชการแทน
อธิบดีกรมเจ้าท่า
< Top -
ขึ้นบนสุด >
มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net |
MarinerThai.Com