ประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว
ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
- -- - - - - -
หมายเหตุ- เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา
คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ได้มีมติให้ออกร่างประกาศว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว
โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยที่ได้มีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของคนต่างด้าวในกิจการโทรคมนาคมและให้อำนาจคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กทช.)
ในการกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการบางลักษณะหรือบางประเภทที่เป็นนิติบุคคลจะต้องกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 21 มาตรา 22
และมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 อันเป็น พ.ร.บ.ที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ประกาศนี้ใช้บังคับกับผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตแบบที่สอง
และผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามอันมีคุณสมบัติเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามความในมาตรา
8 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
ข้อ 2.ผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามมีหน้าที่ต้องกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กทช.กำหนดไว้ในประกาศนี้
รวมทั้งมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อมิให้ขัดต่อข้อห้ามดังกล่าวโดยเคร่งครัด
ข้อ 3.การกระทำหรือพฤติกรรมที่ถือว่ามีลักษณะหรือส่อว่าจะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว
ซึ่งผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามมีหน้าที่ต้องกำหนดข้อห้ามตามข้อ
2 โดยต้องรวมถึงลักษณะดังต่อไปนี้
3.1
การกระทำหรือพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว หมายความรวมถึง
(ก)
คนต่างด้าวถือหุ้นเกินสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงกรณีการถือหุ้นของตัวแทนเชิด
(nominee)
(ข) ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทนมีสิทธิในการออกเสียงในการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (Shareholder Voting
Right) เกินกว่าสัดส่วนที่ถือไว้จริง
(ค) ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทนมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งบริหารสำคัญต่อการกำหนดนโยบายหรือดำเนินการของนิติบุคคล
เช่น ประธานกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หัวหน้าผู้บริหารด้านจัดซื้อ
หรือหัวหน้าผู้บริหารด้านการเงิน เป็นต้น
(ง) ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทนมีอำนาจในการกำหนด อนุมัติ หรือคัดค้าน (veto)
นโยบายของนิติบุคคลที่เป็นผู้รับใบอนุญาตในการลงทุนและบริหารงาน
(จ) ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทนมีอำนาจในการลงนามทำนิติกรรมผูกพันนิติบุคคลในกิจกรรมหรือธุรกรรมสำคัญ
(ฉ) ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทนมีอำนาจในการคัดเลือก
ว่าจ้างงานหรือกำหนดตำแหน่งสำคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้รับใบอนุญาต เช่น
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หัวหน้าผู้บริหารด้านจัดซื้อ
หรือหัวหน้าผู้บริหารด้านการเงิน เป็นต้น
(ช) การว่าจ้าง
หรือแต่งตั้งคนต่างชาติที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว ผู้แทน
หรือตัวแทน (connected transaction)
ในตำแหน่งสำคัญที่มีผลกับการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานของนิติบุคคล เช่น
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หัวหน้าผู้บริหารด้านจัดซื้อ
หรือหัวหน้าผู้บริหารด้านการเงิน เป็นต้น
(ซ) การกระทำใดๆ
ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนเชิดของผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าว
3.2
การกระทำหรือพฤติกรรมที่ส่อหรือมีแนวโน้มว่าเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว
(ก)
มีนิติสัมพันธ์กับแหล่งที่มาของเงินลงทุนและเงินกู้จากผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ
เช่น การค้ำประกันเงินกู้ การให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด
การประกันความเสี่ยงทางธุรกิจ หรือการให้สินเชื่อ
(ข) การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
สัญญาแฟรนส์ไชส์ (franchise)
หรือสัญญาที่ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวกับนิติบุคคลต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือที่เป็นผู้ถือหุ้นอันจะมีผลเป็นการถ่ายโอนค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ตอบแทนแก่บุคคลดังกล่าว
(ค)
การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างหรือสัญญาจ้างบริหารกับผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ
หรือลูกจ้าง หรือพนักงานของผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ เช่น สัญญา
outsourcing ข้ามชาติ
(ง)
การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างระหว่างผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือกับผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทย
เช่น การแบ่งแยกสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้น หรือกรรมการ
(จ)
การจัดสรรและแบ่งต้นทุนในประกอบกิจการร่วมกับผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ
อันมีลักษณะแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ หรือเป็นการจัดการแทนผู้รับใบอนุญาต
(ฉ)
การทำธุรกรรมในลักษณะโอนราคาหรือสมยอมด้านราคากับผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ
(ช)
พฤติกรรมอื่นใดที่ลักษณะสำคัญหรือส่งผลเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือ
เป็นพิเศษหรือแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
(ซ)
การแต่งตั้งบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือนิติบุคคลในเครือดำรงตำแหน่งในบริษัทของตน
(ฌ) รับผลประโยชน์
หรือค่าตอบแทนจากผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างด้าว
(ญ)
การให้ผู้ถือหุ้นต่างด้าวหรือตัวแทนเข้ามามีอำนาจควบคุมอย่างมีนัยสำคัญไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว
(chain principle) การกระทำหรือพฤติกรรมตามข้อ 3.2 (ก) ถึง (ญ)
ต้องเอื้อหรือส่อว่ามีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้ถือหุ้นต่างชาติหรือนิติบุคคลในเครือมากกว่าแนวปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับทั่วไปในทางธุรกิจ
(arm"s length test)
ข้อ 4.ให้ผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สาม
ยื่นรายงานโดยมีรายละเอียดกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยบุคคลต่างด้าวแก่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
พร้อมทั้งรับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลว่ามิได้ดำเนินการอันขัดต่อข้อห้ามและเงื่อนไขตามที่ตนกำหนดทุกข้อแล้วภายในหนึ่งเดือนหลังเสร็จสิ้นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงว่าจะมีการละเมิดหรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่กำหนด
ให้ผู้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งแจ้งให้ กทช. ทราบโดยทันที
พร้อมทั้งมาตรการดำเนินการแก้ไข
ข้อ 5.ในกรณีที่
กทช.
เห็นว่าผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบอนุญาตมีแนวโน้มที่อาจเป็นผู้ฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามการกระทำที่ตนเองกำหนด
กทช.อาจมีคำสั่งแจ้งแก่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบอนุญาต ดังนี้
5.1
หากมีการดำเนินการฝ่าฝืนหรือขัดกับข้อห้ามตามข้อ 3.1
หรือมีการดำเนินการฝ่าฝืนหรือขัดกับข้อห้ามตามข้อ 3.2
หลายข้อกับคนต่างด้าวเดียวหรือนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
หรือมีพฤติกรรมเช่นว่านั้นบ่อยครั้ง
ให้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch list)
5.2
หากมีการดำเนินการฝ่าฝืนหรือขัดกับข้อห้ามตามข้อ 3.2
ให้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามอง (Watch list) ให้ กทช.ประกาศคำสั่งตามวรรคหนึ่งให้สาธารณชนทราบเป็นการทั่วไป
ข้อ 6.ให้นิติบุคคลที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามอง
(Watch list)
มีหน้าที่ต้องจัดส่งรายงานผลการดำเนินการรวมทั้งมาตรการแก้ไขเยียวยาพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามกระทำในทุกสามเดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งแจ้ง
รวมทั้งมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลใดๆ แก่ กทช.อันเกี่ยวด้วยการดำเนินการแก้ไขเยียวยาการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามการกระทำ
ข้อ 7.ให้นิติบุคคลที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามองพิเศษ
(Priority Watch list)
มีหน้าที่ต้องจัดส่งรายงานผลการดำเนินการรวมทั้งมาตรการแก้ไขเยียวยาพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามการกระทำในทุกเดือน
รวมทั้งมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลใดๆ แก่ กทช.อันเกี่ยวด้วยการดำเนินการแก้ไขเยียวยาการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามการกระทำ
ข้อ 8.ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามอง
(Watch list) หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามองพิเศษ (Priority Watch list)
แล้วแต่กรณี ที่ไม่ปฏิบัติตามความในข้อ 6 หรือ ข้อ 7 หรือเป็นกรณีที่ กทช.พิจารณาว่าร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญอาจถือเป็นเหตุให้
กทช.เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วยเหตุที่ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 9.ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตใดที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามอง
(Watch list) หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามองพิเศษ (Priority Watch list)
แล้วแต่กรณี ได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ กทช.ว่าได้ดำเนินการตามมาตรการเยียวยาแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
หรือในกระบวนการตรวจสอบของสำนักงานได้แสดงให้เห็นว่าไม่มีการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามการกระทำอีก
กทช.อาจมีคำสั่งเพิกถอนผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตออกจากการเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามอง
(Watch list) หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการจับตามองพิเศษ (Priority Watch list)
แล้วแต่กรณีได้
ข้อ 10.ในกรณีมีข้อสงสัยว่าจะมีการฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้ามตามข้อ
3 โดยผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามรายหนึ่งรายใด กทช.อาจสั่งให้สำนักงานดำเนินการไต่สวนหรือตรวจสอบ
โดยผู้รับใบอนุญาตที่ต้องสงสัยจะต้องให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการไต่สวนหรือตรวจสอบ
หาก กทช.พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อห้าม
อาจมีคำสั่งตามข้อ 5
และอาจให้มีมาตรการเยียวยาตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนด
ข้อ 11.เอกสาร
รายงาน
หรือข้อมูลใดที่ผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามได้ยื่นแก่ กทช.
หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามประกาศฉบับนี้
ให้ได้รับการคุ้มครองตามระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ
พ.ศ.2548
ข้อ 12.ให้ผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้รับใบอนุญาตแบบที่สามอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต้องจัดทำข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กทช.กำหนดไว้ในประกาศนี้เสนอต่อ กทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 14 วัน
นับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 13.ให้
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
มีหน้าที่ตรวจสอบหรือดำเนินการให้ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทาน
หรือสัญญาภายใต้สัญญาร่วมการงานดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้
และแจ้งให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ 14.ประกาศนี้มีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net |
MarinerThai.Com