Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd.

Nathalin Group FB MarinerThai News

การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และคลื่นมหันตภัยสึนามิ

การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และคลื่นมหันตภัยสึนามิ


บทความและรูปภาพจาก หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9803

โดย วรวิทย์ ชีวาพร และพิชาญ สว่างวงศ์ กลุ่มสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา E mail : voravit@buu.ac.th

 

Alfred Wegener นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเป็นคนแรกที่ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก โดยเดิมทีเปลือกโลกเกาะกันเป็นแผ่นเดียวกันเรียกว่า "Pangaea" ประมาณ 200 ล้านปีมานี้

มวลของเปลือกโลกเริ่มแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ เคลื่อนที่ไปตามกระแสหมุนเวียนของของหลอมเหลวใต้พื้นผิวโลก จนมีรูปร่างของพื้นทวีปดังที่เห็นในปัจจุบัน

อัตราการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกค่อนข้างช้าประมาณ 2-3 เซนติเมตรต่อปี ทิศทางการเคลื่อนตัวขึ้นอยู่กับกระแสการไหลเวียนของของหลอมเหลวใต้พื้นผิวโลก

การเคลื่อนตัวนี้ทำให้เปลือกโลกบางส่วนเคลื่อนตัวออกจากกัน เช่น ตรงบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกมีขนาดกว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

แต่เปลือกโลกบางส่วนเคลื่อนตัวเข้าหากันและเกิดการปะทะกันทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินเป็นลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหวอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการเคลื่อนตัวในลักษณะที่เรียกว่า "convergent plate" คือแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะมุดตัวจมลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง

 

แผ่นที่มุดตัวลงอาจดันให้แผ่นบนลอยตัวขึ้นเกิดการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก หรือจะดันให้ปลายของอีกแผ่นเกิดการโค้งงอเป็นการสะสมพลังงาน และดีดตัวขึ้นเป็นแผ่นดินไหว

 

ลักษณะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกดังกล่าวเราเรียกว่า "Plate tectonic"

 

ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07:58:53 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่วัดได้ 9.0 ริกเตอร์ ที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรอยเลื่อนระหว่างเปลือกโลก Indopacific plate (ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย) ต่อกับ Eurosian plate (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติจากคลื่นสึนามิในเวลาต่อมา

 

ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนับเป็นขนาดใหญ่สุดอันดับที่ 4 นับจากปี ค.ศ.1900 คลื่นยักษ์ได้คร่าชีวิตผู้คนรอบฝั่งทะเลมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ประเทศไทย โซมาเลีย และประเทศอื่นๆ ไปจำนวนหลายหมื่นคน และคาดว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจพุ่งสูงถึงแสนคน

 

นับเป็นมหาวิบัติภัยครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติมนุษยชาติ

 

ในระยะแรกของการเกิดภัยพิบัติ หน่วยงานทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา(US Geological Survey) ได้ตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวได้ที่ 8.1 ริกเตอร์ แต่หลังจากการวิเคราะห์ในเวลาต่อมาได้เพิ่มขนาดความรุนแรงของการไหวเป็นที่ 8.5 และ 9.0 ริกเตอร์ในท้ายที่สุด

 

จุดศูนย์กลางการไหวพบอยู่ที่ 3.298 ํN, 95.779 ํE ประมาณ 160 กิโลเมตร จากทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา รู้สึกการสั่นสะเทือนได้ถึงบังกลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย และมัลดีฟส์

 

การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ผิดปกติเนื่องจากกินอาณาบริเวณกว้างขวางตลอดรอยเลื่อนยาว 1,200 กิโลเมตร ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเปลือกโลกแผ่น Indopacific plate ที่มุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลก Eurosian plate

 

เมื่อแผ่น Indopacific plate เลื่อนตัวมุดลงไปตามกระแสการไหลเวียนของหินหลอมเหลวใต้เปลือกโลก ก็จะฉุดปลายของแผ่น Eurosian plate ให้โค้งงอตามลงไปด้วย เป็นการสะสมพลังงานในแผ่น Eurosian plate

 

เมื่อการสะสมพลังงานถึงระดับหนึ่ง ปลายของแผ่น Eurosian plate ก็จะดีดตัวขึ้นเหมือนแผ่นสปริงเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นแผ่นดินไหว และดันมวลน้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปให้โป่งขึ้นเป็นคลื่นยักษ์

 

และทางซีกขวามือของคลื่นยักษ์นี้จะเกิดร่องน้ำลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปกติมาก เนื่องจากมวลน้ำบริเวณที่เป็นร่องน้ำนี้ถูกดันขึ้นไปเป็นคลื่นยักษ์ ขั้นต่อมาคลื่นยักษ์นี้จะลดระดับความสูงลง และแตกออกเป็นคลื่นย่อมลงมา 2 ลูก เคลื่อนตัวออกจากกันในลักษณะเป็นวงรีห่างจากแนวรอยเลื่อนตั้งแต่บริเวณหัวเกาะสุมาตรา เกาะนิโคบาร์ และหมู่เกาะอันดามัน

 

คลื่นลูกหนึ่งจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือ(ทิศตะวันตก) เข้าหาชายฝั่งประเทศศรีลังกาและอินเดีย ส่วนคลื่นอีกลูกจะเคลื่อนที่เข้าหาชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย

 

ดังนั้น ชายฝั่งของศรีลังกา อินเดีย และไทย จึงรับกับการโถมตัวของคลื่นยักษ์สึนามิอย่างเต็มๆ ขณะที่ บังกลาเทศ พม่า มาเลเซีย ได้รับผลน้อยกว่าชนิดเฉียดๆ

 

คลื่นยักษ์ลูกที่เคลื่อนตัวมาทางชายฝั่งอันดามันของไทยนี้จะมีร่องน้ำลึกอยู่ทางขวามือของคลื่น เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งร่องน้ำลึกนี้จะดูดน้ำทะเลชายฝั่งเข้าหาคลื่นยักษ์ ก่อนที่จะถาโถมเข้าหาชายฝั่ง

 

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเห็นน้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วก่อนคลื่นยักษ์โถมเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างของการโถมเข้าหาชายฝั่งของคลื่นยักษ์ในซีกตะวันตกฝั่งประเทศศรีลังกาและอินเดีย คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นนี้มีขนาดสูงประมาณ 10 เมตร และกวาดเอาสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนบริเวณชายฝั่งลงสู่ทะเลราบเป็นหน้ากลอง

 

นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหลังปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ พื้นท้องทะเลของแผ่นเปลือกโลก Eurosian plate จะถูกยกขึ้นประมาณ 10 เมตร เหนือแผ่น Indopacific plate และปรากฏการณ์ครั้งนี้เกิดจากการขยับตัวของเปลือกโลกตลอดแนวยาวของรอยเลื่อน ทำให้กิดแผ่นดินไหวเป็นอาณาบริเวณกว้าง ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องตลอดแนวตั้งแต่เกาะสุมาตรา เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามัน จนถึงพม่า เป็นระยะๆ

 

การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดหลังจากแผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ บริเวณตะวันตกของนิวซีแลนด์ หมู่เกาะอ๊อกแลนด์ และหมู่เกาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย เป็นเวลา 3 วัน เข้าใจว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวทั้งสองครั้งนี้ โดยแผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์เป็นตัวเร่งให้เกิดการไหวที่มหาสมุทรอินเดีย เป็นลักษณะลูกโซ่ของการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากปกติแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ขึ้นไป จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงปีละครั้งเท่านั้น

 

พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 9 ริกเตอร์นี้ มีขนาดมากกว่าพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 เดือน หรือมากกว่าพลังงานจากพายุเฮอร์ริเคนอิสาเบลที่พัดเป็นเวลา 70 วัน หรือเป็นพลังงานที่มากพอที่จะต้มน้ำเดือดปริมาณ 5,000 ลิตร แจกจ่ายให้กับคนทั้งโลกได้

 

ผลจากแผ่นดินไหวนี้อาจทำให้การหมุนรอบตัวเองของโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วยโดยทำให้องศาการหมุนเกิดการเปลี่ยนไป หรืออีกนัยหนึ่งทำให้ความยาวของวันเพิ่มขึ้นประมาณ 3 ไมโครวินาที ซึ่งอาจส่งผลให้ฤดูกาลและภูมิอากาศในอนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ด้วย

 

ภัยพิบัติในครั้งนี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล ประมาณว่ายอดผู้เสียชีวิตในครั้งนี้อาจสูงถึงหนึ่งแสนคน แบ่งเป็นอินโดนีเซีย 80,000 คน ศรีลังกา 30,000 คน อินเดีย 15,000 คน ไทย 3,000 คน โซมาเลีย 100 คน และประเทศอื่นๆ อีกเล็กน้อย ไม่รวมถึงความสูญเสียทางทรัพย์สินและจิตใจ เนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลกครั้งนี้เกิดขึ้นตามแนวยาวของรอยเลื่อนบริเวณเกาะสุมาตรา เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามัน ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งอันดามันของไทยประมาณสี่ร้อยกิโลเมตร คลื่นยักษ์นี้ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงถึงชายฝั่ง

 

ดังนั้น หากมีระบบการตรวจสอบแผ่นดินไหวที่วัดได้แน่นอนชัดเจนและรวดเร็ว ผนวกกับระบบการเตือนภัยจากคลื่นสึนามิโดยทุ่นลอยในทะเล และการส่งสัญญาณเตือนภัยให้กับผู้คนที่อยู่บริเวณเสี่ยงแล้ว มหันตภัยในครั้งนี้แม้หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คงช่วยลดความอเน็จอนาถและผลกระทบต่อชีวิตผู้คนลงได้อย่างมาก

 


MarinerThai.Net | | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   7316

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Nathalin Group Photos from Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network