Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

MarinerThai 2004 Co., Ltd. MarinerThai 2004 Co., Ltd.

ทฤษฎีเพี้ยนๆ ของเข็มทิศเบี้ยวๆ ไม่ไขปริศนาสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ทฤษฎีเพี้ยนๆ ของเข็มทิศเบี้ยวๆ ไม่ไขปริศนา “สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา”


บทความและรูปภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์ 10 มิถุนายน 2548

 

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา พื้นที่ปริศนาที่วัตถุเฉียดใกล้หายไปอย่างลึกลับ

 

เมตาเรลิเจียน/วิกิพิเดีย-ความลึกลับของ “สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา” ยังคงเป็นที่กล่าวถึงในความ “อาถรรพ์” จากการหายไปอย่างลึกลับของเรือเดินสมุทร เครื่องบินหรือแม้แต่เรือพายขนาดเล็ก ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ข้อสงสัยเกี่ยวกับ “สามเหลี่ยมปีศาจ” นี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายให้วิทยาศาสตร์หา “คำตอบ” เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้

 

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมในทะเลซึ่งมีเนื้อที่ 1.5 ล้านตารางไมล์ กินพื้นที่เบอร์มิวดาซึ่งเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือไล่ไปยังฟลอริดาถึงเปอร์โตริโก พื้นที่แห่งปริศนานี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2493 โดย อี วี ดับเบิลยู โจนส์ (E.V.W.Jones) ที่เล่าถึงการหายไปอย่างลึกลับของเรือและเครื่องบินหลายลำ ผ่านการเผยแพร่ในข่าวล้อมกรอบของเอพี พร้อมกับขนานนามพื้นที่สามเหลี่ยมลึกลับนี้ให้เป็น “ทะเลของปีศาจ

 

ปริศนาของสามเหลี่ยมลึกลับถูกกระพือด้วยแรงหนังสือ

หลังจากนั้นก็มีการรายงานถึงปริศนาของการหายไปในพื้นที่สามเหลี่ยมนี้อีกหลายครั้ง จนกระทั่ง พ.ศ.2517 ชารลส์ เบอร์ลิตซ์ (Charles Berlitz) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา” (the Bermuda Triangle) ซึ่งเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ “เบสต์เซลเลอร์” (Best-seller) ทำให้สามเหลี่ยมปีศาจนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และ “เที่ยวบินที่ 19” (Flight 19) อันเป็นเที่ยวบินฝึกหัดทิ้งระเบิดของทหารอากาศสหรัฐ (U.S. Navy aircraft) ก็ได้กลายเป็นการหายไปที่โด่งดังที่สุด

เส้นแดงคือเส้นอะกอนิกที่มีจุดปลายอยู่ที่ทิศเหนือแม่เหล็กและใต้แม่เหล็ก ซึ่งอำนาจของสนามแม่เหล็กจะเบนให้เข็มทิศชี้ไปยังเกาะปรินซ์ออฟเวลส์ของแคนาดา

ภายในเที่ยวบินที่ 19 มีลูกเรือ 5 คน ซึ่งมีเพียงผู้บังคับการเพียงคนเดียวที่ไม่ใช่นักบินฝึกหัด พวกเขาเริ่มบินจากเมืองฟอร์ท ลอเดอร์เดล (Ft. Lauderdale) ของฟลอริดาในเวลาประมาณบ่าย 2 ของวันที่ 5 ธ.ค.2488 ซึ่งจากการสื่อสารทางวิทยุผู้บังคับการแจ้งว่าเข็มทิศไม่ทำงานและเชื่อว่าฝูงบินกำลังอยู่เหนือหมู่เกาะเล็กๆ ที่น่าจะเป็นฟลอริดา คีย์ (Florida Keys) นั่นหมายความว่าฝูงบินได้ห่างจุดหมายออกไปทางทิศตะวันตก โดยเขาคิดว่ากำลังนำฝูงบินไปยังฟลอริดามุ่งสู่ทิศเหนือ บัดนั้นสภาพอากาศก็ยิ่งเลวร้ายและการติดต่อก็ขาดหายไปเป็นช่วงๆ จากนั้นลูกเรือทั้ง 5 คนก็สาบสูญไป

ทั้งนี้เบอร์ลิตซ์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าฝูงบินของเที่ยวบินทิ้งระเบิดเหล่านั้นถูกออกแบบให้ลอยน้ำได้เป็นเวลานาน ดังนั้นน่าจะพบพวกเขาในวันถัดมาซึ่งมีรายงานว่าเป็นวันที่ทะเลสงบ แต่ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่าเรือบินทิ้งระเบิดไม่อาจทนต่อสภาพทารุณของทะเลได้ ขณะเดียวกันเรือบินของหน่วยกู้ภัยและค้นหาที่พยายามตามหาพวกเขาโดยได้พยายามหาทั้งคืนของวันนั้นแต่ก็คว้าน้ำเหลว โดยทีมเรือบินค้นหาที่ชื่อ “มาร์ติน มารินเนอร์” (Martin Mariner) ซึ่งมีอยู่ 2 ลำ ก็มีลำหนึ่งหายไปอีก ส่วนอีกลำสามารถไปถึงยังเป้าหมายตามกำหนด

พร้อมกันนี้ความลึกลับของทีมค้นหาที่สาบสูญไปก็สร้างความสงสัยให้กับคนทั่วไปอีกไม่น้อย และเจ้าเรือบินดังกล่าวที่ถูกขนานนามว่า “ระเบิดบินได้” หรือ “ถังแก๊สบินได้” ก็ดูเหมือนจะระเบิดไประหว่างปฏิบัติภารกิจ โดยมีพยานรู้เห็นที่เป็นลูกเรือของเรือพาณิชย์ที่อ้างว่าพวกเขาเห็นการระเบิดกลางอากาศและได้ล่องผ่านซากที่พวกเขาคิดว่าน่าจะเป็นถังน้ำมันและเศษเครื่องบิน ความน่าสงสัยยิ่งเพิ่มเข้าไปอีกเมื่อรายงานของราชการทหารได้บันทึกถึงอุบัติเหตุครั้งนั้นว่าเป็น “สาเหตุหรือเหตุผลที่ไม่ทราบ

สรรหาคำตอบมาไขความเร้นลับ

คนอ่านซึ่งเป็นแฟนๆ ของเบอร์ลิตซ์ต่างสรรหาคำอธิบายมากมายเพื่อจะให้คำตอบว่าทำไมเรือหรือยานบินต่างๆ จึงได้หายไปอย่างลึกลับ บ้างก็ว่าพายุได้พัดพาให้วัตถุใดๆ ที่เข้าใกล้จมหายไป บ้างก็ว่ามีการลำเลียงวัตถุที่เฉียดเข้าพื้นที่สามเหลี่ยมนี้ด้วยเทคโนโลยีจากนอกโลก บ้างก็สันนิษฐานว่าการคมนาคมที่หนาแน่นเกินไปทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มาก หรือบางคนก็คิดไปไกลว่าสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นช่องทางที่ไปถึงอาณาจักรแอตแลนติสที่สูญหายไป และอีกหลายๆ เหตุผลทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติและเหนือธรรมชาติอีกมากมาย

จุดแดงในรูปคือจุดที่แสดงทิศเหนือจริง และทิศเหนือแม่เหล็กอยู่ห่างออกมาทางทิศใต้ของทิศเหนือจริง 1,500 ไมล์ และเส้นสีแดงคือเส้นอะกอนิกที่พุ่งไปทิศใต้แม่เหล็กยังทวีปแอนตาร์กติกา ขณะที่ชายฝั่งของฟลอริดาขั้วโลกเหนือและขั้วแม่เหล็กเหนือจะอยู่ในเส้นเดียวกัน เพราะทิศเหนือแม่เหล็กจะชี้จากขั้วเหนือและใต้จริงๆ ที่นี่

ท่ามกลางการสรรหาทฤษฎีมาแก้ปมปริศนานี้ ดูเหมือนว่าการใช้ทฤษฎีการผันแปรแม่เหล็กโลก (Magnetic Variation Theory) อธิบายความเร้นลับจะเป็นของ “เก๊” มากที่สุด โดยทฤษฎีดังกล่าวไม่มีใครรู้จักมาก่อน จนกระทั่งเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมายามชายฝั่งได้เขียนเป็นจดหมายน้อยๆ ที่ด่วนสรุปโดยไม่ได้ไตร่ตรองถึงความถูกต้อง และทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อีกทั้งการที่พวกเขาใส่ชื่อตัวเองลงไปยิ่งทำให้ความน่าเชื่อของทฤษฎีลดลงไปอีก ดูกันว่าพวกเขาอธิบายไว้ว่าอย่างไร

ทฤษฎีเข็มทิศผิดเพี้ยน บิดเบี้ยวไปจากความจริง

เข็มทิศไม่ว่าอยู่ที่ใดบนโลก็จะเบนเข็มไปยังแคนาดาไม่ใช่ทิศเหนือจริงที่พิจารณาจะเส้นลองติจูด

“ทฤษฎีอันนับไม่ถ้วนที่พยายามอธิบายการหายไปนั้นถูกประเคนให้กับพื้นที่ตลอดประวัติศาสตร์ แต่ที่ถูกต้องมากที่สุดดูจะเป็นความผิดปกติของสิ่งแวดล้อมและความผิดพลาดของมนุษย์ การหายไปส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะลักษณะทางสิ่งแวดล้อมที่ผิดไปจากพื้นที่อื่นในโลก อย่างแรก “สามเหลี่ยมปีศาจ” เป็น 1 ใน 2 ของสถานที่ซึ่งเข็มทิศไม่ได้ชี้ไปทางทิศเหนือจริงๆ ทั้งที่ปกติมันต้องชี้ไปทางทิศแม่เหล็กเหนือ”

“ความแตกต่างระหว่าง 2 จุดนี้รู้จักกันดีคือการผันแปรของเข็มทิศ (Compass Variation) ซึ่งจะทำให้คลาดเคลื่อนไปไกลถึง 20 องศาเมื่อเดินทางรอบโลกทุกๆ 1 องศา และถ้าการเปลี่ยนแปลงของเข็มทิศหรือความคลาดเคลื่อนนี้ไม่ได้รับการแก้ไข ผู้เดินเรือจะพบตัวเองห่างจากเส้นทางไปไกลโข”

คำกล่าวข้างต้นนี้อ้างเหตุผลโดยผิดหลักอย่างมาก เราคงต้องมาทำความเข้าใจถึงการผันแปรของแม่เหล็กโลกหรือเข็มทิศกันใหม่เพราะหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ การเปลี่ยนแปลงของเข็มทิศไม่ได้หมายความว่าเข็มทิศจะชี้ไปผิดทิศผิดทางเพราะอย่างไรเสียเข็มทิศก็ชี้ไปยังทิศเหนือแม่เหล็กวันยังค่ำ ปัญหาของเรื่องนี้คือทิศเหนือแม่เหล็กไม่ได้อยู่ที่ขั้วโลกเหนือแต่อยู่ห่างออกไป 1,500 ไมล์

หากมุ่งตามเข็มทิศ จุดหมายก็จะอยู่ที่แคนาดาหาใช่กรีนแลนด์

เปรียบเทียบเข็มทิศในด้านขวาคือภาพเข็มทิศในจินตนาการของเรา แต่เอาเข้าจริงๆ ทิศเหนือจากเข็มทิศจะเบนไป 20 องศาหากพิจารณาที่เกาะอะซอร์ในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ดังรูปเข็มทิศด้านซ้าย

ถ้าตราบใดที่เรายังใช้เข็มทิศเป็นตัวบอกทิศตราบนั้นเข็มทิศก็จะเบนเข็มไปยังทิศเหนือของโลกที่ เกาะปรินซ์ออฟเวลส์ (Prince of Wales) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา โดยสนามแม่เหล็กของโลกสามารถเปรียบเทียบได้กับเส้นแม่เหล็กที่วิ่งผ่านโลกจากเหนือไปใต้ ซึ่งจุดปลายของเส้นแม่เหล็กทั้งสองด้านคือทิศเหนือแม่เหล็กเหนือและทิศใต้แม่เหล็ก ทั้งนี้ตัวเส้นแม่เหล็กเองเป็นแกนซึ่งทางธรณีฟิสิกส์เรียกว่า “เส้นอะกอนิก” (Agonic Line)

ดังนั้นขั้วโลกเหนือในทางภูมิศาสตร์ที่เราหลงเข้าใจกันว่าเป็นขั้วเหนือจริงๆ จึงมิได้เป็นจุดที่เข็มทิศชี้ไปแต่อย่างใด และจุด N ที่เข็มทิศชี้ไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำทางเราไปยังขั้วโลกเหนือ แต่จะนำเราไปยังเกาะปรินซ์ออฟเวลส์ของแคนาดาต่างหาก และถ้าความจริงว่าทิศแม่เหล็กเหนือนั้นไม่ได้อยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือไปไกล 1,500 ไมล์ ก็จะไม่สร้างปัญหาทำให้นักเดินทางต้องสับสนเลย

ต้องรู้องศาที่แตกต่าง จึงจะเดินทางถึงขั้วโลกเหนือ

การจะแก้ความคลาดเคลื่อนนี้นักเดินทางจะต้องรู้ความแตกต่างขององศาระหว่างทิศเหนือแม่เหล็กที่แม่เหล็กชี้ไปกับและทิศเหนือจริงที่พิจารณาจากจุดปลายของเส้นลองติจูด ยกตัวอย่างเช่นที่เกาะอะซอร์ส (Azores Island) มีความแตกต่างกัน 20 องศาระหว่างทิศเหนือแม่เหล็กและทิศเหนือจริง ซึ่งเราจะไม่สามารถเดินตาม N ในเข็มทิศได้ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นปลายทางของเราจะไปจบที่แคนาดาแทนที่จะเป็นกรีนแลนด์ โดยเราจะมุ่งหน้าไปยังทิศที่ต่างออกไป 20 องศาสู่ทิศเหนือจริง

การหายไปของเรือบิน "มาร์ติน มารินเนอร์" ที่ตามหาฝูงบินที่ 19 ก็ยังคงเป็นปริศนาอีกเช่นกัน

นั่นคือความหมายของการผันแปรของเข็มทิศหรืออธิบายได้ว่าความแตกต่างระหว่างขั้วโลกเหนือกับขั้วเหนือแม่เหล็กนั้นขึ้นอยู่ที่ตั้งของแต่ละสถานที่ และเป็นเหตุผลว่าสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาก็ไม่มีทิศที่ผิดที่ผิดทางแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของโลก เพราะเข็มทิศก็ชี้ไปยังทิศแม่เหล็กเหนือไม่ใช่ขั้วโลกเหนือเหมือนกันหมดทั่วโลก

ส่วนสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจะมีอาถรรพ์จริงหรือไม่ ก็คงต้องรอการพิสูจน์และหลักฐานที่เชื่อถือได้ต่อไป

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   5908

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

IT knowhow for Mariner Cho.Charoen Maritime Instruments

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network