Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

Advertising in marinerthai.net TOP Engineering Group - UAV Thailand

RFID : Radio Frequency Identification เทคโนโลยีที่อเมริกันยังจด ๆ จ้อง ๆ

RFID : Radio Frequency Identification เทคโนโลยีที่อเมริกันยังจด ๆ จ้อง ๆ


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2548
โดย
สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์

 

ผมได้มีโอกาสรับรู้ ดูงาน Logistics ที่อเมริกาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 จึงอยากจะนำเรื่อง RFID มาเล่าสู่กัน

RFID หรือคือคำย่อจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แต่เราอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร เพราะอาจจะดูว่าทันสมัยและแพงเกินความจำเป็น

RFID เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ใช้ได้ในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท เป็นต้นว่า ใช้ตรวจสอบสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ ใช้ตรวจสอบจัดเก็บและเบิกสินค้าในคลังสินค้า ใช้ในห้างสรรพสินค้า ใช้ในไร่ปศุสัตว์

ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเห็นและสัมผัสได้ในบ้านเราก็คือ เวลาที่เราเข้าไปในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เราจะเห็นปุ่มหรือแถบใหญ่ ๆ ขาว ๆ (บางแห่งก็เป็นสีเทา) เราเรียกมันว่า Tag ติดอยู่กับกางเกง เสื้อ กระโปรงที่มีราคาแพง หรือติดกับขวดเหล้าที่มีราคาแพง หากเราเผลอเดินถือของที่ติดปุ่มขาว ๆ เหล่านั้นออกจากห้างสรรพสินค้าโดยลืมจ่ายเงิน มันก็จะมีเสียงดังเกิดขึ้น คนเก็บเงินที่โต๊ะแคชเชียร์ก็จะเรียกคนมาจับเราข้อหาลักทรัพย์ เพราะเจ้าปุ่มที่ติดกับเสื้อผ้าและมีคนถือมันเดินผ่านเครื่องอ่าน (Reader) ซึ่งติดอยู่ตรงทางออก ก็จะส่งคลื่นสัญญาณเป็นเสียงเตือนว่ามีของออกจากช่องจ่ายเงินโดยยังไม่ได้ชำระเงิน

เจ้า RFID นี้ บางบริษัทในประเทศไทยได้เริ่มทดลองใช้แล้ว ต้องยอมรับว่า มันมีประโยชน์มากเพราะช่วยลดเวลาในการทำงาน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าออกจากโรงงานเพราะตัว Tag หรือคือตัวที่ติดกับตัวสินค้านั้น (ซึ่งโรงงานบางแห่งติดกับตัวกุญแจที่เปิด-ปิดตู้คอนเทนเนอร์) จะบรรจุข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้าซึ่งอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งอยู่บนรถเคลื่อนผ่านประตู และมีตัว Reader อยู่ตรงปากประตู ตัว Reader ก็จะส่งข้อความไปที่คอมพิวเตอร์ว่า ของในตู้คอนเทนเนอร์มีอะไร เป็นสินค้าตัวไหน รุ่นอะไร ราคาเท่าไหร่ Invoice เบอร์อะไร ตู้คอนเทนเนอร์เบอร์อะไร รถที่ใช้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เลขทะเบียนอะไร จะขนตู้คอนเทนเนอร์ไปไหน ออกจากโรงงานกี่โมง

ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าออกจากโรงงานเพราะตัว Tag

ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้า รถบรรทุกและรายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องการรู้จะอยู่ใน Tag ที่ติดกับตู้คอนเทนเนอร์ไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ผ่านตัว Reader

ตัวอย่างของเครื่อง TAG ที่ติดตั้งกับตู้คอนเทนเนอร์

ตัวอย่างของเครื่อง Reader พร้อมสายต่อแบบ RS232 กับเครื่องคอมพิวเตอร์

ไม่เพียงเท่านั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน Internet ได้ด้วย

เช่น ผมอยากทราบว่า กุ้งกุลาดำของผม 10 ตู้ที่ส่งไปนิวยอร์กอยู่ในเรือลำไหน ตู้คอนเทนเนอร์เบอร์อะไร ก็ดูได้จาก Website เลย

ถามว่า ข้อมูลเหล่านี้มาจากไหน คำตอบก็คือมาจากการ enter ข้อมูลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน RFID ที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนมากใช้กับสินค้าที่จัดเก็บขนย้ายโดยระบบ Pallet โดยติด Tag ไว้ที่ Pallet หรือที่ตู้คอนเทนเนอร์ ในต่างประเทศ RFID ใช้ในไร่ปศุสัตว์เพื่อติดตามว่าสัตว์แต่ละตัวอยู่ในบริเวณไหนของทุ่งหญ้า บางแห่ง เช่น ที่ Wall-Mart สหรัฐอเมริกา เริ่มใช้ RFID ในตัวสินค้าและกำหนดให้ Supplier ในต่างประเทศต้องใช้ระบบ RFID

"จุดมุ่งหมายของการใช้ RFID ก็เพื่อต้องการความสะดวก รวดเร็วในการติดตามตัวสินค้า ทั้งในคลังสินค้าและระหว่างการขนส่ง การลดระบบงานและเอกสาร รวมถึงความรวดเร็ว แม่นยำในการกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนในด้าน Logistics และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้า"

 

อย่างไรก็ตาม แม้ RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่ดี แต่มันก็เป็นเพียงเทคโนโลยีอย่างหนึ่งในการกระบวนการของ Logistics ซึ่งจะต้องลงทุนขั้นต้นสูง การจะปรับระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงด้านการลดต้นทุนและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้านั้น คงไม่พิจารณาแต่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้เท่านั้น แต่ต้องพิจารณากระบวนการทั้งหมดของ Logistics ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงบุคลกรในองค์กรด้วย

จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ Logistics ที่อเมริกาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้ข้อมูลว่าบริษัทที่ใช้ RFID ในงาน Logistics ที่อเมริกานั้น มีเพียง 4% อีก 96% ยังคงใช้ระบบ Barcode อยู่

สาเหตุที่ RFID ในอเมริกายังไม่แพร่หลายเพราะต้องลงทุนสูง ฝรั่งที่ผมคุยด้วยบอกว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่อยากลงทุน อยากจะให้ Wal-Mart หรือบริษัทอื่น ๆ ที่ใช้ RFID ทำไปก่อน เพื่อดูผลดี-ผลเสีย หากเห็นว่าเหมาะสม คุ้มทุน และได้ประโยชน์จริง ๆ จึงจะลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 3 - 5 ปี RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่จะใช้แพร่หลายในระบบ Logistics และ Supply Chain บริษัทใหญ่ ๆ หรือองค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐจะเริ่มต้นก่อน แม้แต่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็เริ่มต้นกับ RFID แล้ว

การจะเริ่มต้น RFID ในขณะนี้ โดยศึกษาลักษณะ ข้อดี-ข้อเสีย การศึกษาระบบการจัดการ Logistics ขององค์กร และกำหนดแผนฝึกอบรมบุคลากรแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดี


ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)

คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้

โครงสร้างการทำงานของระบบ RFID แบบ Inductive Coupling

ความเป็นมาและเหตุผล

ในปัจจุบัน การใช้บัตรอัจฉริยะ (SmartCard) และระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) เป็นที่ยอมรับอย่างสูงว่า เป็นเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานที่ต้องการการบ่งบอกความแตกต่างหรือข้อมูลจำเพาะของแต่ละบุคคล ที่สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และมีความเป็นอัตโนมัติกว่าระบบตรวจสอบรหัสในระบบอื่นๆ เช่น รหัสแบบแท่ง (Barcode) การใช้งานที่ง่ายและยังเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเสริมในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทคโนโลยีทางการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ยังผลให้การขยายตัวของการใช้งาน RFID/SmartCard สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการ RFID เป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวมชิปเดี่ยวเพื่อใช้ในบัตรอัจฉริยะ (SmartCard Chip) ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) เพื่อสร้างต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ RFID/SmartCard ในประเทศไทย นำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ เป็นการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ด้านวงจรรวม และสนับสนุนให้เกิดผลผลิตทางการออกแบบวงจรรวมของสถาบันวิจัยในประเทศ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติของต้นแบบชิป RFID

  • เป็นระบบชี้เฉพาะด้วยความถี่วิทยุบนชิปเดี่ยว

  • เป็นระบบไร้สัมผัส (Contactless)

  • ใช้งานในย่านความถี่ 13.56 MHz

  • มีหน่วยความจำพรอมอนุกรมแบบโปรแกรมได้ครั้งเดียวขนาด 64 บิต

  • ใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบอินเวอร์สแมนเชสเตอร์ขนาด 70 กิโลบิตต่อวินาที

  • มีระบบป้องกันการชนกันของข้อมูล (Anti-Collision Feature)

  • ขนาดได (Die) 2,270 x 2,620 ตารางไมครอน

  • กินกำลังไฟ140 ไมโครวัตต์ ที่ 3.3 โวลต์

  • ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีซีมอส 0.8 ไมครอน

การประยุกต์ใช้งาน

  • ระบบการบอกรหัสสัตว์เลี้ยง (Animal identification)

  • ระบบทะเบียนประวัติ บัตรประชาชน (e-Citizen)

  • ระบบข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล (Health Care)

  • ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket)

  • ระบบบัญชีรายการอัตโนมัติ (Automated Inventory)

  • ระบบบอกรหัสพนักงาน (Automatic Teller)

  • ระบบอนุญาตเข้าออกสำนักงาน (Security Access)

  • ใช้แพลตฟอร์มออกแบบ Cadence ED

ต้นแบบภาคสนามเครื่องอ่าน ต้นแบบชิป RFID Tag

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4608

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Articles from our members Advertising in marinerthai.net

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network