Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

ประภาคารกาญจนาภิเษก เสน่ห์ความงามคู่แหลมพรหมเทพ

"ประภาคารกาญจนาภิเษก" เสน่ห์ความงามคู่แหลมพรหมเทพ  


โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 มิถุนายน 2549

ประภาคารกาญจนาภิเษก

แหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต จัดเป็นหนึ่งในจุดชมอาทิตย์อัสดงที่สวยที่สุดในเมืองไทยเพราะเป็นแหลมที่อยู่ใต้สุดของเกาะภูเก็ต มีลักษณะเป็นแหลมโค้งไล่ระดับทอดตัวสู่ท้องทะเล โดยรอบข้างแวดล้อมด้วยต้นตาลที่ขึ้นแทรกอยู่เรียงรายและต้นหญ้าที่พัดพลิ้ว ด้านขวาเป็นหาดในหานและเกาะมัน ส่วนด้านซ้ายจะมองเห็นหาดในยะซึ่งเป็นหาดเล็ก ๆ

วันไหนฟ้าเปิด เมฆเป็นใจ เมื่อไปยืนยังจุดชมวิวแหลมพรหมเทพก็จะเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆเคลื่อนคล้อยลอยต่ำ ท่ามกลางแสงสีทองเหลืองอร่ามที่สาดส่องต้องผิวน้ำทะเลเป็นประกายระยิบระยับ หลังจากนั้นไม่นานพระอาทิตย์ดวงกลมโตจะเข้าสู่สภาวะสีแดงสด หรือที่หลายๆคนเรียกว่า"ไข่แดง" ก่อนจะลอยหายไปในกลีบเมฆ หรือลอยตกน้ำป๋อมแป๋มหายไปในน้ำทะเลสีมรกต ที่มีเกาะ แหลม และเรือแล่นผ่านไป-มา ช่วยเติมเต็มในความงาม แล้วแต่สภาพอากาศของแต่ละวัน

ด้วยความที่แหลมพรหมเทพมีองค์ประกอบลงตัวเหมาะกับการชมพระอาทิตย์ตก ทำให้ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปรอชมอาทิตย์อัสดงที่แหลมนี้กันไม่ได้ขาด โดยเฉพาะในช่วงฤดูท่องเที่ยวหรือช่วงเทศกาลจะมีคนไปเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ตกกันแน่นขนัด บางครั้งถึงขนาดต้องแย่งหาที่ยืนกันก็มี

นอกจากความงามยามดวงตะวันลับฟ้าแล้ว แหลมพรหมเทพยังมีประภาคารกาญจนาภิเษกเป็นอีกหนึ่งจุดสนใจ

ประภาคารกาญจนาภิเษก เป็นประภาคารที่ชาวภูเก็ตและกองทัพเรือร่วมกันสร้างถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 มีความสูง 50 เมตร หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกว้าง 9 เมตร หมายถึงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี แสงไฟของประภาคารมองเห็นได้ไกล 39 กิโลเมตร ซึ่งก็หมายถึงปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โดยเหนือทางเข้าด้านหน้ามีตราสัญลักษณ์ปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ส่วนด้านข้างตราสัญลักษณ์ประดับธงชาติ

สำหรับยอดของประภาคารแห่งนี้ มีการออกแบบ โดยการนำลักษณะสำคัญของตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มาประดิษฐานไว้ ประกอบด้วย

พานเครื่องสูง 2 ชั้น เป็นที่ตั้งดวงประทีป หรือตะเกียงประภาคารที่ส่องสว่างรอบทิศเปรียบประดุจพระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์อันแผ่ไพศาลทั่วแผ่นดิน ตะเกียงประภาคารอยู่ภายใต้เศวตฉัตร 9 ชั้น

แหลมพรหมเทพ

ช้าง 3 เชือกเทินดวงประทีปอยู่ภายใต้เศวตฉัตร 7 ชั้น มีความหมายถึง ช้างเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเหมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชนซึ่งเป็นเหมือนข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ความหมายโดยรวมเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลของพระองค์ที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มฉัตรโลหะปิดทองคำ หรือหุ้มทองคำและทองเหลือง

ตะเกียงประภาคารเป็นรูปกรวยกลมทำด้วยอะครีลิคใสภายในมีโคมไฟหมุนส่องสว่างรอบทิศ ลักษณะไฟเป็นไฟวับทุกๆ 9 วินาที (สว่าง 0.21 วินาที มืด 8.79 วินาที) วางอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 94 เมตร
ฐานรับตะเกียงประกอบด้วย โลหะปิดทองคำ 10 เหลี่ยม มีความหมายถึงทศพิธราชธรรม คือ
1.ทาน 2.ศีล 3. บริจาค 4. ความซื่อตรง (อาชชวะ) 5.ความอ่อนโยน (มัททวะ) 6.ความเพียร(ตบะ) 7.ความไม่โกรธ (อักโกธะ) 8.การไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) 9.ความอดทน (ขันติ) และ 10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ)

ส่วนโลหะปิดทองคำมีความหมายถึงปีกาญจนาภิเษก หอคอยรับพานติดตั้งตะเกียงขยายขนาดตามสัดส่วนที่สวยงามลาดลง สลักข้อความทศพิธราชธรรมดังกล่าวพร้อมกับบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการมีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์พระบวนพุทธศาสนาเป็นพระราชจริยาวัตรที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงปฏิบัติ และเป็นที่ตระหนักกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญอย่างไพบูลย์เต็มที่ทุกประการต้องตามขัตติยราชประเพณีนับตั้งแต่ครองสิริราชสมบัติ ตราบจนทุกวันนี้ ซึ่งรวมระยะเวลา 60 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก

นอกจากประภาคารกาญจนาภิเษกจะสร้างเฉลิมพระเกียรติทรงครองราชย์ 50 ปีแล้ว ประภาคารแห่งนี้ยังใช้เป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญแห่งท้องทะเลอันดามัน โดยชั้นล่างภายในเป็นห้องกระโจมไฟ และห้องนิทรรศการ ซึ่งจะจัดแสดงนิทรรศการทางอุทกศาสตร์ ให้ความรู้เรื่องประภาคารและกระโจมไฟ รวมถึงแสดงแบบจำลองของประภาคารและกระโจมไฟที่สำคัญ เช่น กระโจมไฟชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประภาคารตากใบ ประภาคารอัษฎางค์ ฯลฯ พร้อมมีป้ายบรรยายประวัติความเป็นมาของประภาคารและกระโจมไฟ ตัวอย่างเครื่องวาบหรือไฟวับวาบ ตะเกียงน้ำมันที่ใช้ในกระโจมไฟ ตะเกียงไฟฟ้าแบบต่าง ๆ

ส่วนภายในประภาคารมีบันไดโค้งครึ่งวงกลมจากห้องแสดงนิทรรศการชั้นล่างขึ้นไปยังชั้นบนของประภาคาร ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับเรือหลวงจำลอง พร้อมประวัติของเรือแต่ละลำ เช่น เรือหลวงสุริยะ เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงจันทร ฯลฯ และจากชั้นบนมามารถเดนออกไปยังดาดฟ้าเพื่อชมวิวทิวทัศน์ของแหลมพรหมเทพโดยรอบได้

สำหรับปีมหามงคลนี้ ประภาคารกาญจนาภิเษก คือหนึ่งในจุดลงนามถวายพระพรที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)จัดขึ้น ใครที่ไปชมความงามยามตะวันลับฟ้าที่แหลมพรหมเทพ ก็น่าที่จะหาเวลาไปยลเสน่ห์ของประภาคารกาญจนาภิเษกแห่งนี้ดูสักหน่อย และก็อย่าลืมร่วมลงนามถวายพระพรเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตด้วย


 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3921

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

IT knowhow for Mariner IT knowhow for Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network