รู้จัก...หญ้าทะเล มากคุณค่า พิทักษ์ชายฝั่งทะเลไทย
รู้จัก...หญ้าทะเล มากคุณค่า พิทักษ์ชายฝั่งทะเลไทย
หนังสือพิมพ์
สยามรัฐ
วันที่ 18 สิงหาคม 2549
เย็นย่ำของวันที่ทะเลคลื่นลมสงบ
ผู้คนกลุ่มหนึ่งกำลังมุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านเล็กๆ ริมอ่าวปากคลอก
พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ของอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
คุณสมบัติ ภู่วชิรานนท์
นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเล จ. ภูเก็ต
ป็นวิทยากรให้การบรรยายทางวิชาการและฝึกปฏิบัติการเรื่องหญ้าทะเล ณ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ จ. ภูเก็ต
เพื่อสำรวจและเรียนรู้เรื่องหญ้าทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของ
การประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรชายฝั่งทะเล จัดโดยโครงการ GLOBE (Global
Learning and Observations to Benefit the Environment) ของ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
“หญ้าทะเล” พืชที่มีคุณค่ามหาศาล ต่อระบบนิเวศริมชายฝั่ง
มีวิวัฒนาการจากพืชบกที่ค่อยๆ ปรับตัวลงสู่ทะเล
จนสามารถดำรงชีวิตอยู่ใต้น้ำได้อย่างสมบูรณ์ ทนต่อความเค็มของน้ำทะเล แรงคลื่น
และกระแสน้ำ สามารถออกดอกผสมเกสรในน้ำ แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
...เราสามารถพบหญ้าทะเล ตั้งแต่พื้นที่เป็นโคลนละเอียดถึงทรายหยาบ
รวมถึงบริเวณน้ำกร่อยไปจนถึงเขตแนวปะการัง
การสำรวจของหญ้าทะเล ครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์
ทั้งการสำรวจจำแนกชนิด และความหนาแน่น ของหญ้าทะเล ลักษณะของดิน คุณภาพน้ำ
รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณนี้ด้วย โดยมี “คุณสมบัติ ภู่วชิรานนท์”
นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเล และ “ศ.ดร.ชาลี
นาวานุเคราะห์” ภาควิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
เป็นวิทยากรนำสำรวจ
ครูและนักเรียนกำลังวัดความขุ่นของน้ำ
ที่ป่าชายเลนบ้านป่าคลอก อ่าวป่าคลอก อ.กระทู้ จ. ภูเก็ต โดยมี ศ. ดร. ชาลี
นาวานุเคราะห์ นักวิชาการจากภาควิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นหนึ่งในทีมวิทยากรให้คำแนะนำ
“คุณสมบัติ” กล่าวถึงการสำรวจว่า
ชาวบ้านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วย
เพื่อตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรเหล่านี้
และสามารถจัดการได้เองในชุมชนสามารถแบ่งเบาภาระของรัฐได้เยอะ
อย่างเมื่อก่อนมีปัญหาเรื่องเรืออวนรุน
ทำลายหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่ง
รัฐก็ต้องจัดเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังและออกเรือไล่จับเรือผิดกฏหมายเหล่านี้
เมื่อชาวบ้านตระหนักและหวงแหนทรัพยากรหน้าบ้าน
พวกเขาก็ช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาให้อีกทาง
“ทรัพยากรชายฝั่งทะเลมีประโยชน์เยอะ
แต่คนดูแลน้อย ถ้าทุกคนได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอจะเกิดความเข้าใจ
และควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแล
จะช่วยลดความขัดแย้งและร่วมกันดูแลจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน”
นักวิชาการประมง กล่าว
...นอกเหนือจากหญ้าทะเล เรายังพบสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด
ตั้งแต่พืชชั้นต่ำหรือพืชที่มีขนาดเล็ก บางชนิดอาศัยอยู่อย่างถาวร
บางชนิดอยู่เพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหาร
หรืออาศัยอยู่เพียงบางฤดูกาล
เพื่อใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนหลังจากที่ไข่ฝักออกมาเป็นตัว ยกตัวอย่างเช่น ปูม้า
ปลาเก๋า หรือปลากะรัง และปลากระพง จะใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งผสมพันธุ์ วางไข่
เลี้ยงดูตัวอ่อนอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น
การสำรวจครั้งนี้ยังเป็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวของเด็กๆ
ในพื้นที่อีกด้วย...
สำรวจความหลากหลายของหญ้าทะเลอ่าวป่าคลอก คุณสมบัติ
ภู่วชิรานนท์ นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเล จ. ภูเก็ต และ ดร.
จริยา สุจารีกุล หัวหน้าโครงการ GLOBE สสวท.
กำลังสำรวจความหลากหลายของหญ้าทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านป่าคลอก อ่าวป่าคลอก อ.กระทู้
จ. ภูเก็ต ซึ่งพบว่า ในพื้นที่เดียวกัน แต่ต่างระดับและความลึก
มีหญ้าทะเลหลากหลายชนิดแตกต่างกัน
คุณครูมานะ สามเมือง โรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์ จ.ภูเก็ต เล่าว่า
โรงเรียนอยู่ในชุมชนปากคลอกนี่แหล่ะ และตั้งอยู่ติดชายฝั่งทะเล
ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนและหญ้าทะเลเป็นหลัก ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำพิพิธภัณธ์ท้องถิ่นชุมชน
เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชน และนักเรียน นักศึกษาได้เข้ามาใช้ประโยชน์
“...เด็กๆ
ที่โรงเรียนทุกระดับชั้น ได้ใช้ที่นี่เป็นห้องเรียนสิ่งแวดล้อม
โดยเน้นให้เขามีส่วนร่วมชุมชนในการเรียนรู้ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน
กิจกรรมที่ได้ทำร่วมกับชุมชน อาทิ การสำรวจหญ้าทะเล
การวิเคราะห์ปัญหาที่พบเกี่ยวกับป่าชายเลน เช่นการลดจำนวนของพะยูน
การถูกทำลายจากเรือผิดกฎหมาย
การจับเรืออวนรุนปลูกป่าชายเลนและค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง เด็กๆ
ก็จะรักและหวงแหนสมบัติล้ำค่าจากธรรมชาติ และจะช่วยรักษาให้ยั่งยืน”
“หนอนท่อ” สำรวจความหลากหลายของทรัพยากรทางทะเลป่าชายเลน ณ
อ่าวป่าคลอก จ.ภูเก็ต ดร. จริยา สุจารีกุล หัวหน้าโครงการ GLOBE สสวท.
และผู้เข้าร่วมการประชุมสิ่งแวดล้อมนานาชาติ The Exploration of Marine Coastal
Resources Symposium สำรวจความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านป่าคลอก อ่าวป่าคลอก อ.กระทู้ จ. ภูเก็ต (ในภาพกำลังจับหนอนท่อขึ้นมาดู)
การสำรวจหญ้าทะเล ครั้งนี้ยังเอื้อประโยชน์ไปถึงเพื่อนร่วมโครงการ
GLOBEอย่างประเทศญี่ปุ่น โดย “V. Lorenzo” คุณครูจากแดนปลาดิบ
ซึ่งร่วมคณะสำรวจนี้กล่าวว่า โรงเรียนของตนเพิ่งเข้าร่วมโครงการ GLOBE
เมื่อเดือนที่แล้ว และก็โชคดีมากที่ได้มาสำรวจหญ้าทะเลที่ปากคลอก
ซึ่งถือเป็นการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ร่วมกันทำวิจัยเชิงปฏิบัติการกับโรงเรียนในท้องถิ่น ที่ปากคลอกนี้
ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้ชุมชนและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร
เห็นความงดงามของชายฝั่งทะเลแล้ว
ก็ต้องยกนิ้วให้กับความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ที่ร่วมกันเป็นผู้พิทักษ์รักษาให้สมบัติล้ำค่านี้
อยู่อย่างยั่งยืน เหมือนเช่นที่ คุณลุงชาวประมงในพื้นที่ปากคลอง ทิ้งท้ายว่า
นักวิทย์น้อยวิจัยสิ่งแวดล้อม -
ผู้เข้าร่วมการประชุมสิ่งแวดล้อมนานาชาติ The Exploration of Marine Coastal
Resources Symposium กำลังวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS)
และวัดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ (Ph) ในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านป่าคลอก อ่าวป่าคลอก อ.กระทู้
จ. ภูเก็ต เพื่อฝึกปฏิบัติการวิจัยทางสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรชายฝั่งทะเล
“อ่าวหน้าหมู่บ้านปากคลอก
หากินกันได้ชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่หมดหรอกทั้งกุ้ง หอย ปู ปลาก็ยังอุดมสมบูรณ์
ถ้าเราดูแลรักษาดีๆ ไม่ปล่อยให้เรืออวนรุน อวนลาก
และพวกจับสัตว์น้ำผิดกฎหมายมาทำลาย”
โดย ชัชรี
สุพันธุ์วณิช
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หญ้าทะเล (Seagrasses)
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีโครงสร้างต่างๆ เช่นเดียวกับหญ้าที่ขึ้นบนบก โดยทั่วไป
แต่เนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งในเขตน้ำขึ้นน้ำลง จึงได้รับผลกระทบต่อความ
เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติน้ำทะเลทั้งด้านกายภาพและด้านเคมี เช่น ความเค็ม
ระดับความลึกของน้ำ ความผึ่งแห้งขณะน้ำลง ความเข้มแสง เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
ทำให้หญ้าทะเลพัฒนาลักษณะของราก ลำต้น ใบ ดอก และ ผล ให้เหมาะกับ
การเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ มีความทนทานต่อความรุนแรงของคลื่นลมได้ดี ส่วนลำต้น
ที่ทอดยาวไปใต้พื้นหรือเรียกว่า เหง้า มีความแข็งแรงและเจริญเติบโตสานกันไปมายึดดิน
ได้ดี จึงช่วยลดการถูกกัดเซาะและการพังทะลายบริเวณชายฝั่งทะเล ภายในใบมีช่อง
อากาศจำนวนมาก ทำให้ใบสามารถตั้งตรงได้ในน้ำ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของกระแส น้ำ
เหมาะเป็นที่หลบภัยและอาศัยหากินของสัตว์น้ำนานาชนิด บนใบหญ้าทะเลมีสิ่งมีชีวิต
ขนาดเล็กอาศัยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ สาหร่าย ไดอะตอมโปรโตซัว ไฮโดรซัว ไส้เดือนดิน
ทากทะเล หอยขนาดเล็กเป็นต้น
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้เป็นอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
วัยอ่อนนอกจากนี้ยังมีสัตว์หลายชนิดที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร เช่น ปลาบางชนิด
เต่าตนุ และพยูน ซึ่งพบหากินในแนวหญ้าทะเลเท่านั้น
ในประเทศไทยมีหญ้าทะเลทั้งหมด 12 ชนิด แพร่กระจายบริเวณอ่าวไทยและทะเล อันดามัน
25-Enhalus
acoroide (Linnaeus f.) Royle,1840(หญ้าชะเงาใบยาว) tropical eelgrass --
Hydrocharitaceae
ต้นกำเนิดจากเหง้าที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 -1.5 เซนติเมตร ฝังอยู่ใต้ดิน
มีเส้นใยสีดำและเหนียว ซึ่งเป็นส่วนของขอบใบที่ย่อยสลายไป
แล้วปกคลุมอยู่รอบรากเหง้า มีรากแข็งแรงสีขาวจำนวนมาก ไม่แตกแขนง
เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 3 - 5 มิลลิเมตร มีความยาว 20 เซนติเมตร มีใบ 3 - 5 ใบ ยาว
92 -129 เซนติเมตร กว้าง 1.2 - 1.9 เซนติเมตร ขอบใบหนา ปลายใบมน
ใบอ่อนจะมีรอยหยักที่ปลายใบ มีการผสมเกสรที่ผิวน้ำ ขณะน้ำลงดอกเพศเมียจะชูดอก
รับละอองเกสรเพศผู้ที่ลอยมาติดกลีบดอก หลังจากได้รับการผสมแล้ว
ก้านดอกเพศเมียจะบิดขดเป็นเกลียว และหดสั้นที่บริเวณโคนต้น หรือพันอยู่ที่โคนต้น
เมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้น พบแพร่กระจายจำนวนมากบริเวณหาดทุ่งนางดำ ปากคลองคุระ จ.พังงา
ซึ่งพื้นเป็นทรายปนโคลน มักขึ้นปะปนกับ หญ้าทะเลชนิด Halophila ovalis
26-Halophila beccarii
Ascherson, 1871 (หญ้าเงาแคระ) estuarine - grass -- Hydrocharitaceae
เหง้ามีลักษณะผอมยาว มีเส้นผ่านศูนย์กลาง สั้นกว่า 1 มิลลิเมตร ข้อมีช่วงห่างกัน
1.2 - 2.9 เซนติเมตร ก้านใบ สั้นและผอม มีความยาว 0.7 - 1.3 เซนติเมตร
รากเกิดจากข้อจำนวนหนึ่งเส้นไม่แตกแขนง ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีเส้นใบ 3 เส้น คือ
เส้นใบกลาง ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน ยาวจากโคนใบจรดปลายใบ เส้นขอบใบ 2 เส้น เกิดจากฐาน
ของเส้นกลางใบขนานกับขอบใบไปจรดเส้นกลางใบในตำแหน่งต่ำจากปลายใบเล็กน้อย
ไม่มีเส้นขวางใบ ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ มีใบเกล็ด 1 คู่ รองรับที่ฐานใบ
โคนใบแผ่กว้างเป็นกาบหุ้ม พบแพร่กระจายในบริเวณปากคลองคุระ และหาดนางดำ
ใกล้เนินทราย และจะโผล่พ้นน้ำขณะน้ำลง มักพบขึ้นเป็นกลุ่มๆ ใกล้กับหญ้าทะเล
Halophila minor
27- Halophila decipiens
Ostenfeld, 1902 (หญ้าเงาใส) veinless spoon - grass -- Hydrocharitaceae
เหง้ามีลักษณะผอมบาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร ข้อมีช่วงห่าง 1.2 -
2.7 เซนติเมตร มีราก 1 เส้น เกิดจากข้อแต่ละข้อมี ใบ 2 - 3 ใบ ตัวใบรียาว กว้าง 0.2
- 0.4 เซนติเมตร ยาว 0.5 - 1.2 เซนติเมตร ผิวใบมีขน ทั้งด้านบนและด้านล่าง
มีเส้นขวางใบ 6 - 8 คู่ ขอบใบมีรอยหยักเล็กๆ โคนก้านใบแผ่กว้าง มีใบเกล้ดรองรับ 1
คู่ ใบเกล็ดมีขน พบด้านนอกแพร่กระจาย บริเวณเกาะไข่ใหญ่ ที่ระดับความลึกประมาณ 6
เมตร ขึ้นอยู่บนเนินทรายใต้น้ำ มักจะไม่ขึ้นปนกับหญ้าทะเลชนิดอื่น
มีเพียงเล็กน้อยที่ขึ้นปนกับหญ้าทะเลชนิด Halodule uninervis
28- Halophila minor(Zollinger)
den Hartog, 1957 (หญ้าใบมะกรูด) small spoon-grass -- Hydrocharitaceae
ใบมีขนาดเล็ก
ต้นเกิดจากเหง้าซึ่งมีลักษณะผอมบาง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 มิลลิเมตร
ข้อมีช่วงห่าง 0.9 - 1.4 เซนติเมตร แต่ละข้อมีราก 1 เส้น และมี ใบ 2ใบ ก้านใบยาว
0.7 -1.5 เซนติเมตร ตัวใบยาว 0.6 -0. 8 เซนติเมตร กว้าง 0.2 - 0.4 มิลลิเมตร
ขอบใบเรียบปลายใบมน มีเส้นขวางใบน้อยกว่า 10 คู่ ที่โคนใบมีใบเกล็ดรองรับ 1คู่
พบแพร่กระจายบริเวณหาดทุ่งนานางดำ ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณเนินทรายใกล้กับหญ้า
Halophila beccarii ขณะน้ำลงจะโผล่พ้นน้ำประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังพบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไข่ใหญ่
บนบริเวณเนินทรายใต้น้ำที่ระดับความลึก 2 - 3 เมตร
29-30 Halophila ovalis (R.
Brown) Hooker f., 1858 (หญ้าใบมะกรูด) spoon-grass --Hydrocharitaceae
ส่วนเหง้าและต้นมีลักษณะอวบและใส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 1 มิลลิเมตร
มีช่วงห่างระหว่าง ข้อ 1.1 - 4.3 เซนติเมตร แต่ละข้อมี ใบ 2 ใบ และราก 1เส้น
ไม่แตกแขนงก้านใบมีลักษณะอวบใส ยาวประมาณ 1.4 - 5.6 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างรี รูปไข่
สีเขียวอมเหลืองถึงสีเขียวเข้ม มีความยาว 0.8 - 2.5 เซนติเมตร กว้าง 0.4 - 1.2
เซนติเมตร ปลายใบกลมมนขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจน จำนวนหนึ่งเส้นแบ่งแยก
ออกจากเส้นกลางใบ จำนวนมากกว่า 12 คู่ ปลายจะไปจรดเส้นขอบใบ
ที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดคู่ 1 คู่ หญ้าทะเลชนิดนี้ มีลักษณะอวบน้ำและเปราะง่าย
พบแพร่กระจายบริเวณปากคลองคุระ หาดทุ่งนาดำ เกาะไข่ใหญ่ และเกาะลูกกำตก
พบขึ้นเป็นกลุ่มเพียงชนิดเดียวหรือขึ้นปะปนกับหญ้าชนิด Halodule pinifolia ,
Cymodocea serrulata หรือ Halodule uninervis
ในช่วงน้ำลงหญ้าทะเลชนิดนี้จะโผล่พ้นน้ำ ผึ่งแห้งประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
พบมีการแพร่กระจายในบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงระดับความลึก 6 เมตร
31- Thalassia Hemprichii (Ehrenberg)
Ascherson,1871 (หญ้าเต่า , หญ้าชะเงาเต่า) dugong grass -- Hydrocharitaceae
ต้นกำเนิดเหง้าที่มีลักษณะแข็งแรง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 4 มิลลิเมตร มีใบ 2 - 3
ใบ ลำต้น สั้น ใบมีความยาว 3.0 - 9.0 เซนติเมตร ส่วนล่างเป็นกาบใบ ใสไม่มีสี
มีความยาวประมาณ 2.0 - 3.0 เซนติเมตร ตัวใบสีเขียงเข้มยาว 1.0 - 6.0 เซนติเมตร
กว้าง 0.6 -0.8 เซนติเมตร มีเส้นใบเรียงขนานตามความยาวใบจำนวน 9 - 12 เส้น เห็นเส้น
ใบชัดเจน ระหว่างเส้นใบจะมีเส้นขวางเชื่อมเป็นระยะ ปลายใบมีลักษณะมน
มีรอยหยักเมื่อใบแก่ ส่วนตัวใบจะเน่าเปื่อย
คงเหลือแต่ส่วนที่เป็นกาบใบหุ้มต้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ
มีการแพร่กระจายในบริเวณอ่าวเขาควาย เกาะลูกกำตกเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1 - 2
เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมีการแพร่กระจายที่เกาะไข่ใหญ่
ทางทิศใต้ระหว่างแนวปะการังและชายฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพื้นเป็นซากปะการัง
ระดับน้ำตื้น มีความลึก 0.5 เมตร ขณะน้ำลง
32 -33 Cymodocea serrulata
(R.Brown) Ascherson and Magnus, 1870 (หญ้าชะเงาใบสั้น) toothed seagrass--Cymodoceaceae
ต้นตั้งตรงเกิดจากเหง้าแข็งแรง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2.5 มิลลิเมตร
มีช่วงห่างระหว่าง ข้อ 3.2 - 7.1 เซนติเมตร ต้นสูง 4.6 - 26.0 เซนติเมตร
แต่ละต้นมีใบ 2-4 ใบ ใบมีสีเขียวเข้ม กาบใบยาว 1.2 - 3.7 เซนติเมตร ตัวใบยาว 3.2 -
22.5 เซนติเมตร กว้าง 0.5 - 0.8 เซนติเมตร ปลายใบมนมีรอยหยักเล็กๆ ขอบใบด้านข้าง
ตอนล่างเรียบ เห็นเส้นกลางใบได้ชัดเจน มีเส้นขนานจำนวน 15 - 17 เส้น
ที่ส่วนต้นจะมีรอยแผล เกิดเป็นวงรอบซึ่งเกิดจาก การหลุดร่วงของใบแก่
รากเกิดจากบริเวณส่วนของข้อแต่ละต้นมีราก 15 - 17 เส้น แตกแขนงได้
พบแพร่กระจายในบริเวณ หาดทุ่งนางดำ เกาะลูกกำตก และเกาะไข่ใหญ่
ขณะน้ำลงหญ้าทะเลชนิดนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และมีการ
แพร่กระจายไปจนถึงระดับความลึก 6 เมตร มักขึ้นเป็นกลุ่มไม่ปะปนกับหญ้าทะเลชนิดอื่น
ขึ้นปนกับหญ้าทะเลชนิด Halophila ovalis และ Halodule uninervis ในบางบริเวณ
34- Halodule pinifolia (miki)
den Hartog, 1964 (หญ้าผมนาง) fiber-strand grass-- Cymodoceaceae
ต้นตั้งตรงเกิดจากเหง้า มีลักษณะผอมบาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
ช่วงระหว่างเหง้ายาว 1.2 - 3.6 เซนติเมตร รากไม่แตกแขนงเกิดจากข้อ มี 2 - 4 เส้น
ต่อข้อ แต่ละต้น มีใบ 2 - 3 ใบ ใบเรียวเล็กผอมยาว ส่วนล่างเป็นกาบใบมีความยาว 1.2 -
2.8 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 5.6 - 23.0 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.6 มิลลิเมตร
ปลายใบมนแบบ obtuse มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย (serration) ขอบใบเรียบ
เห็นเส้นกลางใบได้อย่างชัดเจนบริเวณปลาย ใบไม่พบดอกและผลในช่วงที่ทำการสำรวจ
พบแพร่กระจายบริเวณหาดทุ่งนางดำ และเกาะลูกกำตก ที่ระดับความลึก 1-3 เมตร
ที่หาดทุ่งนางดำ หญ้าทะเลชนิดนี้จะขึ้นปะปนกับหญ้าทะเลชนิด Halophila ovalis
35- Halodule uninervis (Forsskal)
Ascherson, 1882 (หญ้าชะเงาใบสั้น,หญ้าชะเงาเขียวปลายใบแฉก) fiber-strand grass --
Cymodoceaceae
ต้นตั้งตรงเกิดจากเหง้าที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.6 - 1.2 มิลลิเมตร
ช่วงระหว่างเหง้ายาว 1.4 - 4.7 เซนติเมตร รากเกิดจากเหง้ามีจำนวน 4 -10 เส้น
ลำต้นสั้น ที่ส่วนต้นจะเห็นรอยซึ่งเกิดจากการหลุดร่วงของใบ มี ใบ 2 - 3 ใบ
สีเขียวเข้ม กาบใบยาว 1.0 - 3.0 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 2.7 - 11.6 เซนติเมตร กว้าง
2.0 - 3.0 มิลลิเมตร ส่วนโคนใบจะแคบ ขอบใบเรียบปลายใบจะแบ่งออกเป็น 3 ลอน (tridentate)
เห็นเส้นกลางใบได้อย่างชัดเจน มีเส้นขอบใบข้างละ 2 เส้น
พบแพร่กระจายบริเวณหาดทุ่งนาดำ เกาะลูกกำตก และเกาะไข่ใหญ่
เมื่อน้ำลงหญ้าทะเลชนิดนี้จะโผล่พ้นน้ำเป้นเวลา 2 - 3 ชั่วโมง
และมีการแพร่กระจายไปจนถึงระดับน้ำทะเลลึก 6 เมตร
มักโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มไม่ปะปนกับหญ้าทะเลชนิดอื่น บางแห่งพบปะปนกับ หญ้าทะเลชนิด
Halophila ovalis, Halophila decipiens หรือ Syringodium isoetifolium
36-37 Syringodium
isoetifolium (Ascherson) Dandy, 1939 (หญ้าใบสน) syringe grass-- Cymodoceaceae
ต้นตั้งตรงเกิดจากเหง้าซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว1.5 - 2.0 มิลลิเมตร
ระยะระหว่างข้อ 1.5 - 3.3 เซนติเมตร รากเกิดจากข้อ 2 - 5 เส้น ต้นสูง 8.5 - 34.0
เซนติเมตร แต่ละต้นมีใบ 1 - 3 ใบ ส่วนกาบใบยาว 1.8 - 2.7 เซนติเมตร ใบมีลักษณะกลม
ทรงกระบอก อวบน้ำ เปราะและหักง่าย แผ่นใบยาว 5.0 -31.0 เซนติเมตร
มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.0 - 1.5 มิลลิเมตร แพร่กระจายที่หาดทุ่งนางดำ
และเกาะลูกกำตก พบที่ระดับความลึก 1 - 5 เมตร อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ไม่ขึ้นปะปนกับหญ้าทะเลชนิดอื่น