แข่งเรือ จากพิธีกรรมถึงพิธีการพนัน
แข่งเรือ จากพิธีกรรมถึงพิธีการพนัน
หนังสือพิมพ์
มติชน
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10401
คอลัมน์ สยามประเทศไทย
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
แข่งเรือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนทุกชาติพันธุ์บนดินแดนสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์)
ยุคดึกดำบรรพ์ราว 3,000 ปีมาแล้ว
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับการวิงวอนร้องขอความอุดมสมบูรณ์จากอำนาจเหนือธรรมชาติ
คือผี
เพราะพิธีกรรมนี้ทำในฤดูน้ำหลากท่วมท้นแม่น้ำลำคลองห้วยหนองบึงบุ่งทั่วทุกหนแห่ง
หากน้ำทรงในช่วงเวลาเหมาะสมจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารงอกงามมั่นคง แต่ในทางกลับกัน
ถ้าน้ำท่วมนานเกินไปจะทำให้เสียหาย ต้นข้าวเน่าเปื่อย ไม่มีจะเก็บเกี่ยวไว้กิน
เรือเป็นยานพาหนะในชีวิตประจำวันของคนเมืองลุ่ม
แม้เมืองดอนที่มีแม่น้ำลำคลองหนองบึงก็ต้องใช้เรือ เช่น
บางพื้นที่ในภาคเหนือและอีสาน มีทั้งเรือยาวและเรือไม่ยาวหลายขนาด
ขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของเรือ
จินตนาการในความเชื่อของชาวสุวรรณภูมิทุกชาติพันธุ์
เห็นว่าเรือคือนาค (หรืองู) ผู้พิทักษ์น้ำในบาดาล
เมื่อทำพิธีกรรมเกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พึ่งพาน้ำของนาค
เลยต้องเชิญเรือมาเป็น "เครื่องมือ" สื่อสารกับผีนาคในห้วงน้ำ
ยุคแรกๆ เชิญเรือไปทำพิธีกรรมกลางห้วงน้ำ เช่น
เห่กล่อมผีน้ำซึ่งเป็นเพศหญิง เรียก แม่น้ำ หรือจ้าวแม่ (แห่ง) น้ำ
เพื่อขอความเมตตาบันดาลให้ข้าวปลาอาหารไม่ขาดแคลน นานเข้าก็เรียกเห่เรือ
หรือเห่กล่อมแม่ย่านางของเรือก็ได้
จากเห่กล่อมปกติยังไม่เป็นไปตามที่ชาวสุวรรณภูมิต้องการ
เพราะน้ำท่วมนานไป เลยพากันพายเรือตามน้ำขับไล่ให้น้ำลดเร็วๆ จนกลายเป็นแข่งเรือ
เพื่อเสี่ยงทายว่าจะได้ผลดีร้ายประการใด
โดยมีคำทำนายของหมอผีที่เป็นผู้หญิงไว้เตรียมรับสถานการณ์
จนสังคมเติบโตเป็นบ้านเมืองและรัฐใหญ่โตแล้ว
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ก็เข้าสู่ราชสำนัก
กลายเป็นพระราชพิธีในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยา
และในกาพย์ห่อโคลงเจ้าฟ้ากุ้งยุคปลายๆ ต่างระบุว่า
มเหสีกับพระเจ้าแผ่นดินต้องแข่งเรือเสี่ยงทาย กวีแต่งไว้ในโคลงทวาทศมาสว่า
ราษฎรสนุกสนานสองฝั่ง
ในที่สุด เมื่อความเชื่อเปลี่ยนไป และพิธีกรรมลดความศักดิ์สิทธิ์ลง
แข่งเรือในพิธีกรรมก็กลายเป็นมหรสพเพื่อพิธีการพนัน เช่น
แข่งเรือยาวชิงชนะเลิศในทุกวันนี้
ภาพของการแข่งขันแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงประเพณีสำคัญของชาวหลังสวน จ. ชุมพร
การแข่งขันเรือยาว สืบสานตำนานเจ้าพระยาได้บริเวณใต้สะพานพระรามแปด (ฝั่งธนบุรี)
ประเพณีการแข่งเรือที่วัดบึงตะโกน จ.พิจิตร
การแข่งขันเรือยาว อ.วารินฯ จ.อุบล
เรื่องเกี่ยวกับการแข่งเรือยาว หรือ เรือยาว ดูเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซด์เรือยาวไทย