ทิวทัศน์ของโลกใต้น้ำที่น่าตื่นตะลึง ปลาฉลามเอเพอเล็ตตัวเล็กๆ แสดงการ "เดิน"
ด้วยครีบ ฝูงปลาหลากสีสันกว่า 1,200 ชนิด
แหวกว่ายอาศัยอยู่ในแนวปะการังขนาดใหญ่เกือบ 600 ชนิด
ท่ามกลางปะการังที่มีสภาพสมบูรณทั้งขนาดและรูปร่าง
เหล่านี้คือความหลากหลายของชีววิทยาทางทะเลอันหาที่เปรียบไม่ได้ของบริเวณที่เรียกว่าแหลมหัวนก
(Bird's Head)
ซึ่งได้ชื่อมาจากรูปร่างของแหลมแห่งนี้ที่มีลักษณะโดดเด่นตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือสุดของจังหวัดปาปัว
บริเวณที่เรียกว่าแหลมหัวนก
(Bird's Head)
มาร์ก เอิร์ดแมน ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการทะเลอินโดนีเซีย ผู้นำทีมสำรวจ กล่าวว่า "เราสำรวจใต้ทะเล
6 บริเวณ ใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอล 2 สนามรวมกัน ในการสำรวจ 2 ครั้ง
พบแนวปะการังขนาดใหญ่กว่า 250 ชนิด ซึ่งมีจำนวนชนิดมากกว่าที่พบในทะเลแคริบเบียนถึง
4 เท่า"
ทีมของซีไอและสถาบันวิทยาศาสตร์ร่วมกันสำรวจพื้นที่ในและนอกชายฝั่งจังหวัดปาปัว
พบสัตว์ชนิดใหม่ใต้ท้องทะเลกว่า 50 ชนิด ในอาณาบริเวณ 117 ไร่
รวมถึงตามเกาะแก่งกว่า 2,500 เกาะ และตามแนวปะการังใต้น้ำ
การสำรวจในดินแดนปากัวที่เป็นเทือกเขาโฟจา ในป ก่อน พบ "โลกลี้ลับ" ที่อุดมด้วยนก
ผีเสื้อ กบ และสัตว์ป่าชนิดแปลกใหม่มากมาย
ขณะที่ปลา ปะการัง และกั้งกว่า 50 ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเป็นการสำรวจนอกชายฝั่ง
ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่วางไข่ของเต่ามะเฟืองในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ทั้งเป็นที่อาศัยของวาฬบรูดาและโลมาอีกหลายพันธุ์
เอิร์ดแมน กล่าวว่า
แนวปะการังของปาปัวเปรียบได้กับโรงงานผลิตความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องอาศัยความเอาใจใส่ของภาครัฐและเอกชน
แม้ว่าจำนวนประชากรปาปัวจะเบาบาง แต่ชาวบ้านไปกระจุกตัวอยู่แถวชายฝั่งของแหลมหัวนก
และพึ่งพิงอาศัยท้องทะเลในการดำรงชีวิต
ทำให้จำเป็นต้องหามาตรการปกป้องระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่สมบูรณ์แห่งนี้จากการประมง
การตัดไม้ทำลายป่าและการทำเหมืองที่คุกคามคุณภาพน้ำบริเวณชายฝั่ง
โดยเฉพาะขณะนี้
มีโครงการขยายการประมงเชิงพาณิชย์จากทะเลด้านตะวันตกของอินโดนีเซียมาที่จังหวัดปาปัว
ซึ่งจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างแน่นอน
ซูฮาร์โซโน เจ้าหน้าที่ศูนย์สมุทรศาสตร์อินโดนีเซีย กล่าวว่า "เราต้องขอขอบคุณกระทรวงป่าไม้และซีไอ
สำหรับข้อมูลชิ้นสำคัญจากการสำรวจและเราก็กำลังตื่นตัวในการวางแผนสำรวจในปี 2550
เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เราวางแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อปกป้องท้องทะเลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดแห่งนี้ไว้"
ภาพประกอบจากเว็บไซด์
Conservation International CI