Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

MarinerThai 2004 Co., Ltd. FB MarinerThai News

นับถอยหลัง 50 ปี อาหารทะเลหมดโลก !?

นับถอยหลัง 50 ปี "อาหารทะเล" หมดโลก !?


โดย ข่าวสด วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5822

คณะนักวิจัยนานาชาติ ประกอบด้วยนักนิเวศวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ เตือนพลเมืองโลกว่า ภายในเวลาอีกเพียง 50 ปีข้างหน้าเราอาจไม่มี "อาหารทะเล" บริโภคกันอีกต่อไป เนื่องจากปัญหาการทำประมงจับสัตว์ทะเลเกินความจำเป็น และมลพิษที่กำลังบ่อนทำลายสภาพแวดล้อมของทะเล รวมถึงมหาสมุทรทั่วโลก จะทำให้สัตว์ทะเลสูญพันธุ์จนอาจหลงเหลืออยู่แค่ในความทรงจำ!

การวิจัยระบบนิเวศวิทยาทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้ มีศาสตราจารย์บอริส เวิร์ม จากมหาวิทยาลัยดัลฮูซี เมืองฮาลิแฟกซ์ ประเทศแคนาดา เป็นผู้นำการวิจัย และตีพิมพ์รายงานลงในวารสารวิทยาศาสตร์ไซเอินซ์ ฉบับเดือนพฤศจิกายน

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เวิร์มและคณะนักวิจัยนานาชาติ ร่วมมือกันวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาระบบนิเวศทางทะเล 32 จุด ข้อมูลจากแหล่งคุ้มครองสัตว์น้ำ 48 พื้นที่ และสถิติการจับสัตว์น้ำทั่วโลกระหว่างปีพ.ศ.2493-2546 ที่รวบรวมโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ)

นอกจากนั้นคณะของเวิร์มยังตรวจสอบพื้นที่สภาพชายฝั่ง 12 แห่งทั่วโลกในรอบ 1,000 ปีผ่านการสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร บันทึกการประมง หลักฐานทางโบราณคดี และสภาพชั้นตะกอนตามแนวชายฝั่ง

เป้าหมายการวิจัยเพื่อประเมินว่าทรัพยากรแหล่งอาหารทางทะเลของมนุษยโลกจะมีเพียงพอต่อการบริโภคไปอีกกี่ปี

ผลลัพธ์ที่ปรากฏสร้างความตกตะลึงให้กับคณะผู้วิจัย เพราะคาดว่า ปลาและสัตว์ทะเลแทบทุกสายพันธุ์จะไม่สามารถอาศัยอยู่ในทะเลได้อีกต่อไปภายในปีค.ศ.2048 หรือพ.ศ.2591

"เมื่อเทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน อัตราการคงอยู่ของปลาและสัตว์ทะเลทั่วโลกลดน้อยลงกว่าเดิม 29 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่โลกจับสัตว์ทะเลได้น้อยลงเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์..

"ถ้าระบบนิเวศทางทะเลยังถูกทำลายเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในระยะยาวเราเชื่อว่าทั้งวงจรชีวิตของปลาและสัตว์น้ำที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารทะเลจะล่มสลายลงภายในช่วงชีวิตของผม ซึ่งอาจเกิดขึ้นราวปีพ.ศ.2591" เวิร์มระบุ

คณะนักวิจัยชี้ว่า ปัจจัยหลักๆ ที่เป็นต้นเหตุทำลายระบบนิเวศทางทะเลเสียหายอย่างร้ายแรง ได้แก่

1.คุณภาพน้ำทะเลที่เสื่อมสภาพเพราะมลพิษจากน้ำมือมนุษย์

2.สาหร่าย (Algae Bloom) ในทะเลเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำทะเลลดต่ำลง

สาหร่าย (Algae Bloom) ในทะเลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วตามแนวชายฝั่ง

3.การทำประมงมากเกินความจำเป็น

การทำประมงมากเกินความจำเป็น

4.มหาสมุทรหลายแห่งมีพื้นที่ขาดออกซิเจน (Dead Zone) เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปลาอาศัยอยู่ไม่ได้

และ 5.เหตุน้ำท่วมชายฝั่ง

Dead Zone ในอ่าวแม็กซิโก

"ความหลากหลายทางชีวภาพคือทรัพยากรที่ใช้ไม่มีวันหมด แต่เราแทบไม่มีสิ่งเหล่านี้หลงเหลืออยู่อีกแล้วในท้องทะเล" เวิร์มกล่าว

ดร.สตีฟ พาลัมบี จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในกลุ่มนักวิจัยผู้ร่วมโครงการเดียวกันกับเวิร์ม เสริมว่า

ถ้าโลกยังไม่ยอมปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอย่างถอนรากถอนโคน เพื่อให้ระบบนิเวศกลับมาทำงานตามปกติอีกครั้ง โอกาสที่เราจะไม่มีอาหารทะเลบริโภคภายในศตวรรษนี้ก็มีสูงมาก

ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลการจับสัตว์ทะเล ช่วงปี 2537-2546 พบว่า

ถึงแม้อุตสาหกรรมประมงทั่วโลกจะมีขนาดและประสิทธิภาพสูงขึ้น

ทั้งในด้านกำลังการบรรทุกของเรือ เทคโนโลยีการค้นหาแหล่งสัตว์น้ำที่แม่นยำมากขึ้น และอวนจับปลาที่ดีกว่าในอดีต

แต่เมื่อดูตัวเลขพบว่าปริมาณปลา-สัตว์ทะเลที่จับได้นับตั้งแต่ปี 2537 จนถึง 2546 ลดลงถึง 13 เปอร์เซ็นต์

เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าทรัพยากรทางทะเลของโลกเราร่อยหรอลงอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบด้วยว่า ในจุดที่ระบบนิเวศมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งหมายถึงมีสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอื่นๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จะช่วยให้การฟื้นฟูปริมาณสัตว์น้ำเกิดขึ้นดีกว่าในพื้นที่ที่ขาดความหลากหลาย

"ผมเชื่อว่าปัญหานี้แก้ไขได้ ไม่เกินความสามารถ ถ้าโลกร่วมมือกัน"

ศ.เวิร์ม กล่าว ก่อนอธิบายถึง "ทางออก" กว้างๆ เพื่อบรรเทาวิกฤตขาดแคลนอาหารทะเลที่อาจระเบิดขึ้น

ข้อสรุปสำคัญจากคณะวิจัยกลุ่มนี้คือ ควรออกมาตรการ "บริหารจัดการระบบนิเวศวิทยาทางทะเล" ในลักษณะการตั้งเขต "โซนนิ่ง" กำหนดพื้นที่สงวน ห้ามไม่ให้มนุษย์เข้าไปทำกิจกรรมใดๆ โดยเด็ดขาด

แนวทางข้างต้นเหมือนกับการตั้งเขตป่าสงวน หรือเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นั่นเอง

ขณะเดียวกันผู้มีอำนาจก็ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ทางทะเลแต่ละจุดกันไปเลยว่า

จุดไหนจะใช้เพื่อการท่องเที่ยว การทำวิจัย หรือการประมง ซึ่งการประมงในความหมายนี้ต้องอยู่ในความควบคุมเช่นกัน

นอกจากนี้นักวิจัยยังเสนอแนะวิธีบริหารจัดการการประมงรูปแบบใหม่

ดึงให้อุตสาหกรรมประมงเข้ามามีส่วนร่วมปกป้องรักษาปริมาณสัตว์น้ำในท้องถิ่นให้เหลืออยู่ในระดับที่เหมาะสม

โดยต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจกับกลุ่มประมงว่า ถ้าเร่งจับสัตว์น้ำจนหมดผลสุดท้ายจะจบลงด้วยสภาพทะเลที่มีแต่น้ำ

กลุ่มนักวิจัยเชื่อมั่นว่าเมื่อเปิดห้วงเวลาให้ธรรมชาติได้มีโอกาสพักหายใจบ้าง ระบบนิเวศจะพลิกฟื้นตัวมันเอง ช่วยให้ทรัพยากรทางทะเลกลับคืนมาสู่ระดับปกติ

สิ่งสุดท้ายที่ฝากไปถึง "ผู้บริโภค" ก็คือ ต้องมีจิตสำนักในการกิน อย่าสร้างนิสัยกินอย่างทิ้งๆ ขว้างๆ

เพราะพฤติกรรมดังกล่าวเป็นตัวกำหนดให้กลุ่มประมงต้องตั้งหน้าตั้งตาจับปลามาเพียงแค่ตอบสนอง "ความอยาก" ของคน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต!

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4227

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Nathalin Group IT knowhow for Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network