Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd.

Advertising in marinerthai.net Advertising in MarinerThai.Com

ขุมทรัพย์มีชีวิตใต้ทะเลลึก "แอนตาร์กติก" กว่า 700 สปีชีส์

ขุมทรัพย์มีชีวิตใต้ทะเลลึก "แอนตาร์กติก" กว่า 700 สปีชีส์


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2550

ภาพของทีโนไซดาริส (Ctenocidaris) ซึ่งเป็นครัสเตเชียนหรือสิ่งมีชีวิตมีเปลือกแข็งชนิดหนึ่งจากการค้นพบสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกในแอนตาร์กติกของทีมสำรวจในโครงการ "แอนดีพ"

บีบีซีนิวส์/ไซน์เดลี่/อินดิเพนเดนท์/เอเจนซี - นักสำรวจพบสิ่งมีชีวิตใหม่กว่า 700 สปีชีส์ นับเป็นขุมทรัพย์มหาศาลใต้ท้องทะเลลึกของ "แอนตาร์กติก" ที่ไม่คาดคิดว่าจะมีความหลากหลายทางชีวภาพ หลังล่องเรือสำรวจนานกว่า 3 ปี พบทั้งฟองน้ำกินเนื้อ หอยคล้ายหอยทาก และสัตว์เปลือกแข็ง

การสำรวจกว่า 3 ปีลึกลงไป 6 กิโลเมตรใต้ทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) ซึ่งเป็นแหล่งหมุนเวียนน้ำในเขตน้ำลึกปริมาณมากแก่มหาสมุทรทั่วโลกบริเวณแอนตาร์กติก คณะสำรวจในโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ "แอนดีพ" (Andeep: Antarctic benthic deep-sea biodiversity project) เปิดเผยว่าพบสิ่งชีวิตชนิดใหม่กว่า 700 สปีชีส์ซึ่งมีชนิดที่ยังไม่จำแนกอีกมาก

ภาพของฟองน้ำแก้วซึ่งเป็นครัสเตเชียนชนิดหนึ่งที่พบในทะเลลึกของมหาสมุทรตอนใต้ที่มืดและไม่เคยถูกสำรวจมาก่อน ซึ่งคณะนักวิจัยไม่คาดคิดว่าจะมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมายถึงระดับนี้

สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นไอโซพอด (isopod) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีมากในอันดับครัสเตเชียน (crustacean) หรืออันดับของสิ่งมีชีวิตที่มีเปลือกแข็ง และมีขนาดตั้งแต่ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าไปจนถึงขนาดเกือบ 30 เซนติเมตร โดย 674 สปีชีส์ซึ่งมากกว่า 80% ของสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบในครั้งนี้เป็นสปีชีส์ที่ยังไม่เคยถูกจำแนกมาก่อน

ทีมสำรวจยังเผยอีกว่า 160 สปีชีส์ที่ค้นพบเป็นหอยฝาเดียว (gastropod) และหอยสองฝา (bivalve) ที่มีลักษณะคล้ายหอยทาก ไส้เดือนทะเลอีก 81 สปีชีส์ ออสตราคอด (ostracod) ซึ่งเป็นครัสเตเชียนขนาดเล็กอีก 70 สปีชีส์ และฟองน้ำอีก 76 สปีชีส์ ส่วนที่เหลือยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใหม่สำหรับวงการวิทยาศาสตร์

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกของแอนตาร์กติกซึ่งมีความหลากหลายมากกว่าที่คิด โดยในภาพคือ "มุนนา" (Munna) เพศผู้ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตมีเปลือกแข็งชนิดหนึ่งและเป็นหนึ่งในสปีชีส์อีกนับพันที่ดำรงชีวิตได้ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ทารุณ

แองเจลิกา บรันด์ท (Angelika Brandt) นักชีววิทยาทางทะเลจากพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาแห่งฮัมบูร์ก (Zoological Museum of Hamburg) ประเทศเยอรมนี และผู้นำคณะสำรวจในครั้งนี้กล่าวว่าทีมนักวิจัยนานาชาติที่รวมสำรวจต่างประหลาดใจกับสิ่งที่ค้นพบมาก เนื่องจากมีสปีชีส์ใหม่จำนวนมหาศาล และพวกเขายังคาดหวังจะได้พบสิ่งมีชีวิตในรูปแบบเดียวกันนี้ในบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำรอบมหาสมุทรในขั้วโลกเหนือ

"ทะเลลึกในแอนตาร์กติกมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งรวมสปีชีส์ที่ดำรงชีวิตในทะเลของโลก นักวิจัยของเราได้รับความคิดที่ท้าทายว่าความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลลึกในมหาสมุทรตอนใต้ไม่น่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ ตอนนี้เรามีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสปีชีส์ในทะเล และเข้าใจว่าพวกมันสามารถปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร" บรันด์ทกล่าว

 บริเวณทะเลเวดเดลล์ซึ่งเป็นทะเลน้ำลึกในแอนตาร์กติกที่คณะสำรวจค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จำนวนมาก โดยได้แบ่งการสำรวจเป็น 3 ชุด เส้นประสีแดงแสดงการสำรวจครั้งที่ 1 ในปี 2002 เส้นประสีเหลืองแสดงการสำรวจครั้งที่ 2 ในปี 2002 และเส้นประสีฟ้าแสดงการสำรวจครั้งสุดท้ายในปี 2005

การศึกษาก่อนหน้านี้คาดว่าความลึกของทะเลในแอนตาร์กติกจะทำให้มีสิ่งมีชีวิตน้อยลงเช่นเดียวกับในทะเลลึกของอาร์กติก แต่บรันด์ทได้ยกคำอธิบายถึงความแตกต่างราวนิยายระหว่างระบบนิเวศน์ในขั้วโลกทั้งสองขึ้นมา 2 เหตุผล อย่างแรกคือแถบอาร์กติกยังมีอายุไม่มาก ขณะที่สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20 ล้านปีในการวิวัฒนาการ ส่วนการวิวัฒนาการในอาร์กติกจะใช้เวลาสั้นกว่านั้น

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับเหตุผลแรกคือความสัมพันธ์ในการหมุนเวียนของน้ำระดับลึกในมหาสมุทรได้เคลื่อนย้ายมวลน้ำปริมาณมากผ่านบริเวณที่มีการสำรวจและอาจจะพัดพาสารอาหารไปเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นได้ดีกว่าบริเวณทะเลลึกอื่นๆ

 

ทางด้าน ดร.กาตริน ลินส์ (Dr. Katrin Linse) นักชีววิทยาทางทะเลจากสถาบันสำรวจแอนตาร์กติกแห่งอังกฤษ (British Antarctic Survey) ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจัยที่ร่วมสำรวจครั้งนี้กล่าวว่า เดิมเคยคิดกันว่าสิ่งแวดล้อมที่มีความเคลื่อนไหว มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ แต่การพบขุมทรัพย์สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเป็นกองทัพเช่นนี้จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ความเข้าใจในความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างใต้ห้วงมหาสมุทรที่อยู่ลึกลงไปกับการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในทะเล

ทะเลเวดเดลล์นั้นเป็นแหล่งของน้ำลึกที่สำคัญของมหาสมุทรอื่นๆ และเปิดช่องทางแก่สปีชีส์ต่างๆ ให้เข้าไปดำรงชีวิตในทะเลน้ำลึก และในเส้นทางสำรวจนี้คณะนักวิจัยก็ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นในน้ำลึกซึ่งยังพบในแนวรอยต่อที่เชื่อมกับมหาสมุทรอื่นๆ ด้วย

เรือวิจัยแถบขั้วโลกของเยอรมนี "โพลาร์สเทิร์น"

ทั้งนี้คณะสำรวจโครงการแอนดีพได้แบ่งทีมสำรวจเป็น 3 ชุดสำหรับค้นหาสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลลึกนี้ตั้งแต่ปี 2002-2005 โดยประจำการอยู่บนเรือวิจัยแถบขั้วโลกของเยอรมนี "โพลาร์สเทิร์น" (Polarstern) และมีนักวิจัยจากนานาชาติหลายสิบชีวิตเข้าร่วมโครงการที่ออกแบบเพื่อการสำรวจพื้นที่ซึ่งความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นเหมือน "สุญญากาศ" และผลของการค้นพบนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร "เนเจอร์" (Nature) ประจำสัปดาห์นี้

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3953

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd. Mariner English Articles

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network