“เรือหลวงนาคา” สมุทรานุภาพก้อง สู่พิพิธภัณฑ์ในสหรัฐ
“เรือหลวงนาคา” สมุทรานุภาพก้อง สู่พิพิธภัณฑ์ในสหรัฐ
โดย หนังสือพิมพ์
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 60 กว่าปีก่อน
เกิดการสู้รบกันระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะที่มีแกนนำสำคัญคือเยอรมันอิตาลี
ญี่ปุ่น และฝ่ายพันธมิตร ประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ สหราชอาณาจักร, สหภาพโซเวียต
และ สหรัฐอเมริกา
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก
ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง
มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน
เหตุการณ์สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488
แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน
คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน
ตอนหนึ่งของสงครามโลกระหว่างมีการสู้รบในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิค
กองทัพฝ่ายพันธมิตรต้องการยกพลขึ้นเกาะที่ทหารญี่ปุ่นยึดครอง
สหรัฐอเมริกาได้หาทางต่อเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกแก่เหล่านาวิกโยธิน
เรือที่ประกอบขึ้นในระหว่างสงครามต้องทำหน้าที่คุ้มกันเหล่านาวิกโยธินได้อย่างดี
และเข้าใกล้ฝั่งให้ได้มากที่สุด กองทัพสหรัฐได้ออกแบบให้เรือติดอาวุธครบครัน
เพิ่มอำนาจในการยิงระยะประชิดเพื่อปกป้องกองกำลังให้ได้มากที่สุด จำนวนถึง 130 ลำ
เรือลำดังกล่าวมีชื่อว่า แอลซีเอส (Landing Craft Supp0rt)
เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก อานุภาพของเรือที่ล้ำหน้า คือติดอาวุธปืนมากถึง 38
กระบอก และเป็นอาวุธปืนที่ผลิตครั้งแรกในปีพ.ศ.2487 จากโรงงงานผลิตอาวุธปืนถึง 3
โรงงาน ความยาวเรือตลอดลำ 47.40 เมตร ความกว้างสูงสุด 7 เมตร ระวางขับน้ำ 387 ตัน
ความเร็วสูงสุด 13 น๊อต เครื่องจักรใหญ่ดีเซล 2 เครื่อง
เรือจำนวน 130 ลำได้ส่งเข้าประจำการและเข้าร่วมรบในสมรภูมิต่างๆ เช่น ฟิลิปินส์
ฮิโรจิม่า โอกินาว่า โบนีโอ
จวบจนปัจจุบันเรือแอลซีเอสเหลือดังกล่าวได้เสื่อมสูญไปตามกาลเวลา
แต่ไม่น่าเชื่อว่า แอลซีเอสลำสุดท้าย มีอยู่ในประเทศไทย
จากการค้นหาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์สหรัฐอมริกา และ National Association of
USS LCS พบว่ายังคงมีเรือประเภทนี้ใช้งานได้เพียงลำเดียวในโลก
และอยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกลำอยู่ในฟิลลิปปินส์
ปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นเรือประมงจนไม่เหลือเค้าโครงของเรือรบที่มีแสนยานุภาพอีกต่อไป
ย้อนถึงเส้นทางเดินของเรือแอลซีเอส ในความครอบครองของกองทัพเรือไทย
เรือลำนี้เป็นเรือลำที่ 102 ของจำนวน 130 ลำ สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ.2488 ณ
อู่ต่อเรือ คอมเมอร์เชี่ยล ไอรอน เวิร์ก (Commercial Iron Work ) เมืองพอร์ตแลนด์
รัฐโอเรกอน
หลังจากร่วมรบอย่างสมเกรียติในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือ
แอลซีเอสได้ถูกโอนให้แก่กองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่น ใช้ชื่อเรือว่า “อิมาวาริ”จนกระทั่งในปี
พ.ศ.2509
กองทัพเรือสหรัฐได้มอบเรือลำนี้ให้แก่กองทัพเรือไทยในโครงการช่วยเหลือทางทหาร
โดยทำพิธีมอบเรือเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2509 ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน
ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี สมัยนั้นมีพลเรือเอกจรูญ เฉลิมเตียรณ
ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือ
หลังจากนั้นจึงได้ขึ้นระวางเรือประจำการในสังกัดกองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2509
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานชื่อเรือว่า “เรือหลวงนาคา”
ซึ่งเป็นชื่อเกาะในอำเภอถลาง จ.ภูเก็ต ตรงกับชือถาษาอังกฤษว่า "H.T.M.S NAKHA
ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่แอลซีเอส รับใช้ภารกิจต่างๆในกองทัพเรือสหรัฐ ญี่ปุ่น
และไทยมายาวนาน จนมาถึงพ.ศ.นี้ “เรือหลวงนาคา” ต้องเกษียณตัวเองอย่างถาวรแล้ว
เพื่อรับภาระกิจใหม่ตามคำร้องขอของสหรัฐ ที่ทำหนังสือผ่านผ่านกระทรวงกลาโหม
ขอคืนเรือเพื่อนำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่ Mare Island Naval Shipyard
เมือง Vallejo มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทสสหรัฐอมริกา
พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า เรือหลวงนาคา
เป็นเรือประวัติศาสตร์ของอเมริกา
ปัจจุบันเหลือเป็นเพียงลำเดียวในโลกที่คงสภาพสมบูรณ์ก็คือเรือหลวงนาคา
เพราะกองทัพเรือดูแลรักษาเป็นอย่างดี
ตามมารยาทและระเบียบปฎิบัติตามข้อตกลงระหว่างมิตรประเทศ เมื่อมีการปลดระวางเรือรบ
ประกอบกับ Mr.Jeff Jeffers นักรบอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งได้มีการรวมตัวสมาชิกนักรบในยุคนั้นได้ประมาณ 150 คน ก่อตั้งสมาคมขึ้นตั้งแต่
พ.ศ.2529 ได้ทราบเรื่อง กองทัพเรือปลดระวางเรือหลวงนาคา จึงได้ทำหนังสือร้องขอมา
“ทางสมาคมได้ให้สัญญาว่า จะยังคงชื่อ H.T.M.S. NAKHA หรือ เรือหลวงนาคา ไว้ตลอดกาล
เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยและกองทัพเรือไทย
อีกทั้งยังเป็นชื่อซึ่งได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์ไทย เรือหลวงนาคา
จึงเป็นสื่อสัญญาลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมั่นคง
และรู้สึกดีใจอย่างมากที่เรือหลวงนาคาได้ยุติบทบาททางการยุทธ์ของกองทัพเรืออย่างสง่างาม”
ผู้บัญชาการกองทัพเรือกล่าวด้วยความภูมิใจ
นาวาเอก นภดล สุภากร ผู้บังคับการกองสนับสนุน กองเรือยุทธการ
อดีตผู้บังคับการเรือหลวงนาคาลำดับที่ 22 ในฐานะกำลังพลในการดูแล
รักษาเรือลำนี้พร้อมกับประจำเรือทุกนาย กล่าวถึงความรู้สึกที่ต่อเรือหลวงนาคาว่า
งข้าราชการ พลทหาร ที่เคยรับราชการในเรือหลวงนาคา
ทุกคนต้องตอบเป็นประโยคกันอย่างแน่นอน ก็คือเรือลำนี้เป็นขวัญและกำลังใจอย่างมาก
เมื่อนำเรือออกปฏิบัติภารกิจหมู่เรือเฉพาะกิจลาดตระเวนชายแดนทั้งภาคใต้
และภาคตะวันออก รู้สึกอุ่นใจมากเพราะเรือลำนี้มีเขี้ยวเล็บที่น่าเกรงขามและน่ากลัว
มี "สมุทรานุภาพ" หรืออำนาจทางทะเล ก็คือติดตั้งอาวุธปืนขนาดต่าง ๆ จำนวน 15 กระบอก
มากที่สุดในกองทัพเรือ มีสมรรถนะ ความคล่องตัว ความพร้อมมาก
จนได้รับฉายาว่า เรือบรรทุกปืน มีศักยภาพ มีแสนยานุภาพอยู่ในตัวเอง ซึ่งเรือลำนี้
ได้อออกปฏิบัติตามคำสั่งลับของกองเรือยุทธการ
และกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
ตลอดจนออกปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งลับในเขตติดต่อทะเลอันดามันมาแล้วจำนวนมาก
วันสุดท้ายของการปฏิบัติงาน เรือหลวงนาคายุติลงวันที่ 4 ตุลาคม 2549
และได้มีการส่งมอบเรือเมื่อวันที่ 22 พฤษาคม พ.ศ.2550 ณ ท่าเรือจุกเสม็ด
ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อบรรทุกเรือใหญ่ส่งขึ้นเกะมาร์ เมืองซานฟรานซิสโก
ซึ่งมีกำหนดถึงวันที่ 25 มิถุนายน ท่ามกลางพิธีต้อนรับอย่างสมเกียรติอีกครั้ง
นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และกองทัพเรือไทย ...จากนี้ไปเรือหลวงนาคาจะเริ่มต้นภาระกิจใหม่ในฐาะเรือพิพิธภัณฑ์ทางประวัติสาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ภายใต้ชื่อ “H.T.M.S.NAKHA” พร้อมประดับธงราชนาวีไทย ในดินแดนสหรัฐอเมริกา
พัชรพล ปานรักษ์, กองทัพเรือ : ข้อมูล
วาไรตี้ : เรียบเรียง