Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Advertising in marinerthai.net TOP Engineering Group - UAV Thailand

เรือหลวงพระร่วง

เรือหลวงพระร่วง


โดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

คอลัมน์: เก็บตกริมทาง

ถ้าจะพูดถึงเรือรบหลวงแล้ว หลายคนอาจจะรู้จักแค่บางลำเท่านั้น อย่างเช่น เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร เป็นต้น

แต่วันนี้เก็บตกริมทางขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรือรบหลวงอีกหนึ่งลำ ที่ถือว่าสำคัญกับเรามาก ๆ นั่นคือ 'เรือหลวงพระร่วง' ซึ่งถือว่าเป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย

เรือหลวงพระร่วง เกิดขึ้นจากการที่ข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเรือรบไว้เพื่อป้องกันราชอาณาจักรทางทะเล จึงร่วมกันจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457

จากนั้นได้เรี่ยไรทุนทรัพย์ สำหรับจัดซื้อเรือรบหลวง เพื่อถวายเป็นราชพลี ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า "พระร่วง" อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวน 80,000 บาท เพื่อมารวมกับเงินที่เรี่ยไรได้ทั่วราชอาณาจักร (เป็นเงิน 3,514,604 บาท 1สตางค์) พร้อมทั้งโปรดเกล้าให้นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ข้าหลวงพิเศษ ไปจัดซื้อเรือรบภาคพื้นยุโรป

คณะข้าหลวงพิเศษตรวจการซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปชุดนี้คัดเลือกได้เรือพิฆาตตอร์ปิโด "เอชเอ็มเอส เรเดียนท์" (HMS Radiant) ของบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมแก่ความต้องการของกองทัพเรือและเป็นเรือที่ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ในระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นสงครามยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2461 อังกฤษจึงยินดีขาย คณะข้าหลวงพิเศษได้ตกลงซื้อเรือลำนี้เป็นเงิน 200,000 ปอนด์ ส่วนเงินที่เหลือจากการซื้อเรือนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือไว้สำหรับใช้สอย เรือลำนี้เดินทางจากประเทศอังกฤษเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463

เรือ HMS Skate ซึ่งเป็นเรือชั้นเดียวกันกับเรือ HMS Radiant

โดยสมรรถนะของเรือหลวงพระร่วงลำนี้ คือ มีระวางขับน้ำ 1,046 ตัน ความยาวตลอดลำ 83.57 เมตร ความกว้างสุด 8.34 เมตร กินน้ำลึก 4 เมตร อาวุธปืน 102 ม.ม. 3 กระบอก ปืน 76 ม.ม. 1 กระบอก ต่อมาติดปืน 40 ม.ม. 2 กระบอก ปืน 20 ม.ม. 2 กระบอก มีตอร์ปิโด 21 นิ้ว 4 ท่อ มีรางปล่อยระเบิดลึก และมีแท่นยิงปืนระเบิดลึก 2 แท่น เครื่องจักรเป็นแบบไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่อง ใบจักรคู่ กำลัง 29, 000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 35 น นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ 1,896 ไมล์ และทหารประจำเรือ 135 คน.

แบบจำลองของ เรือหลวงพระร่วง

เรือหลวง พระร่วง ปลดระวางประจำการ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2502 (ขึ้นระวางประจำการ 11 ตุลาคม 2463) รวมอายุราชการในกองทัพเรือไทย ประมาณ 39 ปี (ปล่อยเรือลงน้ำ 5 พฤศจิกายน 2459) รวมอายุเรือ ประมาณ 43 ปี


เรือหลวงพระร่วง

เรือหลวงพระร่วงเป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเรือรบไว้เพื่อป้องกันราชอาราจักรทางทะเล จึงร่วมกันจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เพื่อเรี่ยไรทุนทรัพย์ซื้อเรือรบถวายเป็นราชพลี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า พระร่วง อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการหาทุนเพื่อสร้างเรือลำนี้ เช่น ได้แก้ไขบทละครเรื่อง "มหาตมะ" ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ทรงนำเรื่องการเสียสละทุนทรัพย์สมทบทุนสร้างเรือรบเข้ามาเป็นหัวใจของเรื่อง และได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแสดงเพื่อเก็บเงินสมทบทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ทั้งยังมีการแสดงละครพระราชนิพนธ์อีกหลายเรื่องตลอดจนโปรดเกล้า ฯ ให้มีการประกวดภาพเพื่อหารายได้อีกด้วย นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพรองค์เป็นจำนวน 80,000 บาท กับเงินที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้พร้อมใจกันออกทุนเรี่ยไรถวายเมื่อครั้งจัดงานพระราชพิธีทวีธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งยังเหลือจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 116,324 บาท ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานทรัพย์อีกเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่เรี่ยไรทั่วพระราชอาณาจักร ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 3,514,604 บาท 1 สตางค์ ในปี พ.ศ. 2463

ต่อมา นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปพร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย คณะข้าหลวงพิเศษตรวจการซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปชุดนี้คัดเลือกได้เรือพิฆาตตอร์ปิโด มีนามว่า "เรเดียนท์" (RADIANT) ของบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมแก่ความต้องการของกองทัพเรือและเป็นเรือที่ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นสงครามยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2461 อังกฤษจึงยินดีขาย คณะข้าหลวงพิเศษได้ตกลงซื้อเรือลำนี้เป็นเงิน 200,000 ปอนด์ ส่วนเงินที่เหลือจากการซื้เรือนั้นได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือไว้สำหรับใช้สอย เสด็จในกรม ฯ ได้เป็นผู้บังคับการเรือลำนี้จากประเทศอังกฤษเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463 นับเป็นเกียรติประวัติครั้งแรกที่คนไทยเดินเรือทะเลได้ไกลถึงเพียงนี้
สมรรถนะของเรือหลวงพระร่วงมีดังนี้ คือ มีระวางขับน้ำ 1,046 ตัน ความยาวตลอดลำ 83.57 เมตร ความกว้างสุด 8.34 เมตร กินน้ำลึก 4 เมตร อาวุธปืน 102 ม.ม. 3 กระบอก ปืน 76 ม.ม. 1 กระบอก ต่อมาติดปืน 40 ม.ม. 2 กระบอก ปืน 20 ม.ม. 2 กระบอก มีตอร์ปิโด 21 นิ้ว 4 ท่อ มีรางปล่อยระเบิดลึก และมีแท่นยิงปืนระเบิดลึก 2 แท่น เครื่องจักรเป็นแบบไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่อง ใบจักรคู่ กำลัง 29, 000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 35 น นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ 1,896 ไมล์ ทหารประจำเรือ 135 คน

ก่อนที่เรือพระร่วงจะเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยนั้น คณะกรรมการราชนาวีสมาคมได้นำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาถึงกำหนดวันที่เรือพระร่วงจะมาถึงพระนคร ซึ่งกรรมการจะได้มีการรับรองฉลองเรือนั้น และกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายเป็นเรือรบหลวง จึงทรงพระราชดำริว่า เรือพระร่วงลำนี้พระองค์ได้มีส่วนยิ่งกว่าผู้อื่นสมควรจะทรงรับหน้าที่ในการรับรองเรือนี้ด้วย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีฉลองเป็นการหลวง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2463 เวลา 4 นาฬิกา 45 นาที หลังเที่ยง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยขบวนรถยนต์พระที่นั่งจากวังพญาไทมาประทับพระแท่นชุมสายที่ชาลาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยด้านตะวันออก ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการทรงศีลแล้วเสด็จสู่เรือพระร่วง ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิมที่หัวเรือพระร่วง เป็นพระฤกษ์ เจ้าพนักงานลั่นฆ้องไชยและประโคมแตรสังข์พิณพาทย์ พระสงฆ์ 20 รูป ในพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยสวดไชยมงคลคาถา ทหารบรรเลงแตรสรรเสริญพระบารมี ประชาชนโห่ร้องถวายชัย พราหมณ์ได้หลั่งน้ำสังข์ต่อไป โหรผูกผ้าสีชมพู และได้ชักธงฉานขึ้นที่เสาหัวเรือรบพระร่วง โปรดเกล้า ฯ ให้พนักงานทหารเรือใช้จักรเคลื่อนเรือรบพระร่วงไปตามลำน้ำเจ้าพระยา กลับลำที่เหนือท่าเรือยนต์หลวง แล่นล่องไปถึงบางคอแหลมกลับขึ้นมาเทียบท่าราชวรดิษฐ์ตามเดิม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นจากเรือพระร่วง ประทับพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ทรงประเคนวัตถุปัจจัยเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ 20 รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา และได้สวดมนต์สำหรับเรือพระร่วงอีกด้วย สมเด็จพระมหาสมณะถวายอดิเรก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ถวายพระพรลา เสร็จเวลา 7 นาฬิกา 45 นาที หลังเที่ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง

เวลา 9.00 นาฬิกาหลังเที่ยง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ ศาลาสหทัยสมาคมเสวยพระกระยาหารพร้อมด้วยพรบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสร็จการเลี้ยงแล้วเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถพระที่นั่ง ทอดพระเนตรละครรำเรื่อง "ขอมดำดิน" ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าราชการกรมมหรสพแสดงถวายเป็นการฉลองเรือพระร่วง พอได้เวลาอันสมควรเสด็จพระราชดำเนินกลับวังพญาไท

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   10563

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd. IT knowhow for Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network