Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

Cho.Charoen Maritime Instruments TOP Engineering Group - UAV Thailand

ยานใต้น้ำขนาดเล็ก สร้างองค์ความรู้พัฒนาเทคโนโลยี

ยานใต้น้ำขนาดเล็ก สร้างองค์ความรู้พัฒนาเทคโนโลยี


โดย เดลินิวส์ วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551

หลังจากการปลดระวางประจำการเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำที่มีใช้มายาวนานในปีพ.ศ. 2494 เทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับเรือดำน้ำตลอดจน การปฏิบัติภารกิจใต้ทะเลได้ห่างหายไป

ช่วงที่ผ่านมากองทัพเรือมีแนวความคิด วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่องกับยานใต้น้ำ ให้กลับมาอีกครั้งซึ่งได้ มอบให้สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ (สวพ.ทร.) เป็นเจ้าของโครงการ

การวิจัยมีจุดหมายศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการออกแบบและสร้างยานใต้น้ำขนาดเล็กขึ้นเองในประเทศ เน้นการพึ่งพาตนเอง และใช้ทรัพยากรในประเทศให้มากที่สุด

อีกทั้งกระจายความรู้สู่สถาบันการศึกษาและอู่ต่อเรือในประเทศ ซึ่งทางสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (สวท.กห.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการวิจัยยานใต้น้ำขนาดเล็กโครงการนี้ซึ่งสิ่งที่จะได้จากงานวิจัยคือ ยานใต้น้ำ ที่สามารถใช้ในการสำรวจสมุทรศาสตร์ และทรัพยากรใต้ทะเล สิ่งก่อสร้างในทะเล พร้อมทั้งก่อเกิดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการสร้างยานใต้น้ำขึ้นในประเทศด้วยความสามารถของคนไทย

หลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ได้มีการกำหนดมิติและขีดความสามารถของยานใต้น้ำเบื้องต้น ตลอดจนค้นหาข้อมูลขีดความสามารถของอู่ต่อเรือในประเทศที่สามารถสร้างยานใต้น้ำ โครงการวิจัยฯ ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดและการสร้างยานฯ และไม่นานมานี้มีพิธีปฐมฤกษ์การสร้างยานใต้น้ำขนาดเล็กขึ้นโดยมี พล.ร.อ. สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี

การวิจัยและพัฒนายานใต้น้ำขนาดเล็กโครงการนี้มี พล.ร.ต.รศ.พงศ์สรร ถวิลประวัติ เป็นนายทหารโครง การดำเนินการออกแบบรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบยานใต้น้ำขนาดเล็กภายในประเทศ คณะนักวิจัย โครงการฯเริ่มบอกเล่า พร้อมให้ความรู้ว่า การวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นรูปธรรม การออกแบบและสร้างต้นแบบยานใต้น้ำขนาดเล็กไม่เพียงก่อเกิดประโยชน์อเนกประสงค์นำ ไปประยุกต์ใช้ทางด้านกิจการพลเรือน และการทหาร

หากแต่ยังก่อเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการออกแบบและการสร้าง ยานใต้น้ำให้เกิดขึ้นอีกครั้งคณะนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องหลายสาขา อีกทั้งมีประสบการณ์การซ่อมและสร้างเรือ ผิวน้ำเป็นอย่างดีทำงานร่วมกัน

“ยานใต้น้ำขนาดเล็ก มีความแตกต่างจากเรือดำน้ำ โดยเรือดำน้ำสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือได้เองภายในเรือ แต่สำหรับยานใต้น้ำขนาดเล็กจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่อัดประจุไฟบนบก ทำให้มีระยะเวลาจำกัดในการปฏิบัติงานใต้ท้องทะเล เมื่อพลังงานหมดก็จะลอยลำขึ้นสู่ผิวน้ำ มิติของยานใต้น้ำก็แล้วแต่จะมีการออกแบบให้ปฏิบัติงาน ที่ความลึกเท่าไร ระยะเวลาปฏิบัติการเท่าไร ซึ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของยานใต้น้ำแต่ละลำ”

งานวิจัยที่เริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ได้กำหนดภารกิจของยาน ออกแบบในรายละเอียดเบื้องต้น คำนวณและออกแบบระบบต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับยานใต้น้ำขนาดเล็กทั้งระบบตัวเรือ ระบบขับเคลื่อนเรือ ระบบปรับอากาศและฟอกอากาศ ระบบบัลลาส ระบบการทรงตัวและการลอยตัว ฯลฯ เมื่อออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จได้ทำการกำหนดวัสดุสำคัญที่จำเป็นในการสร้างยานใต้น้ำ ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่คณะนักวิจัยเลือกใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์จากแหล่งผลิตในประเทศมากที่สุด

ยานใต้น้ำต้นแบบขนาดเล็กนี้เป็นยานใต้น้ำที่ มีระวางขับน้ำประมาณ 27 ตัน ความยาวตลอดตัวยานประมาณ 11 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของยาน 1.80 เมตร ความสูงประมาณ 3 เมตร สามารถปฏิบัติการใต้น้ำอย่าง ปลอดภัยที่ความลึกตั้งแต่ 0-50 เมตร ความเร็วใต้น้ำไม่น้อยกว่า 3 นอต ปฏิบัติภารกิจใต้น้ำได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ขับเคลื่อนด้วยพลัง งานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มี พลประจำเรือ 3 นาย วัสดุตัวเรือรับแรงกดเป็นเหล็กหนา 15 มม. เปลือกเรือชั้นนอกเป็นไฟเบอร์กลาส

“ยานสำรวจใต้น้ำที่มีให้เห็นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นในด้านการท่องเที่ยว หรือการสำรวจ ความเร็ว และความคล่องตัวจะต่างจากยานใต้น้ำขนาดเล็กลำนี้ที่มีความคล่องตัวสูง เมื่อเทียบกับยานที่มีขนาดเท่ากัน ยานใต้น้ำลำนี้ จะเน้นเรื่องความปลอดภัยสูงเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ประจำ อยู่ในยานด้วยขณะดำ

ความลึกปกติที่จะดำลงไปได้จะไม่เกิน 50 เมตร แต่ระยะความลึกปลอดภัย จะออกแบบไว้ที่ 100 เมตร ระดับความลึกนี้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจใต้ท้องทะเลของอ่าวไทย ส่วนทางฝั่งอันดามันจะมีความลึกมากกว่าตามไหล่ทะเลลง ไปเรื่อย ๆ และในอนาคตสามารถนำยานใต้น้ำขนาดเล็กต้นแบบนี้ประยุกต์ใช้ ในภารกิจอื่นได้ แต่ก็จะต้อง มีการศึกษาวิจัย และปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้อง กับภารกิจนั้น ๆ”

ขณะที่การดำเนินการวิจัยระยะแรกเสร็จสิ้นลงแล้วและปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้าง ซึ่งอีกไม่นานยานใต้น้ำขนาดเล็กสมบูรณ์ด้วยศักยภาพจะแล้วเสร็จ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยียาน ใต้น้ำขนาดเล็กครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดองค์ความรู้อย่างยั่งยืนแบบพึ่งพาตนเอง

อีกทั้งยังขยายขอบเขตการศึกษาอย่างกว้างขวางสู่ทุกภาคส่วน ก่อเกิดความเชี่ยวชาญและความชำนาญเป็นการบูรณาการแท้จริง นับเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่น่าภูมิใจในการสร้างยานใต้น้ำ ด้วยฝีมือของคนไทย.

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   6093

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Mariner English Articles TOP Engineering Group - UAV Thailand

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network