Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

1 ใน 3 ของปะการังใกล้สูญพันธุ์

1 ใน 3 ของปะการังใกล้สูญพันธุ์


โดย มติชน วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11088

คอลัมน์ โลกสามมิติ
โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th

1 ใน 3 ของปะการังที่สร้างแนวปะการังกำลังถูกคุกคามจนเผชิญกับภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จากการประเมินของทีมผู้เชี่ยวชาญปะการังร่วมกับองค์กรอนุรักษ์หลายองค์กรเพื่อกำหนดสถานภาพของปะการังแต่ละสปีชีส์เพื่อการอนุรักษ์

รายงานการศึกษาที่ชื่อว่า One-third Of Reef-building Corals Face Extinction ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การพัฒนาชายฝั่ง การจับปลาที่มากเกินไป และมลภาวะเป็นภัยคุกคามหลักต่อปะการัง

ปะการัง Floreana หนึ่งในปะการังที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สูงมากที่สุด

รายงานฉบับนี้ระบุว่าปะการังที่สร้างแนวปะการังเป็นกลุ่มสัตว์ที่ถูกคุกคามมากกว่ากลุ่มสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบกทุกชนิด ยกเว้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเท่านั้น

ก่อนปี 1998 มีปะการังที่สร้างแนวปะการังเพียง 13 สปีชีส์เท่านั้นที่อยู่ในสภาวะถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากจำนวนที่ถูกประเมินทั้งสิ้น 704 สปีชีส์ ทว่าปัจจุบันมีมากถึง 231 สปีชีส์ โดยแบ่งออกเป็นสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงมากที่สุด (Critically endangered) จำนวน 5 สปีชีส์ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงมาก (Endangered) จำนวน 25 สปีชีส์ และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง (Vulnerable) จำนวน 201สปีชีส์

นอกจากนั้นยังมีปะการังที่อยู่ในภาวะใกล้ถูกคุกคาม (Near threatened) จำนวน 176 สปีชีส์และน่ากังวลน้อยที่สุด (Least concern) จำนวน 297 สปีชีส์

ทะเลแคริบเบียนมีปะการังเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ในระดับ Critically Endangered และ Endangered มากที่สุด

หนึ่งในปะการังที่เสี่ยงสูงพันธุ์สูงมากที่สุดคือปะการัง iconic elkhorn ส่วนสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) ในบริเวณหมู่เกาะอินโด-มาเลย์-ฟิลิบปินส์ ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ปะการังส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพ Vulnerable และ Near-Threatened

สามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) ในบริเวณหมู่เกาะอินโด-มาเลย์-ฟิลิบปินส์

ปะการังเผชิญกับภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) เมื่อปี 1997-1978 ทำให้พวกมันลดจำนวนลงอย่างมากเพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลในเขตร้อนที่เพิ่มขึ้น

ศาสตราจารย์ เคนต์ คาร์เพนเตอร์ ผู้นำเขียนรายงานวิจัยนี้บอกว่าผลการศึกษานี้น่ากลัดกลุ้มมาก เมื่อปะการังลดจำนวนลงอย่างรุนแรง พืชและสัตว์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแนวปะการังเพื่ออาหารและใช้เป็นเกราะกำบังภัยก็จะเป็นแบบเดียวกัน และว่าสิ่งนี้สามารถนำไปสู่การพังทลายของระบบนิเวศทั้งหมด

ปะการังฟอกขาว

แนวปะการังเกิดขึ้นมานานหลายล้านปีแล้ว ประมาณ 1 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลอาศัยแนวปะการังบางช่วงเวลาในการดำรงชีวิต ปลาจำนวนมากอาศัยแนวปะการังตลอดทั้งชีวิต และปลาบางชนิดใช้แนวปะการังในการอนุบาลลูกน้อย ทำให้แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด ดังนั้น หากปะการังสูญสิ้นไปก็จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของปลาจำนวนมาก และทะเลจะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ปะการังยังเป็นปราการป้องกันเมืองและชุมชนชายฝั่งจากการกัดเซาะชายฝั่งและน้ำท่วมจากพายุเขตร้อนด้วย

อเล็กซ์ โรเจอส์ หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์จำนวน 39 คน ที่ศึกษาเรื่องนี้จากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน กล่าวว่า มันเป็นภาพที่น่าหวาดกลัวและไม่เป็นเพียงแค่ข้อเท็จจริงที่ว่าบางสิ่งอย่างเช่น 1 ใน 3 ของปะการังที่สร้างแนวปะการังทั้งหมดถูกคุกคาม แต่เราอาจจะกำลังเผชิญกับสูญเสียพื้นที่ของระบบนิเวศขนาดใหญ่นี้ภายในเวลา 50 - 100 ปี

โรเจอร์ยังบอกว่า นัยของมันก็คือสภาวะที่ไม่มั่นคงอย่างแท้จริงซึ่งไม่เพียงเฉพาะความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่รวมถึงทางเศรษฐกิจด้วย

ทุกวันนี้ผู้คนหลายล้านคนอาศัยปะการังในการทำมาหากิน แผนงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) ประเมินเมื่อสองปีก่อนว่า ปะการังมีมูลค่าอยู่ในระหว่าง 100,000-600,000 เหรียญสหรัฐต่อตารางกิโลเมตรต่อปี ซึ่งทำให้มีมูลค่ารวมทั้งโลกอยู่ในระหว่าง 30,000-180,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่บางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่านั้น

ปะการังตายด้านซ้ายตายเพราะโรค White Plague และโรคระบาดไปยังปะการังด้านขวา

อย่างเช่นที่ศรีลังกา มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยของโลกถึง 10 เท่า ขณะที่รายจ่ายเพื่อการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ปะการังมีเพียง 0.2% ของจำนวนรายได้จากปะการังเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ภัยคุกคามหลักต่อปะการัง คือการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การจับปลาที่มากเกินไป คุณภาพของน้ำที่ลดน้อยลงเพราะมลภาวะ และการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์บริเวณชายฝั่ง

การเปลี่ยนแปลงของอากาศเป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นและรับรังสีจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ซึ่งทำให้ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) และอ่อนแอต่อโรคจนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก

ปะการังในเขตน้ำตื้นมีชีวิตโดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับสาหร่ายซูแซนเธลลี (zooxanthellae) ซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง

สาหร่ายซูแซนเธลลี (zooxanthellae) ซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง

สาหร่ายชนิดนี้จะให้อาหาร ออกซิเจน แก่ปะการังจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของมันและยังทำให้ปะการังมีสีสันสวยงามอีกด้วย

อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้สาหร่ายซูแซนเธลลีหลุดออกจากเนื้อเยื่อของปะการัง ซึ่งทำให้เกิดภาวะปะการังฟอกขาว และปะการังจะขาดอาหาร และอ่อนแอต่อโรค

คาร์เพนเตอร์บอกว่า ปัญหาใหญ่ก็คือ หากเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวถี่ขึ้นจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเกิด เราจะได้เห็นพื้นที่ของปะการังถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง

นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น มลภาวะและตะกอนดินที่น้ำพัดพาลงทะเลก็เป็นสาเหตุทำให้ปะการังอ่อนแอต่อโรคเช่นกัน

การจับปลาที่มากเกินไปเกิดขึ้นในท้องทะเลหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ระเบิดจับปลาในทะเลของเอเชียตะวันออก รวมทั้งการใช้อวนลากขนาดใหญ่จับปลาทำให้ปะการังกลายเป็นเศษปูน

ภาวะความเป็นกรดในน้ำทะเลจะเป็นภัยคุกคามใหม่ของปะการังในอนาคตอันใกล้ น้ำทะเลที่มีความเป็นกรดสูงขึ้นจากการที่มหาสมุทรดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ จะส่งผลกระทบต่อการสร้างโครงสร้างภายนอกของปะการังที่เป็นหินปูนซึ่งสร้างจากแคลเซียม คาร์บอเนต

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าผลกระทบนี้จะทำลายล้างปะการังจำนวนมากภายในระยะเวลาเท่าใด มันอาจจะเป็นสองสามทศวรรษข้างหน้า หรือบางทีอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็ได้

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4129

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

TOP Engineering Group - UAV Thailand Nathalin Group

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network