Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

Cho.Charoen Maritime Instruments FB MarinerThai News

ลิลี่แพดเมืองลอยน้ำ

ลิลี่แพดเมืองลอยน้ำ


จาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 4049

คอลัมน์ Technology

เรื่อง Nobit

สมใจคนชอบ Experimental Design สำหรับนวัตกรรมการออกแบบเมืองลอยน้ำ "ลิลี่แพด" (Lilypad City) บ้านใหม่แห่งอนาคตที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ในการช่วยเหลือคนทั้งโลกที่ต้องการลี้ภัยน้ำท่วมอันเกิดจากวิกฤติโลกร้อน ที่กำลังคุกคามอย่างรุกคืบ จากความคิดอันเฉียบคมของ วินเซนต์ คาเลโบต์ สถาปนิกคนเก่งจากเบลเยียม

การออกแบบเมืองนี้ คาเลโบต์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของใบบัวขนาดใหญ่ อะมาโซเนีย วิคตอเรีย เรเจีย ลิลี่แพด ที่มีลักษณะเป็นใบกว้างลอยอยู่เหนือน้ำคอยรองรับน้ำฝนและฟอกน้ำให้สะอาด โดยคาเลโบต์ได้ออกแบบให้เมืองนี้ เข้าออกด้วยท่าจอดเรือที่มีอยู่ 3 ทาง และมีภูเขา 3 ลูก เพื่อให้ผู้คนที่อยู่บนเมืองลอยน้ำแห่งนี้ได้เพลิดเพลินกับการเปลี่ยน วิวทิวทัศน์ ไม่ซ้ำซากจำเจ

สำหรับสภาวะแวดล้อมของเมืองนั้น วินเซนต์ได้ออกแบบให้ทั้งเมืองปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ปลูกอยู่ด้านบน โดยมีเป้าหมายของการสร้างอยู่ที่การสร้างความกลมกลืนในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

ลิลี่แพดจะเป็นเมืองที่เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีลักษณะเป็นเมืองสะเทินน้ำสะเทินบกที่ไม่จำเป็นต้องมีรถหรือมีถนนใดๆ สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วม อย่างรุนแรงได้เป็นอย่างดี โดยจะลอยตัวอยู่ในทะเลบริเวณผิวดินเดิมที่ถูกน้ำท่วมมิด กล่าวคือเป็นเมืองที่ลอยอยู่ทั่วโลกเหมือนเรือยักษ์ หรือลอยไปตามกระแสน้ำไหลของมหาสมุทรทั่วโลก

ที่สำคัญคือพลังงานที่ใช้ในเมืองจะมาจากแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ รวมถึงการใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อน พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานคลื่น โดยพลังงานที่ได้ทั้งหมดจะมากเกินความจำเป็นที่คนทั้งเมืองต้องการใช้ แถมยังไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด ขณะที่ขยะก็จะถูกนำไปรีไซเคิล

แน่นอนว่าความคิดอันน่าชื่นชมของวินเซนต์สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศด้านการออกแบบเมืองแห่งอนาคตมาครอง ได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งยังเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่สอดรับกับการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่ว่า น้ำแข็งจะละลายเพราะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นถึง 88 เซนติเมตร (เกือบ 3 ฟุต) ภายในปี 2643 และจะเกิดภัยคุกคามต่อพื้นที่ขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งเมืองใหญ่ๆ ของโลก เช่น กรุงลอนดอนในอังกฤษ นครนิวยอร์กในสหรัฐฯ และกรุงโตเกียวในญี่ปุ่น

โดยเฉพาะเมืองที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เซนติเมตร และเกาะน้อยใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น เกาะตูวาลู เกาะคิริบาติ หรือเกาะมัลดีฟส์ ซึ่งหากน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 50 เซนติเมตร พื้นที่ของเกาะก็จะถูกคลื่นทะเลซัดกร่อน หรือจมอยู่ใต้น้ำ หรือแม้บางเกาะจะอยู่เหนือทะเลได้ แต่ประชากรในพื้นที่คงต้องเผชิญกับปัญหาน้ำดื่มขาดแคลนกันน่าดู เพราะน้ำทะเลรุกล้ำเข้ามายังแหล่งน้ำจืด อันเป็นคลื่นกระทบต่อชีวิตผู้คนหลายสิบล้านคนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งในเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า รวมทั้งประเทศไทยด้วย

นับเป็นแนวคิดที่ล้ำสมัยที่เมืองไทยน่าจะมีผู้นำมาปรับใช้บ้าง เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า อีกประมาณ 30 ปี น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง งานนี้เห็นทีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคงต้องพักรบ สงบใจ หันหน้าปรองดองกันเพื่อทุกชีวิตในประเทศไทยบ้างแล้ว

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4267

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Photos from Mariner Advertising in marinerthai.net

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network