Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

MarinerThai 2004 Co., Ltd. Advertising in MarinerThai.Com

โอดิสซี่เจรจารบ.อังกฤษ กู้ซากเรืออับปางพร้อมทองค่า 5 หมื่นล้าน

โอดิสซี่กู้ซากเรือ HMS Victory พร้อมทองค่า 5 หมื่นล้าน


จาก หนังสือพิมพ์ ข่าวสดรายวัน  วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6677

ภาพจาก Odyssey Marine Exploration, Inc. (www.shipwreck.net)

แบบจำลองของเรือ HMS Victory

เมื่อปีที่แล้วบริษัทโอดิสซี่มารีนโอเพอเรชันของสหรัฐ พบซากเรือ เอชเอ็มเอสวิกตอรี HMS Victory ซึ่งมีความยาว 175 ฟุตของกองทัพเรืออังกฤษที่อับปางลงเมื่อปี ค.ศ. 1744 จากการชนหินโสโครกที่บริเวณช่องแคบอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1744 การอับปางครั้งนั้นทำให้มีทหารเสียชีวิต 1,100 นาย ทองมูลค่ามหาศาลปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท ยังจมหายไปกับเรือด้วย

Admiral Sir John Balchin ผู้ควบคุมเรือรบ HMS Victory เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1744 เที่ยวสุดท้ายของเรือลำนี้

Odyssey Marine Exploration บริษัทสัญชาติอเมริกัน ได้ค้นพบซากเรือ HMS Victory และทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบริษัทนี้กับรัฐบาลอังกฤษว่า ใครสมควรจะได้ครอบครองทรัพย์สินบนเรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองคำมูลค่ามหาศาลและปืนใหญ่ที่ทำจากทองเหลือง ซึ่งกลายเป็นวัตถุโบราณล้ำค่าที่ประเมินราคาไม่ได้

ความขัดแย้งเกิดขึ้นเนื่องจาก Odyssey บอกว่าบริเวณที่พบเรือ HMS Victory (ซึ่งจนถึงปัจจุบัน Odyssey ยังปิดเป็นความลับ) อยู่นอกอาณาเขตของประเทศอังกฤษ ในขณะที่อังกฤษอ้างสิทธิ์ตามกฎหมายทางทหาร ที่ระบุะว่ารัฐบาลมีสิทธิ์และ เป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกอย่างบนเรือรบทุกลำที่ยังไม่ได้ปลดระวาง

ภาพแสดงให้เห็นซากบางส่วนของปืนใหญ่ประจำเรือ

นายเกรก สเต็มม์ (Greg Stemm) ผู้ร่วมก่อตั้ง Odysseyและเป็นผู้บริหารโอดิสซี่ฯ กล่าวว่า "เรากำลังเจรจากับรัฐบาลอังกฤษเรื่องความร่วมมือในการกู้ซาก เรือเอชเอ็มเอสวิกตอรี ซึ่งนับว่า เป็นการอับปางครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ สำหรับบริเวณที่พบซากเรือมีขนาด 70x200 ฟุต เราได้ใช้หุ่นยนต์บังคับด้วยรีโมตคอนโทรลไปสำรวจใต้น้ำ พร้อมกับถ่ายรูปและวิดีโอที่มีความละเอียดสูงเก็บไว้เป็นข้อมูล"

ภาพวาดขณเรือ HMS Victory กำลังอับปางลงเมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1744 วาดโดย Peter Monamy (ช่วงศตวรรษที่ 18)

โอดิสซี่ฯ มั่นใจว่าซากเรือที่พบเป็นเอชเอ็มเอสวิกตอรี เพราะพบปืนใหญ่ซึ่งทำมาจากทองเหลืองจำนวน 31 กระบอก จากทั้งหมด 110 กระบอก ก่อนเกิดเหตุเรือลำนี้เดินทางออกจากกรุงลิสบอน ประเทศอังกฤษ และขนเหรียญทองคำกว่า 100,000 เหรียญมาด้วย พร้อมหลักฐานบางอย่างที่ทำให้เชื่อได้ว่าเรือลำนี้ก็คือเรือรบ HMS Victory ในขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมของอังกฤษบอกว่า ถ้าซากเรือดังกล่าวเป็นเรือรบของอังกฤษจริง ทรัพย์สินทุกชิ้นบนเรือลำนี้ ยังคงเป็นของประเทศอังกฤษอยู่ และการล่วงล้ำเข้าไปในซากเรือรบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษถือเป็นการบุกรุก

ซากปืนใหญ่โบราณที่ทำจากทองเหลืองขนาด 42 Pounder ที่กู้ขึ้นมาได้

บริเวณที่เรืออับปางอยู่ห่างจากชายฝั่งอังกฤษ 25-40 ไมล์ นับว่าอยู่ในเขตของทะเลนานาชาติ ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมอังกฤษ แถลงว่า ถ้าซากเรือเป็นของกองทัพอังกฤษจริง เรือลำนี้ก็ยังเป็นของอังกฤษอยู่ และบุคคลใดๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ถ้ารัฐบาลไม่ยินยอม

ซากปืนใหญ่โบราณที่ทำจากทองเหลืองขนาด 12 และ 42 Pounder ที่กู้ขึ้นมาได้

 เรือ HMS Victory อับปางลงระหว่างเดินทางกลับจาก Lisbon ประเทศโปรตุเกส และคาดกันว่าภายในเรือมีเหรียญทองคำจำนวน หนึ่งแสนอัน การค้นพบซากเรือห่างจากจุดเกิดเหตุเดิมกว่า 50 ไมล์ ทำให้ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ต้องเปลี่ยนไป รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นคาดว่าเรืออับปางเพราะชนหินโสโครก ทำให้ผู้ดูแลประภาคารในขณะถูกดำเนินคดี และ Sir John Balchin ผู้ควบคุมเรือรบลำนี้ต้องมีประวัติด่างพร้อยว่าประมาทในการควบคุมเรือจนทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคน

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   6672

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Photos from Mariner Nathalin Group

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network