Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Nathalin Group FB MarinerThai News

ไต้หวันพบปลาประหลาดสีเงินมีหงอนตัวแบนยาวคล้าย "พญานาค"

ไต้หวันพบปลาประหลาดสีเงินมีหงอนตัวแบนยาวคล้าย "พญานาค"


จาก มติชนออนไลน์  วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไต้หวันพบปลาประหลาดสีเงินมีหงอนตัวแบนยาวคล้าย "พญานาค" ผวาตำนานอาจเกิดแผ่นดินไหวใหญ่

ตะลึง เรือประมงไต้หวันพบปลาประหลาด "มีหงอน"ตัวแบนยาว 5 เมตร เชื่อมโยง"พญานาค"ของไทย ไต้ก๋งเชื่อเป็น"ราชามังกร"ตามตำนาน เจ้าของแผงปลาไม่ยอมแล่ขายหวั่นหายนะ สุดท้ายได้ 2 พันจากชายซื้อไปสตัฟฟ์ "ธรณ์" เตือนอย่าตระหนกสึนามิ

สำนักข่าวซีเอ็นเอของไต้หวันรายงานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนว่า ลูกเรือประมง เซิง ฝ่าไซ้ จับปลาประหลาดได้ตัวหนึ่งในทะเลนอกชายฝั่งเขตไถตง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน ระหว่างการออกเรือหาปลาในน่านน้ำนอกฝั่งเมือง เฉิงกง เมื่อคืนก่อนหน้านั้น

ทั้งนี้ นาย ถง ฉิ่น ซิ่ง ไต้ก๋งเรือลำดังกล่าวเปิดเผยว่า ลูกเรือของตนเห็นปลาประหลาดตัวนี้ เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. เพราะเกล็ดสีเงินของมันสะท้อนแสงวูบวาบกลางน้ำในยามกลางคืน เมื่อจับขึ้นเรือได้จึงพบว่าเป็นปลาหายากที่มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกันออกไปในหลายท้องถิ่น ลูกเรือประมงชาวไต้หวันบางคนเรียกว่า ปลาอานนท์ หรือ ปลาแผ่นดินไหว เพราะเชื่อว่า เป็นปลาที่เป็นต้นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหว

อย่างไรก็ตาม ในบางท้องถิ่นเรียกมังกรทะเล หรือ ซี เซอร์เพนท์ บางท้องถิ่นเรียก ปลาราชามังกร แต่ชื่อสามัญที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชาวประมงนานาชาติ คือ คิง ออฟ เดอะ เฮอร์ริ่ง หรือ ราชาแห่งฝูงปลาเฮอร์ริ่ง

รายงานข่าวระบุว่า ปลาประหลาดที่จับได้มีความยาวถึง 5 เมตร ลำตัวแบนยาวเป็นสีเงิน มีจุดสีฟ้า และดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง พร้อม "หงอน" ที่ลูกเรือเชิง ฝ่าไซ้ อ้างว่า เมื่อยืดออกจนสุดแล้ววัดความยาวได้ถึง 11 เมตร ทั้งนี้ นายถง ไต้ก๋งเรือประมงลำนี้ เชื่อว่า นี่คือปลาราชามังกรที่มีระบุไว้ในตำนานพื้นบ้านของไต้หวัน และเปิดเผยด้วยว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็น "ราชามังกร" ในตำนานนี้หลังทำประมงมา 30 ปี

นายถงและลูกเรือพยายามขอร้องให้แผงขายปลาที่ท่าเรือซินกังแล่ปลาตัวนี้เพื่อนำเนื้อจำหน่าย แต่ไม่มีเจ้าของแผงรายไหนกล้าจัดการกับปลาตัวนี้ หลายคนไม่ยอมแตะต้องตัวปลาด้วยซ้ำ เพราะเชื่อว่า ถ้าหากไปแตะต้องปลาชนิดนี้จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว หรือหายนะภัยครั้งใหญ่เหมือนที่ระบุไว้ในตำนาน ที่ถือว่า ปลาชนิดนี้คือ "ผู้นำสารจากวังมังกร" แม้ว่าชาวประมงบางคนจะเชื่อว่าปลามังกรนี้จะนำโชคดีมาให้ แต่ก็ไม่กล้าแตะต้องเช่นเดียวกัน

เจ้าของแผงปลารายหนึ่งบอกว่า เมื่อไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าปลานี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ก็อย่าไปแตะต้องมันเลยจะดีกว่า สุดท้ายแล้ว ชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ขอซื้อปลาตัวนี้จากนายถงด้วยราคา 2,000 เหรียญไต้หวัน (ราว 2,000 บาท) โดยบอกว่า จะนำไปสตัฟฟ์เก็บไว้โชว์ที่บ้านพัก

ทางด้านนาย โฮ หยวน ซิ่น นักวิจัยจากศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลตะวันออก ของไต้หวันเปิดเผยว่า ปลาชนิดนี้เป็นปลาทะเลน้ำลึก มักอาศัยอยู่ในเขตทะเลน้ำอุ่นที่ความลึกระหว่าง 50-250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่

ปลาประหลาดชนิดนี้เคยถูกทหารเรืออเมริกันจับได้ในลำน้ำโขง เมื่อวันที่ 28 กันยายนปี 2539 มีการถ่ายภาพตีพิมพ์เผยแพร่อ้างว่ามีความยาวถึง 10 เมตร ทั้งนี้ เชื่อว่า ปลาตัวดังกล่าวพลัดหลงเข้ามาในเขตน้ำจืดและกำลังจะเสียชีวิต เพราะมีรายงานว่า ทหารอเมริกันส่งปลาดังกล่าวกลับสหรัฐอเมริกาแต่ไม่รอดชีวิต เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปมีการพูดถึงปลาประหลาดตัวนี้ว่า เป็นพญานาค และนำไปเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในบริเวณลำน้ำโขงในเขต จ.หนองคาย และอ้างกันว่า "นางพญานาค" ที่จับได้นั้นผิวหนังเป็นเลื่อมประกาย 7 สี และมีเลือดเป็นสีเขียวอ่อน

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในเอ็นไซโคลพิเดีย บริเทนนิกา ระบุว่า ปลาชนิดนี้เรียกชื่อสามัญว่า "คิง ออฟ เดอะ เฮอร์ริ่ง" หรือ "ออร์ ฟิช" (ปลาใบพาย เข้าใจว่ามาจากลักษณะของลำตัวแบนแคบและลักษณะการว่ายสะบัดพลิ้วเหมือนริบบิ้นของมัน) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "รีกัลเลคุส เกลสเน" อยู่ในวงศ์ "รีกัลซิเด" อาจโตได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในกินเนสส์ บุ๊ก ออฟ เวิร์ลด์ เรคคอร์ด ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นปลาชนิดที่มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น โดยทั่วไปแล้วออร์ฟิชกินแพลงตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตออร์ฟิชจะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อร์ตได้

ด้านนายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า หากเป็นปลาชนิดเดียวกับที่เคยรู้จัก เข้าใจว่า เป็น ปลามังกรทะเลลึก หรือ Dragons of The Deep ปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำลึกอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก และเป็นปลาชนิดเดียวกับที่ทหารอเมริกันช่วยกันอุ้มตั้งแต่หัวถึงหางไปถ่ายรูปยืนยิ้มเรียงหน้ากัน และมักจะมีคนอ้างว่ารูปดังกล่าวคือ พญานาค และจับได้จากแม่น้ำโขง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่ แต่เป็นปลาที่จับได้แถวอเมริกาใต้ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

"หากเรื่องการเจอปลาพญานาคเป็นเรื่องเดียวกับที่มีการพูดว่า จะเกิดคลื่นสึนามิขึ้นที่อ่าวไทยในช่วง 3-4 เดือนที่จะถึงนี้ ก็เคยได้ยินมาเหมือนกัน แต่ว่ากันตามภูมิประเทศแล้ว หากเกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่แถวหมู่เกาะสุมาตรา กว่าคลื่นจะมาถึง จ.สงขลา ก็ใช้เวลา 14 ชั่วโมง ขณะที่ไปถึงพัทยาใช้เวลา 20 ชั่วโมง และมีการคำนวณว่า หากไหวด้วยความแรง 9 ริคเตอร์ ความสูงของคลื่นที่พัทยาจะสูงเพียงครึ่งเมตรเท่านั้น แต่ถึงอย่างไร หากจะหาทางป้องกันเหตุความเสียหายจากคลื่นสึนามิที่จะเกิดในอ่าวไทยก็ทำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาล หรือต้องตื่นตระหนกจนเกินกว่าเหตุ" นายธรณ์กล่าว


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   5943

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

MarinerThai Webboard Nathalin Group

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network