Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd.

Advertising in marinerthai.net TOP Engineering Group - UAV Thailand

ในทะเลมีจุลชีพที่มองไม่เห็น หนักเท่าช้างแอฟริกันล้านล้านตัว

ในทะเลมีจุลชีพที่มองไม่เห็น หนักเท่าช้างแอฟริกันล้านล้านตัว


จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 21 เมษายน 2553

ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์

ในอดีตเชื่อว่า ในท้องทะเลมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นเพียงไม่กี่เซลล์ แต่จากการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 2,000 คน พบว่าในน้ำทะเลมีจุลชีพขนาดเล็ก อัดแน่นหลายล้านเซลล์ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักของช้างแอฟริกาได้ถึง 2.4 ล้านล้านตัวเลยทีเดียว

การสำรวจของนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศ ในโครงการสำรวจประชากรจุลชีพทางทะเลนานาชาติ (International Census of Marine Microbes) หรือ ICoMM ยังพบ “แถบจุลชีพ” (microbial mat) ซึ่งทีมสำรวจในชิลีได้พบแถบจุลชีพนี้ ครอบคลุมพื้นที่เทียบเท่ากับประเทศกรีซในชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอเมริกาใต้ และนับเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการค้นพบนี้ด้วย

สำหรับแถบจุลชีพนี้ พบในทะเลชั้นออกซิเจนต่ำ (oxygen minimum layers: OML) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีออกซิเจนอยู่เล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลย และทีมวิจัยยังพบอีกว่า ชุมนุมของจุลชีพเหล่านี้ เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตทั่วไป และเป็นสารที่เกิดจากการสลายของวัตถุอินทรีย์ในสภาพแวดล้อมที่ขาดออกซิเจน

วิคเตอร์ กาล์ลาร์โด (Victor Gallardo) รองประธานคณะกรรมการสำรวจประชากรทางวิทยาศาสตร์ (Census Scientific Steering Committee) กล่าวว่า แถบจุลชีพนี้คล้ายกับระบบนิเวศน์ที่มีอยู่บนโลกเมื่อประมาณช่วง 2.5 พันล้านปี - 650 ล้านปีก่อน

ทั้งนี้ บีบีซีนิวส์รายงานว่า การค้นพบนี้ได้ประเมินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งคิดเป็น 90% ของชีวมวลในท้องทะเล โดยโครงการ ICoMM นี้ เป็น 1 ใน 4 โครงการย่อยของโครงการสำรวจประชากรสิ่งมีชีวิตทางทะเล (Census of Marine Life) หรือ CoML ซึ่งดำเนินงานมากว่าทศวรรษแล้ว โดยเมื่อช่วงทศวรรษปี 1950 นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าในน้ำทะเล 1 ลิตรนั้นจะพบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กประมาณ 100,000 เซลล์ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีจุลชีพน้ำทะเลปริมาณเดียวกันนี้นับล้านล้านเซลล์

ด้านเอพีรายงานว่า การสำรวจประชากรนานนับทศวรรษนี้ ได้พบสิ่งมีชีวิตทางทะเลรูปแบบใหม่ๆ กว่า 5,000 ชนิด และทีมนักวิจัยคิดว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่พบอีก 2-3 เท่าของชนิดที่พบแล้ว โดยการสำรวจล่าสุดก่อนนั้นได้พุ่งความสนใจไปที่สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ อย่างเช่นชุมชนดาวเปราะ (brittle star) ที่ชายฝั่งนิวซีแลนด์ เส้นทางพิเศษในแอนตาร์กติกาซึ่งหมึกยักษ์สัญจรไปในกระแสน้ำเค็มพิเศษ ซอกมุมลึกที่สุดที่จะพบแมงกะพรุน และคาเฟ่ฉลามขาว (White Shark Cafe) บริเวณน้ำลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นบริเวณที่ฉลามขาวไปรวมตัวกัน

ตอนนี้นักวิจัยให้ความสำคัญในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ซึ่งบางชนิดซ่อนตัวอยู่ในที่พื้นทะเล โดยการสำรวจได้พบหนอนกลมที่หุบเหวลึกที่สุดและมืดที่สุด และโคลนอ่อนเพียงตารางวาเดียวมีหนอนกลมนี้รวมกันอยู่กว่า 500,000 ตัว แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีการศึกษา มีหนอนทะเลกว่า 16,000 ชนิด มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวก “ลอริซิเฟอรา” (loriciferan) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ตัวคาดเอว” (girdle wearer) เนื่องจากมีเปลือกด้านหลัง คล้ายเสื้อรัดทรงของผู้หญิง และยังพบสัตว์เปลือกแข็งหรือครัสเตเชียน (crustacean) อีกหลายร้อยชนิด

“การค้นพบเช่นนี้ ได้เปลี่ยนมุมมองของเราต่อทะเลลึกใหม่ ต่างไปจากทะเลทรายห่างไกลที่ไร้สิ่งมีชีวิต ทะเลลึกได้เผยให้เห็นระบบนิเวศน์ที่มีความหลากหลายสูง เช่นเดียวกับป่าฝนเขตร้อนและแนวปะการัง” เปโดร มาร์ติเนซ อาร์บิซู (Pedro Martinez Arbizu) นักวิจัยจากศูนย์วิจัยความหลากหลายทางทะเลของเยอรมนี (German Center for Marine Biodiversity Research) ให้ความเห็น

ในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ประมาณ 7,000 สปีชีส์ และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เมื่อพวกเขาจำแนกสิ่งมีชีวิตจากการสำรวจประชากรทั้งหมดจะมีแพลงก์ตอนสัตว์มากกว่าที่จำแนกไว้ถึง 2 เท่า ทั้งนี้แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กนั้นมักโปร่งแสง มองทะเลผ่านได้ง่าย บางครั้งแรียกว่า “แมลงทะเล” (sea bug) ซึ่งสิ่งมีชีวิตนี้มีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหาร

จากการกระบวนการวิเคราะห์ดีเอ็นเอซึ่งมีการปรับปรุงจากเดิมนั้น ทีมวิจัยพบว่าปลา 3 ชนิดที่คิดว่าต่างสายพันธุ์กันนั้น แท้จริงแล้วเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีสส์เดียวกัน คือ มิราพินนิเด (Mirapinnidae) หรือปลาเทปเทล (tapetails) เมกาโลมายทีริเด (Megalomycteridae) หรือปลาบิ๊กโนสฟิช (bignose fishes) และเซโตมิมิเด (Cetomimidae) หรือปลาเวลฟิช (whalefishes) โดยปลาเทปเทลนั้นเป็นตัวอ่อน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะกลายเป็นปลาบิ๊กโนสซี่งเป็นเพศเมีย หรือปลาเวลฟิชซึ่งเป็นเพศผู้

จากการเก็บตัวอย่างจากจุดสำรวจกว่า 1,200 จุด นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าอาจพบสกุล (Genus) ของจุลชีพในทะเลมากกว่าที่คิด 100 เท่า โดยในการศึกษาเมื่อปี 2007 เฉพาะที่ช่องแคบอังกฤษ (English Channel) แห่งเดียวพบสกุลใหม่ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กถึง 7,000 สกุล

ทั้งนี้ สกุลเป็นลำดับจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่ระหว่างวงศ์ (family) และสายพันธุ์ (species) เช่น คน สุนัขและม้าอยู่ในวงศ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกัน แต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยคนอยู่ในสกุลโฮโม (homo) สุนัขอยู่ในสกุลแคนิส (canis) และม้าอยู่ในสกุลอีคูส (equus)

ประมาณว่า ในท้องทะเลมีจุลชีพอยู่จำนวน 1030 เซลล์ หรือที่เรียกว่า “โนนิลเลียน” (nonillion : จำนวนล้านล้านล้านล้านล้าน) หรือเปรียบเทียบกับช้างแอฟริกาได้ว่า จุลชีพในจำนวนดังกล่าวหนักเทียบเท่ากับช้างแอฟริกา 2.4 ล้านล้านตัว หากเทียบกับจำนวนประชากรโลก จะได้ช้างไปคนละ 35 ตัวกันเลยทีเดียว.

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3050

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Nathalin Group Advertising in marinerthai.net

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network