Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

MarinerThai 2004 Co., Ltd. FB MarinerThai News

เต่าตนุ หรือ เต่าแสงอาทิตย์

เต่าตนุ หรือ เต่าแสงอาทิตย์


จาก หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ  ฉบับที่ 1104 ประจำวันที่ 2-6-2010 ถึง 4-6-2010

ในกระบวนสัตว์ทะเลน่ารักที่อยู่ในใจนักดำน้ำ หนึ่งในนั้นไม่พ้นเต่าทะเล ซึ่งมีเต่าตนุเป็นเต่าส่วนใหญ่ ที่มีอยู่ในทะเล

เต่าตนุ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า CHELONIA MYDAS ลักษณะคล้ายเต่ากระ แต่ปากไม่เป็นจะงอย กระดองสีน้ำตาลแดงอมเขียว ตามขอบกระดองและขามีสีเหลืองอ่อนๆ กระดองมีลายเส้นสีน้ำตาลเป็นแฉกๆ คล้ายลำแสงอาทิตย์ ในเต่าที่มีอายุมากๆบางครั้งกระดองเต่าจะมีสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น เพรียง สาหร่าย ฯลฯ มาอาศัยอยู่ด้วย

เต่าตนุเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดวัดได้ถึง 100 เซนติเมตร มีน้ำหนักได้จนถึง 130 กิโลกรัม

เต่าตนุจะขึ้นวางไข่ตามชายหาดที่ตัวเองเกิดประมาณเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในแต่ละฤดูจะวางไข่ประมาณ 2 ครั้ง

เต่าตนุชอบอาศัยอยู่ในแนวปะการังอันเงียบสงบไร้ผู้รบกวน พบได้ในทะลไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะที่บริเวณเกาะคราม ไข่เต่าตนุนี่เองที่ผู้คนนิยมบริโภค และเรียกว่าไข่จะละเม็ด รวมทั้งเนื้อของเต่าตนุก็ยังถูกนำมาบริโภค จึงมีความพยายามที่จะศึกษาและทำฟาร์มเลี้ยงเต่าทะเลประเภทนี้เพื่อการค้า

ในทะเลอันดามันโดยเฉพาะที่หมู่เกาะสิมิลันเต่าตนุจะขึ้นวางไข่ที่เกาะ 1 ที่มีชายหาดขาวสะอาดยาวเหยียดจนทางอุทยานฯ ต้องสั่งปิดเกาะ ไม่อนุญาตให้คนขึ้นบนเกาะเพื่อให้เต่าวางไข่ได้อย่างปกติ

ที่หมูเกาะสิมิลันยังสามารถพบเต่าตนุได้บ่อยๆ โดยเฉพาะที่เกาะ 8 บริเวณหน้าอ่าวเกือกม้า มีเต่าตนุหลายตัวคอยรับแขกที่มาจอดเรือ โดยเจ้าเต่าตนุจะขึ้นมาเล่นที่ผิวน้ำข้างเรือเพื่อรอรับอาหารที่นักท่องเที่ยวส่งให้ทาน นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารกับเต่ากับมือได้เลย

ในทะเลไทยอาจจะพบเห็นเต่าตนุได้บ้างในบางครั้ง แต่ในต่างประเทศ เช่น เกาะสิปาดัน สามารถพบเห็นเต่าตนุได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ผิวน้ำไปจนถึง ที่ความลึกมากๆ เรียกได้ว่าคิดถึงเต่าเมื่อไหร่ก็จะได้เห็นเต่าทันที

ศัตรูของเต่าตนุที่ทำให้จำนวนเต่าลดลงอย่างรวดเร็วก็คือชายหาดแหล่งวางไข่ที่มีพื้นที่น้อยลงเรื่อยๆ และอาหารตามธรรมชาติที่เต่าไร้เดียงสาไปทานถุงพลาสติกที่คิดว่าเป็นแมงกะพรุน เข้าไป


(ชื่อวิทยาศาสตร์) - Chelonia mydas   |   (ชื่อสามัญ) - เต่าตนุ

(ชื่อสามัญ) - เต่าแสงอาทิตย์    |     (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ) - GREEN TURTLE

ลักษณะทั่วไป

เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และน้ำหนักมาก หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกัน (ไม่ซ้อน) กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้นสีของกระดองดูเผิน ๆ มีสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะเห็นว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีผู้เรียกเต่าชนิดนี้ว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ส่วนที่ชาวยุโรปเรียกว่า "เต่าเขียว" นั้นมีอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือ กระดองหลังมีสีเหลืองปนเขียวประการหนึ่ง ส่วนประการที่สองคือ น้ำมันที่ได้จากไขมันของเต่าตนุจะมีสีเขียว

ลักษณะเด่น

เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal Scale) มีจำนวน 1 คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้าง (Costal Scale) จำนวน 4 เกล็ด ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อน สีสันและลวดลายสวยงามมีกระดองสีน้ำ ตาลอมเหลือง มีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด มีชื่ออีกอย่าง หนึ่งว่า เต่าแสงอาทิตย์

แหล่งที่พบ - ถิ่นอาศัย

พบมากในบริเวณอ่าวไทย ทางจังหวัดภาคใต้และทางฝั่งทะเลอันดามัน แหล่งวางไข่เต่าตนุในอ่าวไทย พบที่เกาะคราม จ.ชลบุรี และ พบประปรายทางฝั่งอันดามัน ทางชายทะเลตะวันตกของ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต รวมทั้งบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาอัตราจำนวนของ เต่าตะนุ ได้ลดลงมาก และในเมืองไทยนั้นลดจำนวนลง เหลือต่ำกว่า 100 ตัว และ เกาะสิปาดาน ประเทศมาเลเซียเป็นสถานที่หนึ่งในโลกที่จำนวนของเต่าตะนุ ยังคงสูงอยู่

ในปัจจุบันเต่าตนุได้ลดจำนวนลงไปมาก เนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และอุบัติเหตุจากใบพัดเรือหรือติดแหเรือประมง ที่เกาะสิปาดาน ในประเทศมาเลเซียมีการปิดเกาะ มิใช่เพียงเพื่ออนุรักษ์แนวปะการังที่มีความสวยงามระดับโลก แต่เพื่ออนุรักษ์เต่าตนุนับหลายร้อยตัว รัฐบาลมาเลเซียเห็นว่าการอนุรักษ์แนวปะการังและสัตว์น้ำที่อาศัย เป็นวิธีที่จะช่วยพัฒนาเกาะสิปาดานให้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2547 มาเลเซียจึงมีประกาศว่าภายในปีนั้นให้รีสอร์ททั้ง 5 แห่งที่อยู่บนเกาะปิดรีสอร์ทและย้ายออกจากเกาะ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่านักดำน้ำจะได้ชม ธรรมชาติที่สวยงามใต้น้ำไปอีกหลายศตวรรษ

การแพร่พันธ์

เต่าตนุเหมือนกับ เต่ากระ ตรงที่มันจะหาอาหารในที่หนึ่งและจะว่ายไปเป็นระยะทางที่ไกลมาก ไปอีกที่หนึ่งเพื่อวางไข่ซึ่งสถานที่นี้เป็นที่เดียวกันกับที่มันเกิด การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นทุกๆ สองปี ถ้าหากโชคดีนักดำน้ำอาจมีโอกาสได้เห็นการผสมพันธุ์ของเต่าตนุ หลังจากการผสมพันธุ์ตัวเมียจะรอจนน้ำขึ้นและจะคลานกลับไปยังชายหาดที่มันเกิด ขุดหลุมและวางไข่ ประมาณ 100 - 200 ฟอง และจะกลบไว้ด้วยทรายเสร็จแล้วก็จากไป ประมาณสองเดือนลูกเต่าก็จะ ฟักตัวออกมาก่อนที่จะว่ายกลับลงสู่ทะเล ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เสี่ยงมากที่สุด เพราะลูกเต่าจะนวนมาก จะกลายเป็นอาหารของพวกนกนางนวล ปู ฉลาม ปลาสาก และปลากะรัง

ศัตรูของเต่าตนุ

ศัตรูหลักๆ ของเต่าตนุคือ นกนางนวล ปู ฉลาม ปลาสาก และปลากะรังอัตรารอดชีวิตมีเพียง 1% ที่ร้ายกาจที่สุดคือตัวมนุษย์เองที่เอาไข่เต่า มาขายหรือบริโภค จึงเข้าใจได้ง่ายว่าทำไมจำนวนของเต่าตะนุทั่วโลกจึงลดจำนวนลงมากจนน่าใจหาย หากโชคดีตัวที่รอดชีวิตก็อาจจะมีโอกาส มีชีวิตจนถึงอายุกว่า 80 ปี เต่าตะนุที่โตเต็มที่จะต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นๆ ตรงที่กินพืชเป็นอาหาร หลักๆ คือหญ้าทะเลและตะไคร่น้ำ ลูกเต่าตะนุจะกินแมงกะพรุน ฟองน้ำและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

อาหาร

เต่าตนุเป็นเต่าชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อพ้นวัยอ่อนแล้ว อาหารหลัก ได้แก่ พวกหญ้าทะเล และสาหร่ายชนิดต่างๆ เต่าตนุในวัยอ่อน จะกิน ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เป็นอาหาร

ขนาด

โดยทั่วไปเมื่อโตเต็มที่ กระดองหลังยาวประมาณ 100 - 150 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 130 - 200 กิโลกรัม ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ ความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

ประโยชน์

เนื้อเป็นที่นิยมของชาวยุโรป โดยนำมาปรุงซุป จัดเป็นอาหารรสเลิศ และราคาแพงไข่ของเต่าชนิดนี้เราเรียกกันว่า ไข่จะละเม็ด มีรสอร่อยและราคาแพง กระดองของเต่านิยมทำเป็นเครื่องประดับและตกแต่งบ้าน เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามกฎหมาย

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   19696

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Mariner English Articles นิทานชาวเรือ

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network